ไขข้อสงสัยพร้อมขั้นตอนลงทะเบียน Thailand Pass ระบบลงทะเบียนเข้าไทย
เผยขั้นตอนและไขข้อสงสัยระบบ Thailand Pass ระบบลงทะเบียนเข้าประเทศ หลังเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. วันเปิดประเทศวันแรก
ระบบไทยแลนด์ พาส (Thailand Pass) เป็นระบบที่ใช้ในการเดินทางเข้าประเทศไทย ทั้งสามรูปแบบ และผู้ที่เดินทางอากาศทุกคนต้องลงทะเบียนระบบนี้ โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. เวลา 9.00 น. ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการเปิดประเทศไทยขึ้น อย่างไรก็ตามยังประชาชนจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจระบบใหม่นี้ ทางสำนักข่าว TheThaiger จึงขอรวบรวมขั้นตอนการยื่นขอและลงทะเบียนเอกสารระบบดังกล่าว
โดยประชาชนที่ต้องการจะลงทะเบียนกับระบบ Thailand Pass สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ tp.consular.go.th ซึ่งผู้ประสงค์จะลงทะเบียบควรลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนออกเดินทางอย่างน้อยเจ็ดวัน
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนบน “Thailand Pass” จะแตกต่างกันตามรูปแบบการเดินทางเข้าประเทศไทย ประกอบด้วย 3 แบบ คือ แบบการยกเว้นการกักตัว พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว การกักตัว ณ สถานกักกัน ก็จะมีทั้ง
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- เอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19
- กรมธรรม์ประกันภัย (วงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
- หลักฐานการจ่ายเงินค่าที่พัก / โรงแรม
- วีซ่าประเทศไทย
โดยประเทศไทยรองรับวัคซีนยี่ห้อซิืโนแวค แอสตราเซเนกา ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และ สปุ๊กนิก วี นอกจากนี้ประไทศไทยยังรอบรับการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ โดยในแต่ละชนิดจะมีกำหนดระยะเวลาที่ต่างกัน
กรณีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ สามารถพิมพ์ QR Code ออกมาเป็นเอกสารและนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยท่านอาจลงทะเบียน Thailand Pass บนคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกในการพิมพ์ QR Code ออกมาเป็นเอกสาร
ขณะผู้ลงทะเบียนเคยมีประวัติเคยติดเชื้อโควิด-19 ก็สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ โดยจะต้องได้รับวัคซีน 1 เข็ม ภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากหายป่วย โดยจะต้องแนบเอกสารรับรอง / ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันการหายป่วยจากโรคโควิด-19 มาพร้อมกับใบรับรองการฉีดวัคซีน 1 เข็มดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ก่อนได้รับเชื้อโควิด-19 จะถือว่าเป็นผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
สำหรับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ tp.consular.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.ตามเวลาประเทศไทย (ควรลงทะเบียนก่อนออกเดินทางล่วงหน้า 7 วัน)
- จากนั้นทางกรมควบคุมโรคตรวจสอบข้อมูล และอนุมัติเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนผ่านระบบภายใน 3-5 วัน
- กรณีได้รับการอนุมัติแล้วผู้ลงทะเบียนจะได้รับอีเมล์ QR Entry Code หรือ Thailand Pass ID ที่จะใช้เมื่อเข้าสู่ประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ผู้ที่เคยได้รับ COE หรือ Certificate of Entry สามารถใช้ COE ฉบับเดิม เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยได้ และจะมีสิทธิ์การเข้าประเทศตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ใน 3 รูปแบบ (ยกเว้นการกักตัว / เข้าพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว / กักตัว ในสถานที่กักกัน) ขึ้นอยู่กับว่า ผู้เดินทางมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขของแต่ละรูปแบบหรือไม่ โดยในเอกสาร COE จะระบุว่า ผู้ร้องมีสิทธิ์เข้าประเทศไทยในรูปแบบใดบ้าง
นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางแบบครอบครัวไม่สามารถยื่น Thailand Pass แบบกลุ่มได้ และต้องลงทะเบียนแบบรายบุคคล เว้นแต่ กรณีเดินทางเข้าประเทศโดยไม่กักกันตัว: ผู้เดินทางทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จะต้องทำการยื่นเอกสารของตนเองผ่านระบบ Thailand Pass ทั้งนี้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี สามารถที่จะยื่นเอกสารพร้อมไปกับการลงทะเบียนของผู้ปกครองได้ ในส่วน ข้อมูลส่วนตัว
ส่วนกรณีเดินทางเข้าประเทศผ่านโครงการพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว: ผู้เดินทางทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะต้องทำการยื่นเอกสารของตนเองผ่านระบบ Thailand Pass ทั้งนี้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถที่จะยื่นเอกสารพร้อมไปกับการลงทะเบียนของผู้ปกครองได้ ในส่วน ข้อมูลส่วนตัว
- ส่อง ขั้นตอนเดินทางเข้าประเทศไทย โหลด Thailand Pass QR Code เริ่ม 1 พ.ย.
- โฆษก รบ. ชู ‘Thailand Pass’ ระบบใหม่ลดขั้นตอน เริ่มใช้งาน 1 พ.ย. นี้