เราไม่ทิ้งกันเยียวยา 5,000 บาท เงินถึงมือผู้กระทบโควิด-19 เฉียด 7.5 ล้านราย
เราไม่ทิ้งกันเยียวยา 5,000 บาท เงินถึงมือผู้กระทบโควิด-19 เฉียด 7.5 ล้านราย
ข่าวทำเนียบรัฐบาล รายงาน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท ในช่วงวันที่ 8-24 เมษายน 2563 ได้โอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิแล้ว 4.9 ล้านราย คิดเป็นจำนวนเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงวันที่ 27-28 เมษายน 2563 มีกำหนดทยอยโอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิอีก 1.5 ล้านรายและในวันที่ 29 เมษายน 2563 จะดำเนินการโอนเงินเยียวยาให้อีก 1.1 ล้านราย ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดต่อวันตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 8-29 เมษายน 2563 จะมีผู้ได้รับเงินเยียวยารวม 7.5 ล้านรายคิดเป็นเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท
- เราไม่ทิ้งกันตรวจสอบสถานะ ยื่นทบทวนสิทธิ์ อธิบายครบที่เดียวจบ
- ตรวจสอบสถานะเลย ! วันนี้ 28 เม.ย. เงิน 5,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน” เข้าบัญชีอีก 8 แสนราย
- คุณได้มั้ย ? 29 เม.ย การคลัง จ่อทุบสถิติโอนเงิน 5,000 เราไม่ทิ้งกัน มากสุด 1.1 ล้านราย
- วิธีเช็กสถานะลงทะเบียนเกษตรกรรับเงินเยียวยา 15,000 บาทต่อครัวเรือน
นอกจากนี้ มีความคืบหน้าในด้านอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ มีผู้ขอยกเลิกการลงทะเบียน 9.4 แสนราย ขอทบทวนสิทธิ 3.4 ล้านราย ขอสละสิทธิ 1,675 ราย และมีกลุ่มขอข้อมูลเพิ่มเติมจำนวน 6.3 ล้านรายได้เข้ามากรอกแบบสอบถามออนไลน์เรียบร้อยแล้ว 5.2 ล้านราย ยังคงเหลือผู้ไม่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีก 1.1 ล้านราย จึงขอให้เร่งเข้ามากรอกแบบสอบถามที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อประโยชน์ในการรับสิทธิจากมาตรการอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ หลังจากที่ได้เปิดให้ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอทบทวนสิทธิได้นั้นกระทรวงการคลังได้มอบหมาย “ผู้พิทักษ์สิทธิ” จำนวนกว่า 23,000 คน สับเปลี่ยนลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ไม่เว้นวันหยุดราชการเพื่อทำหน้าที่ยืนยันตัวตนและตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และรวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น ทั้งนี้ ในหลายพื้นที่ผู้พิทักษ์สิทธิได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยด้วยโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานและหน้าที่ของผู้พิทักษ์สิทธิ ดังนี้
1) ผู้พิทักษ์สิทธิจะโทรศัพท์นัดหมายผู้ทบทวนสิทธิล่วงหน้าทุกราย
2) เมื่อลงพื้นที่ไปพบผู้ทบทวนสิทธิ ผู้พิทักษ์สิทธิจะมีการแสดงตนอย่างชัดเจน(อาจขอให้ผู้พิทักษ์สิทธิแสดงบัตรประจำตัวหรือเอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานได้)
3) จะมีการใช้แอพพลิเคชั่น “ผู้พิทักษ์สิทธิ” ที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือของฝ่ายเจ้าหน้าที่ เป็นเครื่องมือในการขอยืนยันตัวตนของผู้ทบทวนสิทธิ และถ่ายภาพหลักฐานต่างทุกขั้นตอน
4)ข้อมูลที่สำรวจและจัดเก็บจะถูกส่งตรงจากแอปพลิเคชันกลับมายังฐานข้อมูลของกระทรวงการคลัง เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ขอทบทวนสิทธิ ดำเนินการดังต่อไปนี้
1) เมื่อท่านได้ยื่นความประสงค์ขอทวบทวนสิทธิผ่านเว็บไซต์แล้ว ขอให้เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ตลอดจนเอกสารและหลักฐานแสดงการประกอบอาชีพล่วงหน้าให้พร้อม เช่น ภาพถ่ายการประกอบอาชีพตามอาชีพที่ได้ลงทะเบียนไว้ ใบอนุญาตประกอบอาชีพ ภาพถ่ายกับสถานประกอบการ เป็นต้น
2) ผู้พิทักษ์สิทธิมีหน้าที่ยืนยันตัวตนและตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้โดยไม่มีอำนาจพิจารณาคุณสมบัติว่าท่านจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
อนึ่ง ขอให้ระมัดระวังการแอบอ้างหลอกลวงโดยผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากท่านไม่ได้ยื่นขอทบทวนสิทธิกระทรวงการคลังจะไม่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปนัดหมายพบปะกับท่านแต่อย่างใด
Call Center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3421, 3422, 3423, 3424, 3425, 3427, 3429, 3430, 3572
(ในวันและเวลาราชการ)