บริษัทมะกันแห่งเดียวที่ Huawei อยากกลับไปร่วมงานด้วยคือ Google
ปัญหาจากการถูกสั่งแบนห้ามทำการค้าขายกับสหรัฐฯนั้นถือเป็นเรื่องส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการอย่าง Huawei. ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี หัวเว่ยได้มีการตั้งเป้ายอดจำหน่ายสินค้าอยู่ที่ 300 ล้านเครื่อง ซึ่งเพียงพอที่จะแย่งตำแหน่งความเป็น “ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลก” จาก Samsung ได้. แต่อะไรๆก็ต้องเปลี่ยนไปหลังจากที่เปิดปัญหากับทางรัฐบาลสหรัฐฯขึ้น ซึ่งหัวเว่ยคาดว่ายอดตัวเลขที่ตั้งเป้าเอาไว้หายไปกว่า 10% เลยทีเดียว.
แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถหยุดการเติบโตของหัวเว่ยได้, ไตรมาสที่ผ่านมา Huawei มียอดการขจำหน่ายสินค้า(เฉพาะในประเทศจีน) โตขึ้นกว่า 66% และได้ส่วนแบ่งการตลาดไปกว่า 42.4% ในไตรมาสเดียวกัน ขณะที่เจ้าอื่นๆอย่าง VIVO, Oppo และ Xiaomi ต่างร่วงกันไปเป็นแถบๆ. จากรายงานถึงตอนนี้หัวเว่ยทำยอดจำหน่ายทะลุ 200 ล้านเครื่องไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังหายใจไม่ทั่วท้องอยู่ดีเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ทำไป 206 ล้านเครื่อง. แต่ถึงกระนั้น เมื่อหักลบกับปัญหาที่เกิดกับรัฐบาลสหรัฐฯแล้วก็ถือว่าหัวเว่ยยังมีการเติบโตที่ค่อนข้างดีและต่อเนื่องอยู่.
นอกจากเรื่องของสมาร์ทโฟนและ ในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์คที่ใหญ่ที่สุดและมีเทคโนโลยี 5G ที่ล้ำหน้าที่สุดในโลก Huawei ก็ยังไม่วายถูกรังควาญจากรัฐบาลทรัมป์ ด้วยการประกาศขอไม่ให้เหล่าชาติพันธมิตรใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี 5G หัวเว่ย. แต่ดูเหมือนว่าแผนการครั้งนี้ของสหรัฐจะไม่เป็นผล ซ้ำยังถูกเตือนจากบริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Oracle และ Cisco มันยากที่จะลงแข่งกับหัวเว่ยในสายงานนี้ แถมต้องเสียทั้งเงินและเวลาอย่างมหาศาล. ซึ่งนั่นทำให้เกิดเป็นไอเดียเรื่องการออกใบอนุญาตเฉพาะในสินค้าและทรัพย์สินทางปัญญาบางอย่าง.
Huawei CEO, Ren Zhengfei บอกกับสื่อว่า เขายังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้กับทางสหรัฐฯแต่อย่างใด. เขาบอกว่าข้อเสนอนี้อาจจะดูจริงใจ แต่เชื่อว่าหากสหรัฐฯได้เข้าถึงเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย ไม่เกินสามปีก็สามารถแซงหัวเว่ยได้แล้ว. Ren กล่าวว่า “เราอยู่ได้สบายโดยไม่มีสหรัฐฯ” เขายังบอกอีกว่า “เราไม่หวังว่าสหรัฐฯจะถอดชื่อเราออกจากบัญชีดำ และอาจจะอยู่ในนั้นตลอดไปเพราะว่าเราอยู่ได้โดยไม่ต้องมีเขา”.
ถึงตอนนี้มีบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ Huawei อยากจะร่วมงานด้วยจริงๆ นั่นคือ Google ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ Android เวอร์ชั่นเต็มพร้อม Google Play Services และแอ้พหลักอย่าง Play Store, Search, Maps, Gmail, YouTube และอื่นๆ ซึ่งมันอาจจะไม่ได้สำหัญอะไรกับสมมาร์ทโฟนเวอร์ชั่นที่ขาบเฉพาะในจีน แต่สำหรับส่งขายทั่วโลก Google คือคีย์หลัก.
ที่มา: phonearena