ธ.ก.ส. ชี้แจงโอน เงินประกันรายได้ เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว งวดแรกไม่ครบ
ธ.ก.ส. ได้ทำการชี้แจงถึงกรณีการจ่าย เงินประกันรายได้ ให้แก่ เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ตามโครงการในงวดแรกได้ไม่ครบ
โดยทาง ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ทำการชี้แจงถึงกรณีที่ เงินประกันรายได้ ให้แก่ทาง เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ตามโครงการได้ไม่ครบในงวดแรก ว่าเนื่องด้วยปัญหาจากข้อผิดพลาดในการสลับชนิดข้าว ส่งผลให้มีการคำนวณคลาดเคลื่อน โดยจะเร่งแก้ไขโอนเงินเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนจริงในวันที่ 18 พ.ย. 2563
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ได้เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารได้มีการโอนเงินชดเชยส่วนต่างของรายได้ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ในรอบที่ 1 / งวดที่ 1
ผ่านการใช้ข้อมูลของที่ได้มีการลงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ที่ซึ่งมีวันเก็บเกี่ยวในรอบที่ 1 ถึงวันที่ 8 พ.ย. 2563 โดยทำการโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงในวันที่ 16 พ.ย. 2563 จำนวน 786,380 ราย เป็นวงเงิน 8,387.06 ล้านบาท
ทั้งนี้ได้พบว่า มีข้อผิดพลาดในการคำนวนเงินชดเชยสลับกับชนิดของข้าว กล่าวก็คือ ผู้ที่ปลูกข้าวเจ้าจะได้รับเงินชดเชยตันละ 1,222.36 บาทในส่วนของข้าวหอมปทุมธานีจะได้รับ 1,066.96 บาท ส่งผลให้มีเกษตรจำนวน 409,917 ราย ที่ทำการปลูกข้าวใน 2 ชนิดนี้ไม่ได้รับเงินตามจำนวนที่ถูกต้อง
โดยทาง ธ.ก.ส. ได้เร่งดำเนินการแก้ไขด้วยการโอนเพิ่มเติมในส่วนต่างให้ครบจำนวนแก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาดังกล่าว ภายในวันที่ 18 พ.ย. 2563 และมอบหมายให้ธนาคารสาขาในพื้นที่ชี้แจง ทำความเข้าใจแก่เกษตรกรที่ต้องดึงเงินในส่วนที่เกินคืนจากบัญชี เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ สามารถตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินได้ผ่านทางแอพพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชม. หรือ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าออกผ่าน Line Official BAAC Family กรณีที่ได้มีการสมัครใช้บริการ BAAC Connect
แหล่งที่มาข่าว : ไทยรัฐออนไลน์