หมอธีระวัฒน์ แนะเตรียมวัคซีนเข็ม 3 ที่ไม่ใช่ ยี่ห้อเดิมที่มีอยู่
แนะเตรียม วัคซีนเข็ม 3 หมอธีระวัฒน์ โพสต์แนวทางฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในบ้านเรา ระบุ ชนิดยี่ห้อที่ใช้ ยังกันการติดเชื้อได้ไม่ดี
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์แนะนำประเด็นวัคซีนโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha แนะเตรียมเข็ม 3 วัคซีนโควิด-19 ที่ไม่ใช่ ยี่ห้อเดิมที่มีอยู่
คุณหมอได้แจกแจงประเด็นแนวทางตั้งรับเชื้อโควิดที่กำลังกลายพันธุ์ในปัจจุบัน ไว้ 5 ข้อ
รู้สายพันธุ์ ขณะนี้ คงไม่ต้องรู้ต่อไปก็ได้ครับ เพราะปัจจุบันรู้แล้วว่า
1-มีทุกสายพันธุ์แล้ว และต่อไปก็คงมี เดลต้า พลัส ที่มี การเปลี่ยนของรหัส 417 แบบ เบต้า ที่หนีภูมิคุ้มกันได้เก่งและก็ตัวนั้น นู้น นี้
2-และวัคซีนที่ใช้ขณะนี้ จำนวนยังไม่เพียงพอ ที่จะรุกฉีดหนักให้ได้ 2 เข็ม ใน70-90% ใน 2 เดือน แต่อย่างไรก็ต้องทำให้ได้
3-ขนาดไวรัสบ้านๆขณะนี้ ห้องผู้ป่วยอาการหนักไอซียูอัตคัดขาดแคลนกันไปทั่ว
4-ชนิดยี่ห้อที่ใช้ ยังคงสร้างเกราะป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันอาการได้ไม่ดีนักกับวายร้ายใหม่เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เก่าแบบบ้านๆที่มี (คำว่าป้องกันอาการ = ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น จนถึงป้องกันไม่ให้ต้องเข้าโรงพยาบาลและจนถึงป้องกันไม่ให้มีอาการหนักวิกฤตจนถึงเสียชีวิต)
5- และเป็นเหตุผลที่ในที่สุด ต้องเตรียมเข็มที่สามที่ไม่ใช่ ยี่ห้อเดิมที่มีอยู่รบกวน จับให้ครบทุกข้อนะครับ อย่าเพิ่งค้อนหมอ มีเหตุที่นำมาที่ให้ต้องฉีดเร็ว มากที่สุด และเหตุที่ต้องมีวัคซีนอื่นๆซึ่งควรจะมีตั้งแต่ตัน แต่ก็ไม่สาย ถ้าลุยหาเดี๋ยวนี้
ล่าสุด วันนี้ (23 มิ.ย.) จากการเปิดเผยของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” ระบุ เวลานี้ 90 % ของสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในไทยเป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือสายพันธุ์ อัลฟา
ส่วน 10% เป็นสายพันธุ์อินเดียหรือเดลตา และประมาณเกือบ 1 % เป็นสายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือ เบตา
ส่วน สายพันธุ์เดลตา ที่่บ้านเรากำลังกังวลนั้น พบส่วนใหญ่ยังพบในกลุ่มคนงาน อายุน้อย แรงงานที่อยู่เป็นกลุ่มก้อน
สายพันธุ์เดลตา จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย นับตั้งแต่เริ่มพบมาเป็นเวลาเดือนกว่าๆ และคงจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน จึงจะมาเป็นไวรัสส่วนใหญ่ต่อไป
วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่