พาณิชย์ แนะ ส่งออก ของหวาน ของใช้ เครื่องประดับ เจาะตลาด อินเดีย
DITP กรมภายใต้กระทรวง พาณิชย์ ได้แนะนำถึงการ ส่งออก สินค้าในประเภทของหวาน ของใช้ต่าง ๆ และเครื่องประดับ นั้นมีโอกาสที่สูงในการ เจาะตลาด อินเดีย โดยขอให้ผู้ผลิตมีการศึกษาตลาดก่อนจะมีการผลักดันอย่างจริงจัง
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ภายใต้กระทรวง พาณิชย์ ได้มีการเปิดเผยถึงรายงานทิศทางธุรกิจค้าปลีกในตลาดของประเทศ อินเดีย ช่วงเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ โดยได้มีการแจ้งถึงโอกาสในการ เจาะตลาด ผ่านการเพิ่มยอด ส่งออก ในสินค้าประเภทต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในกลุ่มของหวาน ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับ ที่มีความต้องการมากขึ้นในช่วงเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ ในตลาดผู้บริโภคชาวอินเดีย ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2563 และจะยาวไปถึงเดือนธันวาคม 2563 รวมไปถึงพืธีการแต่งงานในช่วงต้นปี 2564 ที่จะสิ้นสุดในช่วงเดือนมีนาคม 2564
โดยในกลุ่มของหวานนั้น สินค้าไทยที่มีศักยภาพก็ได้แก่ ผลไม้อบแก้ง ขนมประเภทบิสกิต คุกกี้ ที่มักจะรับประทานคู่กับชานม (Chai)
น.ส.สุพัตรา แสวงศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ได้กล่าวว่า ยอดขายในช่วงเดือนเทศกาล ตุลาคม – ธันวาคม ของทุกปีนั้น จะมีสัดส่วนสูงถึงประมาณ 35% ของยอดขายของธุรกิจค้าปลีกตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นะุรกิจที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10% ของ GDP และ 8% ของการจ้างงานทั้งหมดในอินเดีย
จากข้อมูลพบว่าในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ผู้บริโภคเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น มำให้สามารถเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในเดือนตุลาคม ที่เป็นช่วง Navratri-Dussehra นั้น พบว่ามีสัญญาณบวกในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นมากจากช่วงเดียวกันในปีก่อน รวมไปถึงในกลุ่มสินค้าปุปโภคบริโภค อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ที่ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาอีก 20% เช่นกัน
กล่าวโดยสรุปแล้ว ในการเจาะตลาดประเทศอินเดียนั้น ควรจะมีการดำเนินงานส่งออกภายในช่วงปลายปี ถึงต้นปีถัดไป ที่เป็นช่วงเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มสินค้าที่เหมาะแก่การตีตลาดนั้นก็ ได้แก่ ขนมหวาน ของใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ของตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับ เป็นต้น
แหล่งที่มาข่าว : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
- ธ.ออมสิน เล็ง ปล่อย สินเชื่อ จำนำทะเบียนรถ มูลค่า 2 หมื่นล้าน
- ผลการประชุม กนง. ให้คง อัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ 0.50 ต่อปี ช่วยฟื้น เศรษฐกิจ