เทคโนโลยี

Twitter: บอกต่อ 7 ทิปส์ใช้ทวิตเตอร์ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น Safer Internet Day

Twitter Thailand (ทวิตเตอร์ ประเทศไทย) ได้เผยเคล็ดลับ 7 ข้อในการใช้งานแพลตฟอร์มให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นเนื่องในโอกาส Safer Internet Day (#SaferInternetDay)

Twitter, Safer Internet Day – กรุงเทพ, 7 กุมภาพันธ์ 2565­­­ ทวิตเตอร์มีจุดมุ่งหมายในการให้บริการบทสนทนาสาธารณะ และเพื่อให้สอดคล้องกับธีม Together for a better internet ของ #วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น[1]

Advertisements

ในปีนี้ ทวิตเตอร์จึงอยากเชิญชวนให้ผู้คนมาร่วมมือกันเพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และดีขึ้นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชน โดยในปีที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ขยายนโยบายและอัปเดตฟีเจอร์ในการช่วยให้ผู้คนได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้ทวิตเตอร์ แม้จะยังมีงานอีกมากที่ต้องดำเนินการ แต่ทวิตเตอร์ก็ได้พัฒนาอัปเดตบริการต่างๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไฮไลต์สำคัญที่ทวิตเตอร์ได้ทำการอัปเดตเกี่ยวกับความปลอดภัยและคุณภาพของบทสนทนามีดังนี้

– บางครั้งคอนเท้นต์ที่มีเนื้อหาล่อแหลมปรากฎขึ้นอาจไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทวิตเตอร์จึงเปิดให้มีการแจ้งเตือนเนื้อหาก่อนทวีตในแต่ละครั้งซึ่งสามารถใช้งานได้ทั่วโลก เพื่อเป็นการเตือนว่า ทวีตนั้นๆ มีเนื้อหาล่อแหลม และเป็นเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อนปรากฏอยู่บนหน้าไทม์ไลน์

– ทวิตเตอร์ได้ออกคู่มือการใช้งานบนโลกดิจิทัลอย่างไรให้ปลอดภัย หรือ Digital Safety playbook ซึ่งจะช่วยให้ใช้ทวิตเตอร์ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น สามารถควบคุมการใช้งานต่างๆ บนทวิตเตอร์ และจัดการดิจิทัลฟุตพริ้นต์ของตัวเองบนทวิตเตอร์ คู่มือนี้สามารถดาวน์โหลดได้และมีทั้งหมด 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮินดี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน (ประเทศสเปน) และภาษาสเปน (กลุ่มประเทศละตินอเมริกา)

– ทวิตเตอร์ได้มีการอัปเดตนโยบายในเรื่องของข้อมูลโควิด-19 ที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดพลาดได้เพื่อให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 บนทวิตเตอร์

Advertisements

นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยังได้ขยายบริการ การแจ้งเตือน #ThereIsHelp เพื่อให้บริการข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากแหล่งที่เชื่อถือได้ สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

– เดือนธันวาคม 2564 ทวิตเตอร์ได้เพิ่มการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั่วโลกเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเชื้อ HIV และโรคเอดส์ทั้งในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ทวีปอเมริกา เช่น บราซิล รวมทั้งฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา

– เดือนพฤษภาคม 2564 ทวิตเตอร์ได้เปิดให้บริการ การค้นหาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยเมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ค้นหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบนทวิตเตอร์ จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติเป็นเบอร์สายด่วนและลิงก์ที่สามารถติดต่อไปยังองค์กรพันธมิตร

– ทวิตเตอร์ร่วมมือกับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (@UNWomenAsia) เพื่อขยายความช่วยเหลือและสนับสนุนในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงทางเพศในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

7 ทิปส์ควบคุมประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์

ในยุคของโลกดิจิทัล ความต้องการที่จะมีบทสนทนาที่เป็นความจริง มีความครอบคลุม และมีความปลอดภัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทวิตเตอร์เองก็มุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นและสามารถควบคุมประสบการณ์การใช้ทวิตเตอร์ของตนเองได้ นี่คือเคล็ดลับ 7 ข้อที่จะช่วยให้คุณรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นในขณะเข้าร่วมบทสนทนาบนทวิตเตอร์

1. การสร้างความปลอดภัยให้กับแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของคุณด้วยการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (หรือ 2FA) เพื่อเพิ่มขั้นตอนพิเศษในการรักษาความปลอดภัยให้กับแอคเคาท์ของคุณว่าจะมีเพียงคุณซึ่งเป็นเจ้าของแอคเคาท์เท่านั้นที่จะสามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้

2. ทวิตเตอร์คือสถานที่ที่ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออก การตั้งค่าปกป้องทวีตของคุณจะช่วยให้คุณสามารถแชร์ทวีตความคิดและความคิดเห็นกับกลุ่มคนที่ติดตามคุณได้ในจำนวนที่จำกัด

3. เมื่อไม่นานมานี้ทวิตเตอร์ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถควบคุมได้ว่าใครสามารถติดตามคุณได้บ้าง ถ้าหากคุณต้องการตั้งค่าจำกัดการใช้งานกับบางแอคเคาท์ ตอนนี้คุณสามารถลบแอคเคาท์เหล่านั้นออกจากรายชื่อผู้ติดตามของคุณได้โดยที่ไม่ต้องบล็อกแอคเคาท์เหล่านั้น (สามารถเข้าไปตั้งค่าบนเว็บที่ Twitter.com)

4. ทวิตเตอร์ช่วยให้ผู้คนจำกัดการเห็นทวีตจากบางแอคเคาท์โดยที่ไม่จำเป็นต้องกดเลิกติดตามหรือบล็อกพวกเขา เพียงแค่คุณเข้าไปตั้งค่าซ่อนแอคเคาท์เหล่านั้น หรือบางคนอาจจะเข้าไปจัดการแอคเคาท์เพื่อซ่อนคำเฉพาะบางคำ ซ่อนบทสนทนา ซ่อนกลุ่มคำชื่อแอคเคาท์ อีโมจิ หรือแฮชแท็ก

5. ควรหลีกเลี่ยงการแชร์โลเคชั่นที่เป็นข้อมูลตำแหน่งที่อาจจะเป็นการระบุถึงสถานที่ตั้งของบ้าน ที่ทำงาน หรือแม้แต่โรงเรียนของลูก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่นี่

6. ข้อความส่วนตัว หรือการ DM ช่วยให้คุณสามารถมีบทสนทนาแบบส่วนตัวหรือสามารถสร้างบทสนทนาแบบกลุ่ม แต่ก็มีบางครั้งที่คุณอาจจะได้รับข้อความส่วนตัวที่ไม่อยากได้ การตั้งค่าข้อความส่วนตัวจะช่วยให้คุณสามารถกรองข้อความที่ไม่ต้องการและจำกัดการได้รับข้อความจากคนที่คุณไม่ได้ติดตาม หากการตั้งค่าตรงข้อความส่วนตัวปิดการใช้งานอยู่ คุณจะได้รับข้อความส่วนตัวเฉพาะจากคนที่คุณกำลังติดตามเท่านั้น นอกจากนี้คุณยังสามารถเปิดใช้งานเพื่อกรองข้อความที่มีคุณภาพต่ำหรือข้อความที่อาจจะเป็นสแปมได้ด้วย

7. ทวิตเตอร์คือสถานที่ในการแสดงออกถึงตัวตนของคุณ แต่หากคุณพบว่าข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอของคุณถูกนำไปใช้โดยไม่ได้มีการขออนุญาตก่อน คุณสามารถส่งรายงานได้ทันที

#WhatsHappening: บทสนทนาบนทวิตเตอร์ที่ไม่ควรพลาด เนื่องในวันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น

สำหรับประเทศไทย ทวิตเตอร์ได้ร่วมกับโครงการของ HUG ประเทศไทย (@HugProjectTH) ในการจัดไลฟ์สตรีมมิ่งเพื่อพูดคุยกันในเรื่องของความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19.30 น.- 20.40 น. อีกด้วย

Twitter Safer Internet Day
เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/HugProjectTH/status/1486670327484600321

และเพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดบทสนทนาในวันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น ทวิตเตอร์ได้เปิดตัวอิโมจิพิเศษ ซึ่งจะปรากฎอัตโนมัติเมื่อทวีตพร้อมติดแฮชแท็ก #SaferInternetDay, #SID2022, #วันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยขึ้น ตั้งแต่วันนี้-13 กุมภาพันธ์ 2565 นี้

 

สามารถติดตามข่าวเทคโนโลยีเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเทคโนโลยี

 

Thaiger deals

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button