‘หมอธีระวัฒน์’ ถาม รัฐรับผิดชอบค่ารักษาไหม หาก โควิด เป็น โรคประจำถิ่น
‘หมอดื้อ’ หรือ หมอธีระวัฒน์ ถาม รัฐรับผิดชอบค่ารักษา หรือจ่ายค่าตรวจหาโควิดไหม หาก โควิด เป็น โรคประจำถิ่น
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กแสดงความเห็นและตั้งคำถามถึงผลที่จะตามมาจากกรณีที่ทาง คกก. เห็นชอบเปลี่ยนเกณฑ์ปรับให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “ทางการสั่งให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ผลต่อเนื่องจากนี้หมายความว่า
-โควิดไม่ได้อยู่ในโรคติดต่ออันตราย
-ไม่ต้องมีการตรวจคัดกรองแยกกักตัว
-ไม่ต้องมีการรายงาน
-ถ้าเป็นการรักษา ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์ของแต่ละคนเช่นใช้บัตรทอง
-ไม่ต้องมีการชดเชยการประกอบธุรกิจค่าเสียหาย
-การตรวจใดๆ เป็นการตรวจที่ต้องเสียเงินเอง
-วัคซีนที่ใช้อยู่เป็นวัคซีนที่ออกมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น
และปัจจุบันในประเทศไทยยังสามารถเรียกร้องค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีนได้ จาก สปสช. แล้วต่อจากนี้ยังสามารถรับค่าชดเชยได้หรือไม่ โดยที่จนกระทั่งถึงวันที่ 28 มกราคม 2565 มีผู้ยื่นคำร้อง 13,825 รายเข้าเกณฑ์ 10,544 ราย และมีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาในรายที่เหลือและที่มีอุทธรณ์ ทั้งนี้ ได้รับเงินชดเชยไปแล้ว 1,205,538,900 บาท และมีเสียชีวิต 20.56%”
ก่อนหน้านี้ ที่ประชุม คกก. ปรับ เกณฑ์โรคประจำถิ่น สำหรับโรคโควิด โดยผู้ป่วยใหม่ต่อวันต่ำกว่าหมื่นราย อัตราป่วยตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1
- คกก. เคาะ ปรับ เกณฑ์โรคประจำถิ่น สำหรับ โควิด ผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่าหมื่นราย
- โควิดไทยวันนี้ 28 ม.ค. 65 ติดเชื้อเพิ่ม 8,450 ราย ดับ 28 ศพ
- ไฟเซอร์เด็ก ถึงไทยแล้ว 3 แสนโดส เริ่มฉีด 31 ม.ค. นี้