การเงิน

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพออมสิน 6 เดือนแรกไม่ต้องผ่อน กู้ได้เท่าไหร่ เช็คเลย

เช็คออมสินปล่อยสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เปิดตัวเลขวงเงินสูงสุด ไม่ต้องผ่อน 6 งวดแรก กู้ได้เท่าไหร่ รายละเอียดทั้งหมดเป็นอย่างไร ดูได้ที่นี่

วันที่ 3 ก.พ.65 ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ธนาคารออมสิน ได้ออกสินเชื่อ “ออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ” ขึ้นมา เพื่อผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ใช้เสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดคนละ 3 แสนบาท แถม 6 เดือนแรกไม่ต้องผ่อนเงินคืน โดยจะเริ่มผ่อนคืน ตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป

Advertisements

สำหรับโครงการนี้ได้มีการเปิดให้ลงทะเบียนไปแล้ว และปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งโอกาสนี้จึงอยากจะพาใครก็ตามที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง ได้ลองตรวจสอบรายลพะเอียดของสินเชื่ออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพนี้ เผื่ออาจจะเป็นตัวช่วยยามฉุึกเฉินในสถานการณ์ที่ไม่แน่นนอนนี้

เริ่มกันด้วยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ได้จัดทำเพื่อให้ประชาชนมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ เสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพจากการได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด และต้องไม่เป็นการนำไปรีไฟแนนซ์สินเชื่อเช่าซื้อ

เช็คคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

1. เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

2. มีถิ่นที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการแน่นอน

Advertisements

3. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน

4. เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือหรือมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

– ผู้เริ่มประกอบอาชีพ ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ช่าง” ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย ตัดผม เป็นต้น และ ผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้าออนไลน์ การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ

– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ รถตู้สาธารณะ รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ

– ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่น ๆ

จำนวนเงินให้กู้ สามารถกู้ได้เท่าไหร่ ?

กู้ได้ไม่เกิน 3 แสนบาทต่อราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอาชีพที่ผู้กู้ด้วย ได้แก่

– ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย ตัดผม เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท

– ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้าออนไลน์ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท

– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ รถตู้สาธารณะ รถรับจ้างขนส่งสินค้า กู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท

– ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ กู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท

– ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 3 แสนบาท

อัตราดอกเบี้ย

มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ตลอดอายุสัญญากู้เงิน

ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

มีเวลาชำระเกิดสูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) ซึ่งเงื่อนไขนี้จะรวมกับช่วงที่ไม่ต้องผ่อนคืน 6 เดือนแรกด้วย จนกว่าจะปิดบัญชีหรือครบสัญญา

หลักประกันการกู้

– ถ้ากู้ไม่เกิน 1 แสนบาท ไม่มีหลักประกัน

– ถ้ากู้ระหว่าง 1 แสน – 3 แสนบาท ใช้บุคคลค้ำประกัน และบุคคลค้ำประกันจะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินกู้ เช่น กู้เงิน 1 แสนบาท คนค้ำประกันจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท เป็นต้น

ช่องทางการขอสินเชื่อ

สามารถขอได้ผ่านเว็บไซต์ ธนาคารออมสิน หรือติดต่อที่สาขาของธนาคารใกล้บ้านท่าน

เอกสารการขอสินเชื่อ ต้องใช้อะไรบ้าง

เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ หลัก ๆ จะมีอยู่ 2 ข้อ ได้แก่

  • บัตรประชาชนผู้ขอกู้
  • ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
เอกสารอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา จะขึ้นอยู่กับอาชีพของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดังนี้

– ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง และผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง จะมีเอกสารเพิ่มเติม คือ

  • ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ มีเอกสารเพิ่มเติม คือ

  • ใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ (ฉบับจริง)
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

– ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ มีเอกสารเพิ่มเติม คือ

  • เอกสารที่รับรองจากแฟรนไชส์เซอร์ เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญามัดจำ หนังสือผ่านสิทธิ เป็นต้น
  • เอกสารประมาณการ รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารตาม Link นี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารในการยื่นขอกู้ )
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

– ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน มีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่

  • บัญชีรับจ่าย Statement รายได้จากสถานประกอบการ ย้อนหลัง 6 เดือน
  • ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ของสถานประกอบการ
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)

ระยะเวลาโครงการ : ผู้ที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ผ่านธนาคารออมสิน โดยจะต้องอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้เสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าเงินโครงการจะหมด

ทั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจสินเชื่อดังกล่าวมาก จนธนาคารได้ขอปิดการลงทะเบียนชั่วคราว เพื่อขอตรวจสอบสิทธิ์ และจะมีการแจ้งให้ทราบ เมื่อเปิดให้ลงทะเบียนรอบถัดไป

สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพออมสิน

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button