ข่าว

หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ แจงในโหนกระแส ทำไม ‘โอมิครอน’ แพร่เร็ว

โหนกระแส วันนี้ หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ รพ.รามาฯ เผย โอมิครอน ระบาดอีก 2 เดือน แต่โควิดจะอยู่กับเราอีกนาน ข้อมูลระบุสายพันธุ์โอมิครอนไม่ใช่โควิดสายพันธุ์สุดท้าย

วันนี้ (24 ก.พ.65) ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้ออกมากล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักเวลานี้ ผ่านรายการ โหนกระแส กับพิธีกร “หนุ่ม” กรรชัย กำเนิดพลอย การพูดคุยครั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรู้วิธีอยู่ร่วมกับไวรัสร้ายดังกล่าว หลังตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็วจน กระทรวงสาธารณสุข ต้องประกาศเตือนภัยโควิด โดยยกระดับเป็นโควิดระดับ 4

Advertisements

ในรายการ หนุ่ม กรรชัย เริ่มถามคำถาม เปิดด้วยประเด็นไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเที่ยวนี้จะระบาดในไทยอีกนานแค่ไหน? ดร.วสันต์ ให้คำตอบว่าจะระบาดประมาณ 2 เดือน อ้างอิงจากข้อมูลการระบาดของไวรัสโควิดแต่ละสายพันธุ์จากทั่วทุกประเทศ ข้อมูลโดยเฉลี่ยหลายประเทศทั่วโลกจะไม่เกิน 2 เดือน หรือ 60 วัน

โอมิครอนจะอยู่ไม่นานและจะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ใหม่ อย่างในต่างประเทศ แอฟริกาใต้ อังกฤษ สหรัฐ ก็แพร่อยู่ประมาณนี้ แต่สำหรับไวรัสโคโรนา 2019 ทุกคนจะต้องอยู่กับไวรัสนี้ไปอีกนาน

ดร.วสันต์ ยังเปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ โอมิครอน แพร่เชื้อได้เร็วเพราะสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกสิ่งที่สัมผัสได้ถึง 8 วัน ขณะที่เชื้อเดลต้าอยู่ได้ 4 ชั่วโมง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนถึงติดกันเป็นจำนวนมมาก ห้องแอร์ ห้องน้ำ คือติดจำนวนมากจริงๆ

ส่วนจะกลายเป็นไวรัสประจำถิ่นเมื่อไหร่ ดร.วสันต์ ระบุว่า ยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าไวรัสนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อไหร่ เพราะต้องคาดคะเนได้ก่อนว่าจะมาเมื่อไหร่ ไปเมื่อไหร่ แม้ปีนี้เชื่อว่าจะสามารถลดระดับลงมาจนควบคุมได้ ประเมินได้ว่าไวรัสโควิดจะไม่สูญพันธุ์ ไวรัสที่เดี่ยวข้องกับทางเดินสายพันธุ์ไม่เคยมีสายพันธุ์ไหนหายไปเลย เมื่อระบาดแล้วอาการช่วงแรกจะรุนแรงแล้วจะค่อยๆ บรรเทาและทุเลาลง

รับชมเทปรายการ โหนกระแส : คลิกที่นี่

Advertisements

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button