หมอยง นั่งโต๊ะแถลงตอบข้อกังวล ฉีดวัคซีนสลับชนิด
ความปลอดภัยต้องมาก่อน หมอยง ย้ำชัด ตอบคำถามนักข่าวในการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ถึงประเด็นข้อกังวลการฉีดวัคซีนสลับชนิด
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการแถล่งข่าวของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 13 ก.ค.64 ประเด็น “การให้วัคซีนโควิด 19 สลับชนิด”
โดยช่วงท้ายของการแถลงข่าว หมอยง ได้ตอบข้อสงสัยจากสื่อมวลชน ในคำถามที่ว่า “ข้อมูลวิชาการ ฉีดวัคซีนสลับชนิด มีข้อน่ากังวลอะไรไหม?”
หมอยง ตอบว่า “ปกติทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเป็นของใหม่ เราก็อยากให้ทำตามคำแนะนำ ผมยกตัวอย่าง วัคซีนในเด็ก ตั้งแต่ไข้สมองอักเสบ ป้องกันท้องเสีย ผลิตออกมาใหม่ แต่ละบริษัทบอกว่า การใช้จะต้องไม่ข้ามกัน หมายถึงเข็ม 1 2 3 จะต้องใช้ยี่ห้อเดียวกัน”
“แต่ต่อมา แม้กระทั่ง วัคซีนท้องเสีย หรือแม้กระทั่งวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เวลาไปฉีดไอกรน บาดทะยักคอตีบ ในเด็ก เคยถามไหมว่าลูกฉีดยี่ห้ออะไร ปีนี้ประมูลได้ยี่ห้ออะไร ปีหน้าประมูลได้ยี่ห้ออะไร ไวรัสหรือแบคทีเรียต่างๆ คงไม่รู้หรอกว่า วัคซีนที่ฉีดไปยี่ห้ออะไร”
“ในทำนองเดียวกัน โควิดวัคซีน เมื่อผลิตขึ้นมาใหม่ มีต่างแพลตฟอร์ม ทุกบริษัทก็ต้องบอกว่าให้ใช้ตามการศึกษาที่ผ่านมา”
“การใช้สลับกันต้องมีการศึกษานำมาก่อน เราจะเห็นได้ชัดอันหนึ่ง การใช้ mRna วัคซีน สลับกับ ไวรัสเวคเตอร์ เริ่มขึ้นในอังกฤษ โดยเฉพาะในช่วงที่วัคซีนขาดแคลน ก็ได้มีการเอามาใช้ หลังจากนั้นจึงได้มีการศึกษากันขึ้นมา”
“โดยทีมของอ๊อกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษเอา วัคซีนไฟเซอร์ สลับกับแอสตร้าเซเนเนก้า แล้วดูผลว่าเป็นอย่างไร อาการข้างเคียง ผลภูมิต้านทานเป็นอย่างไร”
“บุคคลสำคัญของยุโรปก็มีการฉีดวัคซีนเข็มแรก แอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มแรก เข็มสองเป็นไฟเซอร์ ทำนองเดียวกันในบ้านเราบอกว่ายังไม่ควรสลับวัคซีน แต่ก็มีการสลับวัคซีนกันในชีวิตจริง เข็มแรกมากไปหน่อย ขอเปลี่ยนเป็นเข็มที่สอง หมอพร้อม 1,200 คน ไม่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรง”
“รายละเอียดที่เราทำในคลีนิก กำลังจะออกมาในสิ้นปีนี้ เป็นการบันทึกทุกวันว่ามีอาการข้างเคียงหรือ ไม่ ภายในสิ้นเดือนนี้ ผมคิดว่าข้อมูลของหมอพร้อม 1,200 คน ก็เป็นเหตุผลอันหนึ่งที่คณะกรรมการก่อนหน้านี้เอามาพิจารณาแน่นอน ซึ่งผมเองก็ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการนี้แน่นอน”
สุดท้าย หมอยง ฝากถึงประชาชนในวิกฤตตอนนี้ว่า “บอกได้เลยโรคโควิด19 จะยุติวิกฤตได้ นอกจาก ปฏิบัติตัวมีวินัย เคร่งครัดแล้ว วัคซีนจะเป็นทางช่วยอีกตัวในการหยุดวิกฤตนี้”
“ถามว่าควรฉีดไหม”
“ควรจะได้รับวัคซีนทุกคน ถ้าเป็นไปได้ แต่ด้วยปริมาณจำกัด เราจึงขอให้กับกลุ่มผู้ที่เสี่ยง บุคลากรด่านหน้า หรือผู้ที่เสี่ยง ให้รับวัคซีนเต็มที่ก่อน ผู้ที่เสี่ยง คือ ติดเชื้อแล้วมีโอกาสเสียชีวิต โรคจะวิกฤตจริงๆ ต้องให้วัคซีนทุกคน วัคซีนในเด็กยังคงต้องรออีกระยะพอสมควร ถ้าติดเชื้อในด็ก ความรุนแรงในเด็กน้อยมาก”
ทั้งนี้ ก่อนหน้าการแถลงข่าว องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเผยว่า ไม่แนะนำให้ ฉีดวัคซีนโควิดแบบผสม เนื่องจากผลทดลองยังไม่เพียงพอและอาจเกิดความยุ่งเหยิงได้
วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่
- โควิดวันนี้ (13/7/64) : กทม. พบเพิ่มอีก 2,631 ราย จับตาจังหวัดใกล้เคียง
- หมอยง เผยผลศึกษา 1,200 คน ฉีดวัคซีนสลับชนิด ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง
- เคาะ ฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด แอสตราเซนเนก้า เข็ม 2 แทน ซิโนแวค