ข่าวข่าวภูมิภาค

โควิดโอมิครอน BA.2 ‘หมอธีระวัฒน์’ เตือนแพร่เร็ว หวั่นติดเชื้อพุ่ง

หมอธีระวัฒน์ ออกมาเตือนถึง โควิดโอมิครอน BA.2 ว่า แพร่เชื้อเร็ว และ สามารถติดซ้ำซ้อนได้ หวั่นติดเชื้อพุ่งเป็นสองเท่า

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก พูดถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงสถานการณ์โควิดโอมิครอน BA.2 อีกด้วย

โดยหมอธีระวัฒน์ระบุว่า “จุดสูงสุดต้องประกอบไปด้วย จุดยอดของการติดเชื้อและจุดสูงสุดของคนที่ต้องมีอาการที่ต้องเข้าโรงพยาบาลจากนั้นจึงจะค่อยๆลดลง สิ่งที่ต้องทราบก่อนคือ

-ข้อมูลการติดเชื้อตัวเลขจริง ซึ่งในปัจจุบันไม่มีข้อมูลชัดเจน ทั้งนี้ในประเทศต่างๆจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆสองวันไม่เกินสามวัน แต่ในประเทศไทยตัวเลขสูงขึ้นจริง แต่ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นตามประเทศต่างๆรายงาน ซึ่งแสดงถึงความจำกัดในการตรวจไม่ว่าจะเป็นพีซีอาร์หรือเอทีเคก็ตาม ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะคิดว่าอาการน้อยแล้ว และประกาศของทางการก็ไม่สนับสนุนในการตรวจตามสถานพยาบาลน้อยใหญ่ ยกเว้นคนที่มีความเสี่ยง (ซึ่งความจริงทุกคนมีความเสี่ยง)

การที่สามารถเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่า ในเวลาสองถึงสามวัน เนื่องจากว่าโอไมครอนสามารถทะลุทะลวงคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว แม้จะเป็นสามหรือสี่เข็มก็ตาม และแม้แต่คนที่เคยติดเชื้อแล้ว ตัวแปรของคนที่จะมีอาการหนักที่ต้องเข้าโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับ

-ความแข็งแรงของคนในประเทศ ว่าเป็นสัดส่วนเท่าใด เทียบกับคนที่มีโรคประจำตัว
-คนที่มีภูมิที่ได้จากวัคซีนและจากการติดเชื้อเก่ามีมากเท่าใด และข้อสำคัญประสิทธิภาพคงเหลืออยู่หรือไม่

ทั้งนี้ภูมิความจำไม่ว่าจะเป็นทีหรือบีเซลล์ไม่ได้อยู่ติดคงนานตลอดไป และแม้แต่ภูมิที่ได้จากการติดเชื้อมาก่อนจากโควิดตัวอื่นก็เป็นเช่นเดียวกัน

ถ้าได้ “ตัวเลขจริง” มาจะสามารถทำนายได้จาก epidemic equation ที่มีมาตั้งแต่ปี 2000 SEIR susceptible exposure infection recovery และ reinfection ตลอดจนการบรรจุข้อมูลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ย่อยหรือประเทศนั้นๆ

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่โอไมครอนจะจบเมื่อไหร่เพราะอีกคงไม่นานแต่ที่จะแทรกมาปัจจุบันทันด่วนก็คือโอไมครอนตัวน้อง BA.2 ซึ่งติดและแพร่เร็วกว่า และน่าจะติดซ้ำซ้อนได้ใหม่และการศึกษาในสัตว์ทดลองมีอาการรุนแรงกว่า และยังขึ้นอยู่กับวาเรียนท์ใหม่ๆ

การฉีดวัคซีนขณะนี้ เมื่อถึงเข็มสาม ด้วยการฉีดที่ควรมีความปลอดภัยสูงสุดคือ การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ต้องเข้าใจว่าไม่กันติดแล้วแต่น่าจะช่วยกันหนักหรือกันตาย และไปรอเข็มต่อไปซึ่งต้องเป็นวัคซีนครอบจักรวาลโควิดทั้งเก่าและที่จะมาใหม่”

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button