ข่าวภูมิภาค

ทำความรู้จัก ‘ออดิบ’ สรรพคุณออดิบ และวิธีแยกความต่างกับ ‘บอนโหรา’

ทำความรู้จักสมุนไพร ‘ออดิบ’ และสรรพคุณของมัน และวิธีการแยกความต่าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับ ‘บอนโหรา’ ซึ่งมีพิษร้ายแรง

ออดิบ เป็นพืชใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มีหัวอยู่ใต้ดิน ตระกูลเดียวกับบอน โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาค ดังนี้

  • ภาคเหนือ – ต้นตูน
  • ภาคอีลานและกลาง – ต้นคูน, หัวคูณ หรือ ต้นทูน
  • ภาคใต้ – ออดิบ, อ้อดิบ, ออกดิบ หรือ เอาะดิบ
  • นอกจากนี้ ยังมีชื่อเฉพาะของแต่ละจังหวัดอีกด้วย อาทิเช่น กาญจนบุรี (กระดาดขาว คนละชนิดกับ กระดาษขาว), ประจวบคีรีขันธ์ (บอน), ชุมพร (กะเอาะขาว) เป็นต้น

โดยทั่วไป ชาวบ้านมักจะนำก้านหรือใบอ่อนมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงส้ม แกงกระทิ ส้มตำ หรือกินสด ๆ จิ้มกับน้ำพริกก็ยังได้

ในขณะเดียวกัน ส่วนอื่น ๆ ของต้นออดิบก็มีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ผลออดิบผสมน้ำผึ้งละลายเสมหะ, ใบและดอกใช้รักษาแผล, หัวใต้ดินตำละเอียดนำมาพอกรักษาพิษไข้, ฝักแก่บดผสมน้ำกลายเป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ

ข้อแตกต่างของ ออดิบ และ ใบโหรา

Facebook เพจ มาปลูกสวนครัว กับรักคุณแฟน เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. 2562 ไว้ว่า “ออดิบ ลำต้นจะออกสีขาว ปลายใบจะไม่ตั้งขึ้น ต่างจากบอนโหรา ปลายใบจะชี้ขึ้นฟ้า ลำต้นสีเขียวใส และออดิบเล็กกว่าเห็นชัดเจนถ้าเทียบกัน บอนโหรา มีรูปร่างคล้ายกัน แต่รับประทานไม่ได้ อาการของพิษ หากสัมผัสจะทำให้เกิดการระคาย และอักเสบบวม, หากเข้าตา อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวร, หากรับประทาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะถ้ารับประทานส่วนของพืชที่มีน้ำยาง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในปากและลำคอ ทางเดินอาหารอักเสบ คันปาก คันคอ แสบร้อน เพดานบวมพองเป็นตุ่มน้ำใส อาการอาจรุนแรงจนกระทั่งกลืนอาหารไม่ได้ พูดลำบาก ไม่มีเสียง และอาจทำให้หายใจลำบากได้”

 

วันก่อนมีข่าวคนกินแกงส้มบอน แล้วอาหารเป็นพิษเข้า รพ. บอน2ชนิดนี้จะคล้ายกันมากนะคะ แม่ค้าแยกไม่ออกดันเอามาแกงขาย…

โพสต์โดย มาปลูกสวนครัว กับรักคุณแฟน เมื่อ วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2019

Jake KN.

นักคิดนักเขียน พร้อมเสิร์ฟทุกข่าวในสังคม การเมือง อาชญากรรม เทคโนโลยี ต่างประเทศ บันเทิง เศรษฐกิจ โควิด-19 กระแสไวรัลในโลกโซเชียล ทุกเหตุการณ์ที่คุณไม่ควรพลาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button