ข่าวข่าวภูมิภาค

ผงะ! กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยพบ โอมิครอน BA.2 แล้ว 18.5%

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ประเทศไทย พบโควิด โอมิครอน BA.2 แล้ว 18.5% ยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง ชี้ไม่พบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 5-11 ก.พ. จากการตรวจประมาณ 2 พันตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเกือบทั้งหมด 1,975 ตัวอย่าง ประมาณ 97.2% เป็นเดลตา 2.8% แสดงว่ายังมีเดลตาหลงเหลืออยู่บ้าง

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า หลังการระบาดของโอมิครอนค่อนข้างเร็ว และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ธรรมชาติไวรัสเมื่อติดเชื้อซ้ำๆ ระบาดค่อนข้างกว้าง ก็ออกลูกหลาน มีโอกาสของการกลายพันธุ์ จากเดิมกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น B.1.1.529 แต่เมื่อมีสายพันธุ์ย่อยมากขึ้น จึงเรียกว่า BA.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเดิม ทั่วโลกมีการตรวจส่งเข้าฐานข้อมูลโลก GISAID ประมาณ 617,256 ตัวอย่าง ส่วน BA.2 ประมาณ 5.4 หมื่นกว่าตัวอย่าง BA.3 ประมาณ 297 ราย

BA.2 มาทีหลังประมาณปลาย ธ.ค.เริ่มตรวจพบ ในไทยก็ตรวจพบรายแรกๆ ช่วงต้น ม.ค. ทั้ง BA.1 และ BA.2 ลักษณะการกลายพันธุ์เหมือนกัน 32 ตำแหน่ง ต่างกัน 28 ตำแหน่ง มาร์กเกอร์สำคัญของ BA.2 หากโอมิครอนควรจะมีการหายไปของตำแหน่ง delta69-70 แต่ BA.2 กลับมาไม่หายไป แต่ไม่เป็นประเโนมีวิธีตรวจจับได้

ขณะนี้พบ BA.2 ที่มีการส่งข้อมูลเข้า GISAID ประมาณ 57 ประเทศ แนวโน้มที่จะแทน BA.1 เช่น อินเดีย เดนมาร์ก และสวีเดน เป็นต้น อย่างเดนมาร์ก พบ BA.2 มากกว่า BA.1 ต้องเฝ้าจับตาดู ส่วนไทยยังพบ BA.1 มากกว่า แต่อนาคตหากแพร่เร็วก็จะเบียด BA.1 ในที่สุด

คำถามเหมือนสากลว่า ถ้ามีสายพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ย่อยใหม่ ต้องถามว่าแพร่เร็วขึ้นไหม หลบวัคซีนไหม ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งข้อมูลการแพร่เร็วเริ่มเห็นสัญญาณ เช่น เดนมาร์กที่เบียดของเดิม แสดงว่าแพร่เร็วกว่า ส่วนความรุนแรงและหลบวัคซีน อาจดูได้เฉพาะตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ซึ่งยังไม่มีข้อแตกต่างมากนักเมื่อเทียบกับ BA.1 แต่ต้องติดตามดูข้อมูล โดยเฉพาะป่วยรุนแรงในสนามจริงว่า BA.2 รุนแรงมากกว่าแค่ไหน ส่วน BA.1 ระบาดกว้างขวางมาก ก็ขยับไป BA.1.1 อีกซึ่งเราตรวจจับได้ในไทยเช่นกัน

“สรุปโอมิครอนเป็นเจ้าตลาด แทนเดลตาเกือบทั้งหมด การแพร่เร็วติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ย่อย หรือเป็นตัวใหม่ก็ได้ แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นตัวใหม่ ถ้ามีก็ต้องดูว่ามีปัญหามากขึ้นหรือไม่ สำหรับสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวได้ 2% กว่า แต่การตรวจ

เบื้องต้นสุ่มบางพื้นที่เจอ 18% ก็ต้องตรวจให้ครอบคลุมมากขึ้น จะเห็นสัดส่วน BA.2 แท้จริงในไทย มีหลักฐานอยู่บ้างว่าแพร่เร็วกว่า BA.1 แต่ความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลมากพอว่ามากน้อยแค่ไหน แต่เมื่อมีจำนวนพอสมควร ก็จะติดตามอาการทางคลินิกของคนที่เป็น จะส่งข้อมูลให้กรมการแพทย์ติดตามดูว่า BA.2 คนติดมีอาการรุนแรงแค่ไหน” นพ.ศุภกิจกล่าว

 

 

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button