ประวัติตั้ว ศรัณยู พระเอกดังในตำนาน
ประวัติตั้ว ศรัณยู พระเอกดังในตำนาน
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ชื่อเล่น ตั้ว มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง เกิดวันที่ 17 ตุลาคม 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ มีพี่น้อง 4 คน แต่ใช้คนละนามสกุลกัน
จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 92/96 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รหัสเข้า 21) ช่วงชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ศรัณยูกวาดรับบทเด่นใน “ละคอนถาปัด” หรือละครเวทีโดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้งข้ามไปเล่นให้ละครเวทีของคณะอักษรศาสตร์ด้วย
ครอบครัว
ศรัณยู สมรสกับ หัทยา เกตุสังข์ นักแสดงและดีเจชื่อดัง โดยเข้าพิธีหมั้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2537 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับพระราชทานน้ำสังข์ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระตำหนักสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ตามด้วยงานฉลองพิธีสมรสในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ทั้งคู่มีบุตรสาวฝาแฝด ชื่อ ศุภรา วงษ์กระจ่าง (ลูกหนุน) และ ศีตลา วงษ์กระจ่าง (ลูกหนัง)
การเมือง
ศรัณยูเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และเคยมีชื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย รุ่นที่ 2 แต่ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งกลุ่ม คือ วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งได้เข้าร่วมชุมนุมอยู่บ่อยครั้งและได้ขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกับพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เพื่อนนักแสดงที่หน้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2549
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทยขึ้นอีกครั้ง ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐมนตรีทั้งชุดลาออกจากตำแหน่ง และได้ขึ้นเวทีร้องเพลงกับ ไก่ แมลงสาบ และวงซูซู อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 พร้อมกับนางมาลีรัตน์ แก้วก่า ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ต่อมาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เขาได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ
ชีวิตการทำงาน
ศรัณยูเป็นพระเอกที่มีช่วงการครองความนิยมยาวนานที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เริ่มผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับการชักชวนให้ถ่ายแบบนิตยสารดิฉัน และมีผลงานเดินแบบ จากนั้นศรัณยูจึงได้มีผลงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ เสียงติดดาว และ ยิ้มใส่ไข่ หลังสำเร็จการศึกษา ศรัณยูมีผลงานละครโทรทัศน์เรื่องแรกในปี 2526 คือ เลือดขัตติยา ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ ทมยันตี สร้างโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง มีกำหนดออกอากาศทางช่อง 3 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 21.00 น.แต่ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ออกอากาศ ด้วยมีเนื้อหาที่อาจกระทบต่อความมั่นคง
ผลงานละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศเรื่องแรกของศรัณยูจึงเป็นผลงานละครของ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช เรื่อง เก้าอี้ขาวในห้องแดง ออกอากาศ 9 กุมภาพันธ์ 2527 ทางช่อง 3
ผลงานการแสดง
ละครโทรทัศน์
ช่อง 3
- 2526 เลือดขัตติยา (อโณทัย) คู่กับ วาสนา สิทธิเวช (ไม่ได้ออกอากาศ)
- 2527 เก้าอี้ขาวในห้องแดง (บูรพา / เปี๊ยก)
- 2529 กามนิต-วาสิฏฐี (กามนิต) คู่กับ จริยา สรณะคม
- 2530 อวสานของเซลส์แมน (ชนะพล / พล ) คู่กับ จริยา สรณะคม
- 2531 อาศรมสาง (นักสิทธิ์ สุรเมธี)
- 2531 ทายาท คู่กับ ชุดาภา จันทเขตต์
- 2531 เกมกามเทพ (กำนันภู) คู่กับ จริยา สรณะคม
- 2531 เจ้าสาวของอานนท์ (อานนท์ วิทยาธร) คู่กับ จริยา สรณะคม
- 2532 ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (โดม) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- 2532 รัตติกาลยอดรัก (ดร.จักรกฤษณ์ อิสราลักษณ์) คู่กับ ปาหนัน ณ พัทลุง
- 2533 โหด เลว อ้วน
- 2533 วนาลี (ผู้กองศยาม / เสือมืด) คู่กับ ลลิตา ปัญโญภาส
- 2533 เทพธิดาบาร์ 21
- 2533 สมหวัง มนุษย์ทดลอง (สมหวัง)
- 2533-34 รอยมาร (อุปมา / มาร์ค) คู่กับ เพ็ญ พิสุทธิ์
- 2534 วนิดา (พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ / ใหญ่) คู่กับ ลลิตา ปัญโญภาส
- 2535 ไฟโชนแสง (ชาติชาย) คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช
- 2536 อยู่กับก๋ง (เพ้ง) คู่กับ เพชรี พรหมช่วย
- 2540 ทานตะวัน (สาริศ) คู่กับ บุษกร พรวรรณะศิริเวช
- 2540 ตะวันยอแสง (ศักดิ์ระพี / อาเล็ก) คู่กับ ซอนย่า คูลลิ่ง
- 2541 ดวงยิหวา (อาแมน) คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
- 2541 เทพนิยายนายเสนาะ
ช่อง 5
- 2528 มงกุฎเพชร (กฤช) ร่วมกับ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, อาภาพร กรทิพย์, ปนัดดา โกมารทัต, สุพรรษา เนื่องภิรมย์
- 2533 เธอคือดวงดาว (สันติภาพ – ชื่อละครเปลี่ยนจาก “คนขายคน” ถ่ายทำเมื่อ พ.ศ. 2531 ไม่ผ่าน กบว.)
- 2535 เมียนอกกฎหมาย (นเรนทร์) คู่กับ แสงระวี อัศวรักษ์
- 2538 เรือนแพ (เจน) คู่กับ นุสบา วานิชอังกูร
- 2540 เขมรินทร์ อินทิรา (เขมรินทร์) คู่กับ แคทรียา อิงลิช
- 2540 แก้วจอมแก่น
- 2542 ละครเทิดพระเกียรติ พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง (ชูชีพ)
- 2549 ลอดลายมังกร (เหลียง) คู่กับ บุษกร พรวรรณะศิริเวช
ช่อง 7
- 2527 บ้านสอยดาว (เอื้อตะวัน)
- 2528 ระนาดเอก (เอก)
- 2528 มัสยา (ร้อยโทลักษณ์ รัตนมหาศาล) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
- 2529 จิตรกร คู่กับ ปวีณา ชารีฟสกุล
- 2530 บ้านทรายทอง (ม.ร.ว.ภราดาพัฒน์ระพี สว่างวงศ์ / ชายกลาง) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
- 2530 พจมาน สว่างวงศ์ (ม.ร.ว.ภราดาพัฒน์ระพี สว่างวงศ์ / ชายกลาง) คู่กับ มนฤดี ยมาภัย
- 2531 บริษัทจัดคู่ (อารมย์) คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์
- 2536 น้ำเซาะทราย (ภีม ประการพันธ์) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช / ปรียานุช ปานประดับ
- 2537 ทวิภพ (คุณหลวงอัครเทพวรากร – ได้รับรางวัลเมขลาผู้แสดงนำชายดีเด่นปี 2537) คู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
- 2537 ปลายฝนต้นหนาว (ลายคราม) คู่กับ รชนีกร พันธุ์มณี
- 2538 ปราสาทสีขาว (ตรีพิมาย / ตรี) คู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
- 2538 มนต์รักลูกทุ่ง (คล้าว) คู่กับ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
- 2539 ด้วยแรงอธิษฐาน (กฤตย์) คู่กับ สุวนันท์ คงยิ่ง
- 2541 พ่อม่ายทีเด็ด (พายัพ) คู่กับ สินิทธา บุญยศักดิ์
- 2541 พลังรัก (อธิวัฒน์) คู่กับ ชไมพร จตุรภุช
- 2542 โดมทอง (อดิศวร์ ศิโรดม(ปัจจุบัน) /เจ้าพระยาสรรักษ์ไกรณรงค์ (อดีต) ) คู่กับ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
- 2542 คุณปู่ซู่ซ่า คู่กับ ธัญญาเรศ รามณรงค์
- 2543 ดั่งสายน้ำไหล (พีรภัทร) คู่กับ มัณฑนา โห่ศิริ
- 2544 นายฮ้อยทมิฬ (นายฮ้อยเคน) คู่กับ น้ำฝน โกมลฐิติ
- 2544 รักของฟ้า (พีรพล) คู่กับ รชนีกร พันธุ์มณี (ละครพิเศษวันพ่อแห่งชาติ)
- 2546 มหาเฮง (เฮง)
- 2547 หลังคาแดง (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้ป่วยโรคจิต (นายแพทย์สินเงิน)) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- 2548 มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต รับบทเป็น ส.อาสนจินดา
ช่อง ทรูโฟร์ยู
- 2560 ศรีอโยธยา รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ / สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ
ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25
- 2560 ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ ซีซั่น 2 รับบทเป็น พ่อของวิน (รับเชิญ)
- 2561 Club Friday the Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย
ละคร นายฮ้อยทมิฬ พ.ศ. 2544
ภาพยนตร์
- 2530 อย่าบอกว่าเธอบาป (สุชาติ)
- 2532 โกย
- 2532 หัวใจ 4 สี (วัชระ)
- 2532 ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ (สุธี)
- 2533 เล่นกับไฟ (ปราย)
- 2536 ท่านขุนน้อยน้อย แห่งสยาม
- 2537 กาเหว่าที่บางเพลง
- 2538 บินแหลก (ยิ่งศักดิ์ / โย)
- 2538 มหัศจรรย์แห่งรัก (พัฒน์)
- 2539 เรือนมยุรา (พระนาย)
- 2543 สตางค์ (โรจน์)
- 2544 สุริโยไท (พระเฑียรราชา / สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
- 2545 เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสกำลังเหมาะ
- 2548 ซุ้มมือปืน (อิฐ อัมพวา)
- 2549 อำมหิตพิศวาส (ชัย)
- 2549 13 เกมสยอง (สุรชัย)
- 2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
- 2551 สลัดตาเดียวกับเด็ก 200 ตา (กัปตันฤทธิ์)
- 2551 องค์บาก 2 (พระยาราชเสนา)
- 2552 สวยซามูไร (วายิบ)
- 2553 องค์บาก 3 (พระยาราชเสนา)
- 2562 ตุ๊ดซีส์ แอนด์ เดอะเฟค รับบทเป็น พ่อของวิน (รับเชิญ)
ละครเวที
- ละคอนถาปัด “น่านเจ้า” พ.ศ. 2523
- ละครเวทีอักษรศาสตร์ จุฬาฯ “คนดีที่เสฉวน” (Good Woman of Setzuan) โรงละครอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
- ละครเวทีอักษรศาสตร์ จุฬาฯ “พรายน้ำ” โรงละครอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
- ละคอนถาปัด “น่านเจ้า” ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2526 โรงละครแห่งชาติ
- สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (Man of La Mancha) 28 ส.ค. – 2 ก.ย. พ.ศ. 2530 ณ โรงละครแห่งชาติ (เซรบานเตส/ดอน กิโฮเต้) ร่วมกับ นรินทร ณ บางช้าง
- ไร่แสนสุข พ.ศ. 2530 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ (โรงใหญ่) จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ
- บ้าก็บ้าวะ (One Flew Over the Cuckoo’s Nest) ปี 2530
- พันท้ายนรสิงห์ พ.ศ. 2532 ณ ศาลาเฉลิมไทย (พันท้ายนรสิงห์) ร่วมกับ พิศาล อัครเศรณี นาถยา แดงบุหงา
- ปรัชญาชีวิต (The Prophet) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ร่วมกับ รวิวรรณ จินดา สินจัย หงษ์ไทย
- สัญญาณเลือดสัญญารัก (Dial M For Murder) 20-22 และ 27-29 กันยายน 2334 ณ โรงละคร A.U.A. จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ลีลาวดี วัชโรบล
- ซินเดอเรลล่า 22-24 พฤศจิกายน 2534 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) (เจ้าชายฟิลิป) จำนวน 5 รอบ ร่วมกับ ขวัญฤดี กลมกล่อม
- อภินิหาร แม่มดแฝด
- กระจกเงา
- ไอ้หมี มารยาททราม ละครเวทีฉายทางโทรทัศน์
- ทึนทึก 27-28 มีนาคม 2535 และ 8-10 พฤษภาคม 2535 ณ โรงละคร A.U.A. (มงคล/หมง) จำนวน 20 รอบ ร่วมกับ ธิติมา สังขพิทักษ์ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
- ตะลุยเมืองตุ๊กตา 3-12 กรกฎาคม 2535 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) จำนวน 20 รอบ ร่วมกับ แสงระวี อัศวรักษ์ และกลับมาอีกครั้ง ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) วันที่ 5-7, 12-14 กุมภาพันธ์ 2536 จำนวน 10 รอบ
- จิ้งจอกลอกลาย (Little Foxes) 18-20, 25-27 และ 29-30 กันยายน 2535 ณ โรงละคร A.U.A. จำนวน 12 รอบ ร่วมกับ ชุดาภา จันทเขตต์ รัญญา ศิยานนท์ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
- ทู้ตซี่ (Tootsie) 7-9 และ 14-16 พฤษภาคม 2536 ณ โรงละคร A.U.A. (โดโรธี ไมเคิล) จำนวน 10 รอบ ร่วมกับ ลีลาวดี วัชโรบล และกลับมาอีกครั้ง ณ โรงละครกรุงเทพ วันที่ 6-8, 13-15 และ 27-29 สิงหาคม 2536 จำนวน 20 รอบ
- แฮมเล็ต 4-10 พฤษภาคม 2538 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สินจัย เปล่งพานิช
- อมาดิอุส 13-15, 20-22, 27-29 กันยายน 2539 ณ โรงละครกรุงเทพ จำนวน 15 รอบ ร่วมกับ แอน ทองประสม อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
- นางพญางูขาว พ.ศ. 2542 ณ โรงละครกรุงเทพ (หลวงจีนฟาไห่) ร่วมกับ สิริยากร พุกกะเวส นาเดีย นิมิตรวานิช อชิรวุธ สุพรรณเภสัช
- ART 2-11 มิถุนายน 2543 ณ โรงละครกรุงเทพ
- Black Comedy เรื่องลับๆตอนดับไฟ 23 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2547 ณ โรงละครกรุงเทพ ร่วมกับ เมทนี บุรณศิริ เคลลี่ ธนพัฒน์ นาเดีย นิมิตรวานิช เอมี่ กลิ่นประทุม
- วิวาห์คาบาเรต์ 22-23 และ 29-30 กรกฎาคม 2549 ณ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส ร่วมกับ เมทนี บุรณศิริ
- ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ (กษัตริย์อาเหม็ด) จำนวน 53 รอบ ร่วมกับ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ มีเรีย เบนเนเดดตี้
- ทึนทึก 2 40 ปีผ่านคานเพิ่งขยับ 20-23 พฤศจิกายน 2551 ณ เอ็มเธียเตอร์
- แผ่นดินของเรา เดอะมิวสิคัล 12 – 28 มิถุนายน 2558 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์
- ละครเชิงตำนานประวัติศาสตร์ล้านนา “เฉลิมขวัญนพบุรี 700 ปี นครเชียงใหม่” เพื่อเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ณ วัดสวนดอก (บุปผาราม) จ.เชียงใหม่
- การแสดงแสง สี เสียง “แม่น้ำของแผ่นดิน” (ปีที่ 3) ชุด”มหาราชจอมราชัน” (The River of Kings III: The Great Conquerors) 15-28 กุมภาพันธ์ 2545 ณ ท่าราชวรดิษ
ผลงานพิธีกร
- รายการ ยิ้มใส่ไข่
- รายการ เสียงติดดาว
- รายการ คืนวันอาทิตย์ (พ.ศ. 2536) (ช่อง 3)
- รายการ เจาะโลกมหัศจรรย์ (ช่อง 5)
- รายการ เจ็ดเจ็ดสี่สิบก้าว พิธีกรคู่กับ หนู คลองเตย (พ.ศ. 2540) (ช่อง 7)
- รายการ แข่งร้อยได้ล้าน พิธีกรคู่กับ เบญจพล เชยอรุณ (ช่อง 7)
- รายการ เกมลวงบันลือโลก พิธีกรคู่กับ ไดอาน่า จงจินตนาการ (พ.ศ. 2543) (ช่อง 5)
- รายการ แชมเปี้ยนเกม (7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ตุลาคม พ.ศ. 2546) (ช่อง 5)
- รายการ EX Game (เกมอะไรก่อน) (2546) (ช่อง 5)
- รายการ เรื่องจริงผ่านจอ (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) (ช่อง 7)
- รายการ บิ๊ก บราเธอร์ (2 เมษายน พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2549 รวม 2 ซีซั่น) (ช่อง ไอทีวี)
- รายการ จอเหลือง (10 มกราคม พ.ศ. 2552) (ช่อง เอเอสทีวี)
- รายการ The Audition (พ.ศ. 2552)
- รายการ ชีวาสยาม (ปัจจุบัน) (ช่อง เอเอสทีวี)
- รายการ เด็ดยอดกีฬามันส์ (ช่อง 5)
- รายการ สตาร์คอนเทสต์
ผลงานเพลง
อัลบั้ม
- 2535 : อัลบั้ม ครั้งหนึ่ง ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
- 2538 : อัลบั้ม รวมเพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2
- 2539 : อัลบั้ม หัวใจลูกทุ่ง ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
- 2544 : อัลบั้ม เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2
- 193 วัน รำลึก
- 7 ตุลา รำลึก
เพลง
ปี | ชื่อเพลง | รายละเอียด |
---|---|---|
2527 | อยากลืม | เพลงที่ร้องโดยตัวละคร “บูรพา” ในละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง |
เพียงความทรงจำ | ||
2531 | เกมกามเทพ | เพลงประกอบละคร เกมกามเทพ |
2531 | รักนิรันดร์ | เพลงประกอบละคร เจ้าสาวของอานนท์ |
2533 | วนาสวาท (ร้องคู่กับ รัญญา ศิยานนท์) | เพลงประกอบละคร วนาลี |
2533 | รอยมาร (เวอร์ชันคู่ ร้องกับ เพ็ญ พิสุทธิ์) | เพลงประกอบละคร รอยมาร |
รอยมาร (เวอร์ชันเดี่ยว) | ||
2534 | บุพเพสันนิวาส (เวอร์ชันเดี่ยว) | เพลงประกอบละคร วนิดา |
บุพเพสันนิวาส (เวอร์ชันคู่ ร้องกับ รัญญา ศิยานนท์) | ||
ยามรัก | ||
ยามชัง | ||
2535 | ไฟโชนแสง | เพลงประกอบละคร ไฟโชนแสง |
2537 | ปลูกรัก | เพลงประกอบละคร ทวิภพ |
2538 | สัญญาก่อนลา (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) | เพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 1 |
สิบหมื่น | ||
เปิดหัวใจ (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) | ||
แม่ร้อยใจ | ||
ลาก่อนเพื่อนยาก | ||
ทวงสัญญา (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) | เพลงประกอบละคร มนต์รักลูกทุ่ง ชุดที่ 2 | |
ลุยกรุง (ร้องคู่ อนันต์ บุนนาค) | ||
2539 | ทุกสิ่งสำคัญที่ใจ | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรือนมยุรา |
2542 | รักนิรันดร์ (ร้องคู่ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์) | เพลงประกอบละคร โดมทอง |
2544 | เกี่ยวก้อยสัญญา (ร้องคู่ น้ำฝน โกมลฐิติ) | เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 1 |
คนขายควาย (ร้องร่วมกับ ไมค์ ภิรมย์พร & ดิเรก อมาตยกุล) | ||
อภัยอ้ายด้วย | ||
ต้อนควาย | เพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ชุดที่ 2 | |
ใจคนจร |
ละคร ด้วยแรงอธิษฐาน พ.ศ. 2539
ผลงานเบื้องหลัง
ผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง
ละครโทรทัศน์ ละครเวที และภาพยนตร์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปี | เรื่อง | ประเภท | ผลิตโดย | ออกอากาศ/สถานที่เปิดแสดง | นักแสดงนำ | อ้างอิง |
2541 | เทพนิยายนายเสนาะ | ละครโทรทัศน์ | ช่อง 3 | |||
2545 | น้ำพุ | ละครโทรทัศน์ | คลิค เทเลวิชั่น จำกัด | ช่อง 7 | สินจัย เปล่งพานิช / จิรายุส วรรธนะสิน / ตะวัน จารุจินดา / เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ | |
ถนนสายหัวใจ | ละครโทรทัศน์ | คลิค เทเลวิชั่น จำกัด | ช่อง ไอทีวี | ดนัย สมุทรโคจร / ภัครมัย โปตระนันทน์ / แอนนี่ บรู๊ค / สราวุฒิ พุ่มทอง / ชรัส เฟื่องอารมย์ / กาญจนาพร ปลอดภัย | ||
2546 | สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย | ละครโทรทัศน์ | คลิค เทเลวิชั่น จำกัด | ช่อง 7 | ตะวัน จารุจินดา / วรนุช ภิรมย์ภักดี / มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ / ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ | |
2547 | หลังคาแดง | ละครโทรทัศน์ | คลิค เทเลวิชั่น จำกัด | ช่อง 7 | ดนุพร ปุณณกันต์ / จีรนันท์ มะโนแจ่ม / สินจัย เปล่งพานิช / ศรัณยู วงษ์กระจ่าง | |
2548 | ร.ศ. 112 คนไทยรักแผ่นดิน | ละครโทรทัศน์ (ละครพิเศษ) | แชนแนลซี | ช่อง 5 | สินจัย เปล่งพานิช / ชไมพร จตุรภุช / อนุชิต สพันธุ์พงษ์ / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร | |
2549 | อำมหิตพิศวาส | ภาพยนตร์ | สหมงคลฟิล์ม | ศรัณยู วงษ์กระจ่าง / บงกช คงมาลัย / ตะวัน จารุจินดา / ปรางทอง ชั่งธรรม | ||
2551 | ตราบสิ้นดินฟ้า | ละครพีเรียด | บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด | ช่อง 5 | ยุรนันท์ ภมรมนตรี / คัทลียา แมคอินทอช / อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ / วิทวัส สิงห์ลำพอง / เมย์ เฟื่องอารมย์ / ณหทัย พิจิตรา | |
2554 | คนโขน | ภาพยนตร์ | สหมงคลฟิล์ม | นิรุตติ์ ศิริจรรยา / สรพงศ์ ชาตรี / เพ็ญพักตร์ ศิริกุล / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร / นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ / อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ / ขจรพงศ์ พรพิสุทธิ์ | ||
2555 | หลังคาแดง | ละครเวที | สามัญการละคร | M Theatre | โทนี่ รากแก่น / อริย์กันตา มหาพฤกษ์พงศ์ | |
2556 | สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | ช่อง 7 | ศรัณย์ ศิริลักษณ์ / ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ / ณัฐชา นวลแจ่ม / ปิยพันธ์ ขำกฤษ / กรเศก โคนินทร์ | |
2557 | หัวใจเถื่อน | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | ช่อง 7 | อรรคพันธ์ นะมาตร์ / อุษามณี ไวทยานนท์ / พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ / รัญดภา มันตะลัมพะ / สุรวุฑ ไหมกัน / พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ / ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ | |
2558 | รอยรักแรงแค้น | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | ช่อง 7 | ภัทรเดช สงวนความดี / ฝนทิพย์ วัชรตระกูล / ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ / วัชรบูล ลี้สุวรรณ / นวพล ภูวดล / รัญดภา มันตะลัมพะ / พลรัตน์ รอดรักษา / ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ | |
2559 | บัลลังก์หงส์ | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | ช่อง 7 | ภัทรเดช สงวนความดี / พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ / วีรคณิศร์ กานต์วัฒนกุล / รัญดภา มันตะลัมพะ / เพ็ญพักตร์ ศิริกุล / พีรกร โพธิ์ประเสริฐ / ปทิตตา อัธยาตมวิทยา / อนิสา นูกราฮา / พรรัมภา สุขได้พึ่ง / ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร | |
จงรักภักดี | ละครเทิดพระเกียรติ | สามัญการละคร | ช่อง 7 | ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ / กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า / วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร / อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / จิณณะ นวรัตน์ / ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ | ||
2561 | สัมผัสรัตติกาล | ละครโททัศน์ | สามัญการละคร | จีเอ็มเอ็ม 25 | อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / มชณต สุวรรณมาศ / ณัฐ ศักดาทร / ธันย์ชนก ฤทธินาคา / นิรุตติ์ ศิริจรรยา / วิลลี่ แมคอินทอช / สันติสุข พรหมศิริ | |
Club Friday the Series 10 รักนอกใจ ตอน รักที่ไม่อยากเลือก | ละครซีรีส์ | สามัญการละคร | จีเอ็มเอ็ม 25 | อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / นิดา พัชรวีระพงษ์ / ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา / ศรุชา เพชรโรจน์ | ||
2562 | ดงผู้ดี | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | ช่อง 8 | เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ / กฤษฎา พรเวโรจน์ / ณัฐชา เจกะ / พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ / สุพจน์ จันทร์เจริญ / อริสรา ทองบริสุทธิ์/ เดือนเต็ม สาลิตุล / มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ | |
ปาฏิหาริย์กาลเวลา | ละครโทรทัศน์ | สามัญการละคร | พีพีทีวี | อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา / คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ |
ผลงานพากย์เสียง
- 2541 : ภาพยนตร์ The X-Files Fight The Future (บท Fox Mulder)
- 2542 : ภาพยนตร์ Three Kings (บท Major Archie Gates)
รางวัล
รางวัลหลัก
ปี (พ.ศ.) | รางวัล | ผลงานที่ได้เข้าชิง | สาขา | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2537 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 26 | ภาพยนตร์ มหัศจรรย์แห่งรัก | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2537 | รางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 | ละคร ทวิภพ | ผู้แสดงนำชายดีเด่น | ชนะ | |
2537 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 | รายการ คืนวันอาทิตย์ | ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น | ชนะ | |
2538 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 5 | ภาพยนตร์ บินแหลก | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2543 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 24 | ภาพยนตร์ สตางค์ | ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2549 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 36 | ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2549 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 | ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส | ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2556 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 | ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย | ผู้กำกับยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
2556 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 28 | ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย | ผู้กำกับละครดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2556 | คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 11 | ละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย | ผู้กำกับละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2559 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 30 | ละคร รอยรักแรงแค้น | องค์ประกอบศิลป์ดีเด่น | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2559 | คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 13 | ละคร รอยรักแรงแค้น | ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
2559 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2558 | ละคร รอยรักแรงแค้น | รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลโหวต
- รางวัลดราม่าอวอร์ด 2013 สาขาผู้กำกับละครยอดเยี่ยม จากละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย (2556)
- รางวัล EFM Awards ประจำเดือน กรกฎาคม สาขาละครยอดนิยม จากละคร หัวใจเถื่อน (2557)
- เข้าชิงรางวัล เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 4 ประจำปี 2549 (25/2/2550) ภาพยนตร์ The Passion อำมหิตพิศวาส
ที่มาและภาพ: วิกิพีเดีย