สื่อญี่ปุ่นวิเคราะห์ ประยุทธ์นั่งนายกสมัย 2 ทำไทยถอยกลับยุคปชต.ครึ่งใบ
สื่อญี่ปุ่นชี้ ประยุทธ์หวนเป็นนายกรัฐมนตรี ทำประเทศไทยถอยสู่ยุค 1980s : ข่าวการเมือง
ประยุทธ์ นายกสมัย2 – วันที่ 8 มิ.ย. เว็บไซต์ asia.nikkei.com เผยแพร่รายงานวิเคราะห์ การคงอยู่บนถนนการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของพลเอกประยุทธ์ จัทร์โอชา กับทิศทางของประเทศไทยว่า การเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. 2562 นำไทยก้าวไปสู่ประชาธิปไตยหลังจาก 5 ปี ยุคเผด็จการ …
แต่ผลปรากฏว่า อดีตนายกประยุทธ์ จันทร์โอชากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทำไทยหวนกลับสู่ช่วง “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ในยุค 1980
ในช่วงหลายปีหลังจากการปฏิวัติสยามในปี 2475 ระบบการเมืองของประเทศมีรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ทหารใช้อำนาจของตนต่อเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายค้านซ้ำๆ แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.2523 – 2531
แม้ว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์จะได้รับการยกย่องจากกองทัพ แต่พลเอกเปรมก็ฏิบัติตามขั้นตอนของระบอบประชาธิปไตยทั่วไป คือการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ และยุบสภาก่อนการเลือกตั้ง และในช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ปี พ.ศ. 2531 เมื่อพลเอกเปรมก้าวลงจากตำแหน่ง ก็เข้าสู่ช่วงที่นายกรัฐมนตรีได้รับการคัดเลือกจากประชาชน ถือเป็นปีที่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประกาศใช้เมื่อปีพ. ศ. 2540 ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางทหาร
อย่างไรก็ตามเมื่อทักษิณ ชินวัตร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544 สไตล์การปกครองแบบเผด็จการ (อำนาจนิยม) และการเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยเงิน (ประชานิยม) ของเขา ผู้สนับสนุนทักษิณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรในชนบทที่ได้รับประโยชน์นโยบายของพรรคไทยรักไทย และนั่นคือเป้าหมายของทักษิณ ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม นำไปสู่การประท้วงขับไล่ และเกิดรัฐประหาร 2549 ในท้ายที่สุด
แม้ต่อมาฝ่ายผู้สนับสนุนทักษิณจะชนะเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง แต่สังคมก็ยังเกิดความขัดแยกในวงกว้างจนเกิดรัฐประหารอีกครั้งใน ปี 2557 นำไปสู่การขึ้นครองอำนาจอย่างยาวนานกว่า 5 ปี ของคณะรัฐประหารนำโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ภายใต้รัฐบาลทหาร ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภา อีกทั้งยังมอบอำนาจให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคสช เต็มไปด้วยคนในกองทัพ มีอำนาจลงคะแนนให้นายกรัฐมนตรี ประเทศไทยจึงเรียกได้ว่ากลับสู่สิ่งที่เรียกว่ารัฐบาลเทียมซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ
ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องธรรมดาทั่วโลก สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยโดดเด่นคือวิธีการใช้ยุติความขัดแย้งด้วยการใช้การรัฐประหารและการชุมนุมประท้วง แทนการเลือกตั้งและการโต้วาทีรัฐสภา
“ แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งทุก ๆ สี่ถึงห้าปีแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบประชาธิปไตยดูเหมือนว่าจะมีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับกฎพื้นฐานว่าถ้าคุณแพ้ [การเลือกตั้ง] คุณควรยอมรับความพ่ายแพ้และถอยออกไป” Ikuo Iwasaki กล่าว อดีตศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Takushoku ของญี่ปุ่น
สถานกรณ์ที่คล้ายคลึงกันสามารถพบได้ในอินโดนีเซียซึ่งมีผู้เสียชีวิตแปดคนจากการประท้วงรุนแรง หลังพรรคฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซึ่งทำให้ประธานาธิบดีโจโกะ วิโดโ้ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง
ตามการจัดอันดับประชาธิปไตยประจำปีของธนาคารโลกประเทศไทยลดลงมาอยู่ที่ 161 จาก 80 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาในขณะที่อินโดนีเซียขยับขึ้นเป็น 101 จาก 160 แต่ถึงแม้จะมีแนวโน้มในทิศทางตรงกันข้าม แต่ทั้งสองประเทศซึ่งแสดงตนว่าเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีประชาธิปไตยที่ด้อยพัฒนา