พรบ.แรงงานฉบับใหม่ อายุงานเกิน 20 ปี ได้รับเงินชดเชย 400 วัน
รู้หรือไม่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ อายุงานเกิน 20 ปี ได้รับเงินชดเชย 400 วัน
ตกงาน เงินชดเชย – ช่วงนี้มีข่าวเศรษฐกิจไม่ดีหนาหู คนตกงานเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือน ก.ค.2562 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานในเดือน ก.ค. ทั้งสิ้น 4.36 แสนคน เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 5.4 หมื่นคน เฉลี่ยแล้วตั้งแต่ม.ค. – ส.ค. 62 มีผู้ขึ้นทะเบียนว่างงานเดือนละประมาณ 79,000 คน 60 % เป็นการเลิกจ้าง 40 % ลาออกเอง
หลายคนที่ยังมีงานทำอยู่ก็ใจตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ ในวันที่บริษัทกิจการต่าง ๆ ต้องการลดต้นทุนให้มากที่สุด เรามาดูพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ที่ปรับปรุงประกาศออกมาเมื่อ วันที่ 5 เมษายนดีกว่า ว่าหากเราถูกเลิกจ้างขึ้นมาจริง ๆ จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายจากบริษัทกี่บาท
- ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย240 วัน
- ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
- ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม คลิก
*เผยแพร่ครั้งแรก 3 กันยายน 2562
ภาพโดย Parinya Jaipang จาก Pixabay