เทคโนโลยี

Ghost of Tsushima ชาวเน็ตจีน สับ สร้างมองโกลเป็นตัวร้าย

Ghost of Tsushima ชาวเน็ตจีน บางส่วนวิจารณ์เกม Ghost of Tsushima แซด ให้ภาพมองโกในยุคสมัยข่านเป็นตัวร้าย บางส่วนชาตินิยมจัด มองว่ามองโกลคือจีน ขณะที่ชาวเน็ตจีนบางส่วนเห็นแย้ง

เรียกว่าสร้างปรากฎการณ์จริง ๆ สำหรับเกมแนว open world สุดอลัง Ghost of Tsushima ที่การันตีความสวยงามของฉากธรรมชาติแนวญี่ปุ่น และใส่จิตวิญญาณของซามูไรลงไปอย่างเต็มเปี่ยม หลังจากวางขายให้คอเกม PS4 เล่นได้ไม่ถึงสัปดาห์ก็ได้รับคำชมมากมาย เรื่องโปรดักชั่นเกมที่ทำออกมาได้ดี เปิดโลกให้ผู้เล่นสามารถทำกิจกรรมในเกมนอกจากเควส และไซด์เควสได้อย่างมากมาย เช่น การถ่ายรูปกับฉาก การแต่งบทกวี รวมถึงวิธีการสู้แบบลอบเร้นที่ทำออกมาได้น่าตื่นเต้น บนท้องเส้นเรื่องของ จินซาไก ซึ่งเป็นหนึ่งในซามูไรคนสุดท้ายบนเกาะซึชิมะในช่วงการรุกรานญี่ปุ่นครั้งแรกของมองโกเลียในปี 1270

ตัวละครมองโกล “ข่าน” ในเรื่องนี่เอง ที่สร้างปรากฎการณ์ฮอตอีกด้านให้กับตัวเกม โดยเฉพาะสังคมออนไลน์จีน ที่ชาวเน็ตบางส่วนออกมาวิจารณ์เกม Ghost of Tsushima ว่า ให้ภาพชาวมองโกลเป็นตัวร้าย แม้ว่าเกาะซึชิมะ จะเกิดขึ้นไกลจากจีน และห่วงเวลาย้อนกลับไปถึง ศตวรรษที่ 13 แต่ชาวเน็ตผู้รักชาตินิยมจีนบอกว่าชาวมองโกลก็เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์จีน

“ในเวลานั้นชาวมองโกลอยู่ในความควบคุมของจีนตอนเหนือแล้ว ในที่สุดพวกเขาก็กลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มแรกนอกเหนือจากจีนฮั่นที่ครอบครองทั่วทั้งประเทศเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ”

ทุกวันนี้บางคนเคลมว่าชาวมองโกลซึ่งอยู่ในจีนควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นคนจีน ในทางตรงกันข้ามญี่ปุ่นถือเป็นศัตรู เพราะการรุกรานจีนก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

“สุดท้ายแล้ว มันคือเกมที่คนญี่ปุ่นฆ่าชาวจีน”ชาวเน็ตคนหนึ่งเขียนแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ Zhihu “ ชาวมองโกลเป็นหนึ่งในชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือของจีน เช่นเดียวกับชาวจีนฮั่น พวกเขาเป็นคนจีน”

ผู้วิจารณ์กล่าวเสริมว่า“ ผู้เล่นต่างชาติสามารถเล่นได้หากต้องการ แต่คนจีนไม่ควรเข้าร่วมเล่นเกมนี้”

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าจะมีผู้เฮละโลตามไปทั้งหมด หลายคนออกมาบอกว่า จีนก็คือจีน มองโกลก็คือมองโกล ปัจจุบันคือประเทศมองโกเลียจ้า

อ้างอิงจาก: scmp.com

Thaiger deals

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button