ข่าว

ไขข้อสงสัยผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงกับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ไขข้อสงสัย ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง กับการฉีด วัคซีนโควิด-19 ฉีดได้ไหม ควรปฏิบัติตัวอย่างไร และความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนสำหรับกลุ่มผู้มีอาการของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร

ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ความดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทต่อปี

ความดันโลหิตสูงฉีดวัคซีนได้ไหม

ความดันโลหิตสูงก็รับวัคซีนได้ เพราะไม่มีหลักฐานทางวิชาการว่า ความดันโลหิตสูงห้ามฉีดวัคซีนโควิด ยกเว้นกรณีความดันโลหิตสูงกว่าวิกฤต มากกว่าหรือเท่ากับ 180/110 mmHg ที่ต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล

ความเสี่ยงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหากติดโควิด

2 ใน 3 หรือ 70% ของผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 เป็นโรคไม่ติดต่อ โดยโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้เพิ่มความเสี่ยง 2.15 เท่า (โรคเบาหวาน 4.45 เท่า) ข้อมูลจากรมควบคุมโรค

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอยู่ใน 7 กลุ่มโรคเสี่ยงที่ได้ฉีดวัคซีนก่อนไหม

อยู่ โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นกลุ่มโรคประจำตัวและมีปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค โควิด-19 ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับต้น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จึงควรทำความเข้าใจถึงการเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

วิธีเตรียมตัว

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจร่วมด้วย ก่อนฉีด วัคซีนโควิด-19 จะต้องควบคุมความดันให้ไม่เกิน 140 มม.ปรอท

หากมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ต้องทานยาสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติจะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ ซึ่งหลังฉีดเรียบร้อยแล้วภายใน 2 – 4 ชม. ไม่ควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อให้วัคซีนได้ทำงานอย่างเต็มที่

ทานยาประจำโรคได้ปกติ ยกเว้นทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด ที่จะต้องแจ้งแพทย์ทันที เพราะอาจมีผลข้างเคียง คือ เลือดออกในกล้ามเนื้อตรงจุดที่ฉีดยา โดยมีลักษณะการบวม หรือช้ำเลือด

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่ควรหยุดทานยาหรือปรับยาเพื่อฉีดวัคซีน เว้นแต่กรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนแม่นยำขึ้น

อ้างอิงจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , thaincd , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button