ข่าวภูมิภาค

12 ธันวา ถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทางชลมารค

12 ธันวา ถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทางชลมารค 15.15 น.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกทางชลมารค – ขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ ร่วมรับชมถ่ายทอดสดการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ตั้งแต่เวลา 15.15 น. เป็นต้นไป โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมีสถานีโทรทัศน์ 10 สถานีร่วมถ่ายทอดสดครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้

โปรดรอลิงก์ถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ รับชมทาง www.phralan.in.th/coronation/

คลิปจาก: ThaiPBS

https://www.facebook.com/TPchannelFan/videos/2468037193410636/

 

คลิปจาก: วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

ความรู้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นพิธีเบื้องปลาย มีการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา กําลังพลฝีพาย จํานวน 2,200 นาย แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

ริ้วสายกลาง เป็นเรือสายสำคัญประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำมีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอกเรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองในพร้อมด้วยเรือตำรวจนอกและเรือตำรวจ

ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่งมีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาตเรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก

ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ

เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา ซึ่งเรือทุกลําทำจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่ง ทั้ง 3 ลํา มีอายุมาก กล่าวคือ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 102 ปี เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 108 ปี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 95 ปี ส่วนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี ส่วนเรืออื่น ๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์แต่ละลํา มีอายุการสร้างนับร้อยปี

ภาพจาก: พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562

ข้อมูลควรรู้สำหรับประชาชนที่เดินทางเฝ้ารับเสด็จ ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค

สำหรับประชาชนที่ต้องการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สามารถเดินทางผ่านจุดคคัดกรองจุดต่าง ๆ ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

2. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งพระนคร

3. ทางเข้าพิพิธบางลำพู

4. สนามหลวงด้านศาลฎีกา

5.สนามหลวง ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์

7. ถนนพระจันทร์

8. พระแม่ธรณีบีบมวยผม

9. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งพระนคร

10.แยกท่าเตียน

11. หน้าพระราชวังสราญรมย์

12.เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี

13.ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี

14.ทางเข้าท่ารถไฟ

15.หน้าอุทยานสถานพิมุข กองทัพเรือ

16.ท่าเรือวังหลัง

17.ทางเข้าวัดระฆังโฆษิตาราม

18. ปากซอยวัดอรุณราชวราราม

19.วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร

12 ธ.ค. จุดคัดกรองและวิธีเดินทาง รับเสด็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทางชลมารค | News by The Thaiger

การปฏิบัติตัวของประชาชน ณ จุดคัดกรอง

  • แสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง ขณะเดินผ่านเครื่องตรวจกรุณายกขึ้นเสมอหูขวาเพื่อบันทึกภาพ
  • เปิดกระเป๋าสัมภาระให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
  • ผู้ปกครองที่มากับเด็ก กรุณาพบเจ้าหน้าที่เพื่อทำบัตรคล้องคอ และ ให้เขียนชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก
  • หากมีโรคประจำตัวพกยาประจำตัวมาด้วย
  • หากมีปัญหาสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา
  • การแต่งกาย ประชาชนทั่วไปที่จะเข้าร่วมพิธีควรแต่งกาย สีเหลือง งดเว้นสีดำและสีเข้ม ส่วนข้าราชการให้เป็นไปตามประกาศของแต่ละหน่วยงาน

จุดชมเรือ มี 6 จุด

  • ลานใต้สะพานพระราม 8
  • สวนสันติชัยปราการ
  • สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • และส่วนนาคราภิรมย์

จุดบริการอาหาร 30 จุด

  • วัดราชาธิวาส มทร. พระนคร
  • กรมส่งเสริมสหกรณ์
  • ใต้สะพานพระราม 8
  • วัดสามพระยาวรวิหาร
  • สวนสันติชัยปราการ
  • สนามหลวง
  • อาคารสงเคราะห์ ทบ.
  • ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร)
  • สวนนคราภิรมย์
  • ถนนมหาราช (ท่าช้าง)
  • ท้ายซอยจรัญสนิทวงศ์ 52
  • ใต้สะพานพระราม 8
  • ลานริมน้ำท่าเรือพระปิ่นเกล้า
  • ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี)
  • สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลศิริราช ท่าวังหลัง
  • วัดระฆังโฆสิตาราม
  • วัดอมรินทรารามวรวิหาร
  • วัดเครือวัลย์วรวิหาร
  • วัดอรุณราชวราราม
  • วัดกัลยาณมิตร
  • หอประชุมทหารเรือ
  • วัดวงศมูลวิหาร
  • วัดมกุฏกษัตริย์
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • วัดโสมนัส
  • โรงเรียนสตรีวิทยา
  • ป้อมมหากาฬ
  • และด้านหลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

จุดบริการทางการแพทย์

  • มีแพทย์ประจำที่ วัดราชาธิวาส มทร. พระนคร
  • กรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ใต้สะพานพระราม ๘
  • วัดสามพระยาวรวิหาร
  • สวนสันติชัยปราการ
  • ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร)
  • ท่ามหาราช
  • สนามหลวง ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และฝั่งศาลฏีกา
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรงข้ามประตูวิเศษไชยศรี
  • ลานจอดรถกองสลากเก่า
  • สวนนคราภิรมย์
  • แยกท่าเตียน
  • จุดคัดกรองแยกวังสราญรมย์ ท้ายซอยจรัญสนิทวงศ์ ๕๒
  • สนามฟุตซอล สน.บวรมงคล
  • สวนใต้สะพานพระราม ๘
  • ลานริมน้ำท่าเรือพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี)
  • วัดคฤหบดี ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • ท่าวังหลัง
  • วัดระฆังโฆสิตาราม
  • วัดอมรินทรารามวรวิหาร
  • สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงเรียนอนุบาลสุภัทรา
  • หน้าอุทยานสถานพิมุข
  • หอประชุมทหารเรือ
  • วัดเครือวัลย์วรวิหาร
  • วัดอรุณราชวราราม วัดกัลยาณมิตร
  • ราชนาวิกสภา
  • และวัดวงศมูลวิหาร

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button