รู้จัก ‘กระสุนยาง’ อาวุธควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ทั่วโลก
มาทำความรู้จักและดูอานุภาพความรุนแรงของ กระสุนยาง อาวุธปราบจราจล ควบคุมฝูงชน ที่ตำรวจและทหารทั่วโลกเลือกใช้กัน
วันนี้ (17 พ.ย.) เกิดเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกลุ่มผู้ชุมนุมเยาวชนปลดแอก ที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย โดยนอกจากจะมีการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาแล้ว อาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ตร. เตรียมใช้ควบคุมก็คือ ‘กระสุนยาง’
กระสุนยางถูกคิดค้นโดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1970 กับการปราบจราจลในไอร์แลนด์เหนือ หรือที่รู้จักกันในชื่อเหตุการณ์ “The Troubles”
หลังจากนั้นมันก็กลายเป็นกระสุนซ้อมรบของทหารทั่วโลก เพราะด้วยการที่มันทำมาจากยางพารา ทำให้มีราคาถูกกว่ากระสุนจริงที่ทำจากตะกั่วหรือทองแดง
ซึ่งนอกจากจะใช้ซ้อมรบแล้ว มันก็กลายเป็นหนึ่งในอาวุธสามัญ ที่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนต่างก็ใช้กันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมพื้นที่ก็ดี หรือสลายการชุมนุมก็ดี
เพราะคิดว่าอานุภาพของมันไม่ร้ายแรงนัก อย่างมากก็ทำให้เกิดรอยฟกช้ำตามร่างกาย แต่งานวิจัยหลายชิ้นก็ออกมาเตือนถึงอันตรายของมันเช่นกันว่า หากยิงระยะประชิด ก็อาจทำให้กระดูกหัก พิการ หรือเลวร้ายที่สุดก็เสียชีวิตได้เลยทีเดียว
“การยิงกระสุนยางในระยะประชิด แม้จะเล็งเป้าหมายได้ดีกว่า แต่กระสุนก็จะมีพลังรุนแรงเท่ากับกระสุนจริง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากเล็งยิงกระสุนยางในระยะที่ห่างออกไป ความแม่นยำจะลดลงอย่างมาก เพราะกระสุนยางนั้นจะกระเด้งและหมุนในอากาศ จนพลาดเป้าได้ง่ายกว่ากระสุนจริง บ่อยครั้งที่ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตคือคนรอบข้างที่ถูกลูกหลง มากกว่าจะเป็นเป้าหมาย” พญ. โรหิณี ฮาร์ แพทย์ผู้ศึกษาผลกระทบของกระสุนยาง กล่าว
ตำรวจบรรจุกระสุนยางแล้ว! และได้ใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมแก๊สน้ำตา!
—
#ม็อบ17พฤศจิกา
#กูสั่งให้มึงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญโพสต์โดย เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH เมื่อ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2020