ข่าวข่าวภูมิภาค

หมอธีระวัฒน์ ชี้ ฉีดวัคซีนเข็มสอง ต้องเร็ว ป้องกันโควิดเดลต้า

หมอธีระวัฒน์ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กอธิบายว่าประชาชนต้องรับการ ฉีดวัคซีนเข็มสอง ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันกรณีโควิดเดลต้าหรือเบต้าระบาด

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก พูดถึงกรณีที่หากโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์เบต้าเข้ามาเผยแพร่ในประเทศ ในขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมโควิดได้

โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “สงครามโควิด:ทำไมต้องบุกเร็ว-แรง
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสายเดลต้า หรือเบต้า เข้ามาเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยโดยที่สายพันธุ์ปกติยังควบคุมไม่ได้ด้วยซ้ำ

•ทำไมเราต้องบุกเร็ว-แรง?
ความสามารถในการแพร่กระจายของโควิดเก่งขึ้นเรื่อยๆ ตามการผันตัวของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งสำคัญที่เอื้ออำนวยให้มีการติดเชื้อเก่งขึ้น สร้างไวรัสปริมาณมากขึ้น และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่งขึ้น ประกอบกับความเบื่อบ้าง ความไม่ใส่ใจวินัย รวมทั้งจากความจน ความท้อแท้ ของคน ความหดหู่สิ้นหวัง

•ทำไมว่ามีสายที่เก่งขึ้นในไทยแล้ว?
สาย เดลต้า (อินเดีย) ที่พบที่หลักสี่ 21 พฤษภาคม และเป็นในชุมชนแล้ว (แม้จะเป็นในแคมป์คนงาน) ต้องถือว่าเป็นการแพร่ทั่วไปแล้ว เพราะไม่สามารถสืบทั้งต้นตอ และทิศทางการแพร่กระจายได้ชัดเจน และทางการประกาศยืนยันในเวลาต่อมาว่ากระจายทั่วไปจริง

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมสายเบต้าหรือแอฟริกาที่พบในลักษณะเดียวกันในภาคใต้ในชุมชนเช่นกันที่ควรจะรุนแรงมากกว่า และจากที่ห้องปฏิบัติการของเราพบสายเดลต้าเนิ่นนานจากตัวอย่าง 13 พฤษภาคม แล้ว

•ทำไมวัคซีน ต้อง2 เข็ม ในเวลาสั้นที่สุด?
การดึงวัคซีนเข็มที่สองให้ห่างออกไป เป็นจากเหตุผลของการไม่มีวัคซีนเป็นประการสำคัญ แต่ด้วยสถานการณ์ที่มีสายของไวรัสที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถหลบเลี่ยงวัคซีนได้เก่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเข็มที่สอง เช่นจากแอสตร้า ต้องติดกับเข็มที่หนึ่ง ในเวลาสองเดือนด้วยซ้ำ และวัคซีนเชื้อตายไม่ว่าชิโนแวค ชิโนฟาร์ม ควรต้องเป็นในเวลาสามถึงสี่สัปดาห์ เพื่อพยุงให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้ (neutralizing antibody) อยู่สูงในระดับ 68% ทั้งนี้โดยหวังว่าจะสามารถจับไวรัสที่ผันแปรไปเหล่านี้ได้บ้าง และทำให้มีการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนครบสองเข็มไม่มากจนเกินไปและไม่มีอาการหนักมากจนเกินไป

•หลักฐานความสามารถของไวรัสเดลต้า แม้ในคนที่ได้วัคซีนแล้ว!!!
(ข้อมูลและความเห็นจาก ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา Anan Jongkaewwattana)
แม้ว่าพบคนติดเชื้อได้หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มประมาณ 6% แต่ในจำนวนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการหนักต้องเข้าโรงพยาบาลคือ 11%
ผู้ป่วยที่เสียชีวิต จากการติดไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ทั้งหมด 42 ราย ในอังกฤษที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้า มีถึง 12 ราย หรือ 28.5% เป็นผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ถ้ารวมอีก 7 ราย ที่ได้วัคซีน 1 เข็ม ตัวเลขของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ได้วัคซีนครบ 1 เข็ม สูงถึง 45.2%

•ทำไมยังคงต้องรีบฉีดทั้งทางที่สายเดลต้าเริ่มเล็ดรอดไปแล้ว?
ต้องไม่ลืมว่าไวรัสสายปกติพี่วัคซีนยังสามารถป้องกันการติดได้ดีพอสมควรยังมีอยู่มากและทำให้คนที่ติดเชื้ออยู่มีอาการหนักในห้องไอซีอยู่มากมายขณะนี้ ทั้งนี้ถ้าดูตัวเลขผู้ป่วยในไอซียูตามตัวเลขทางการที่สอดท่อจะดูเหมือนไม่มากไม่กี่ 100 ราย

แต่ในความเป็นจริงที่รอเข้าไอซียู แต่เข้าไม่ได้เพราะเตียงเต็ม ยังมีอยู่อีกมากและยื้ออยู่โดยการให้ออกซิเจนปริมาณสูงประทังไว้ และจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสายเดลต้า หรือเบต้า เข้ามาเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยโดยที่สายพันธุ์ปกติยังควบคุมไม่ได้ด้วยซ้ำ

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button