1.6 หมื่นล้านรหัสผ่าน รั่วทั้งโลก! Google, Facebook, Apple ไม่เหลือ หลุดครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

รั่วแรงระดับโลก นักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์เตือนภัยใหญ่ หลังพบรหัสผ่านกว่า 16,000 ล้านรายการ จากบริการยอดนิยมอย่าง กูเกิล, เฟซบุีก, แอปเปิล และแม้แต่บัญชีบริการภาครัฐ ถูกแฮก นำเผยแพร่บนโลกออนไลน์ ถือเป็นการรั่วไหลข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
จากรายงานของเว็บไซต์ Cybernews เผยว่า ข้อมูลเหล่านี้หลุดออกมาจากการโจมตีของ มัลแวร์ขโมยข้อมูล (infostealer) ที่จัดเก็บรหัสผ่านและข้อมูลการใช้งานจากผู้ใช้หลายล้านรายทั่วโลก ในชุดข้อมูลที่รั่วไหลมากถึง 30 ชุด แต่ละชุดมีรหัสผ่านตั้งแต่หลักสิบล้านรายการ ไปจนถึงชุดที่ใหญ่ที่สุดมากกว่า 3,500 ล้านรายการ
กูเกิล เป็นรายแรกที่ออกประกาศเตือนผู้ใช้หลายพันล้านรายทั่วโลกให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที จากนั้นบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆ รวมถึง แอปเปิล และ เฟซบุ๊ก ก็ทยอยส่งคำเตือนเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกัน FBI ได้ออกแถลงการณ์เตือนประชาชนในสหรัฐฯ ให้ระวังอีเมลหรือ SMS ลิงก์หลอกลวง (Phishing) ที่อาจพาไปยังเว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูลเพิ่มเติม
ที่น่ากังวลคือ มีเพียงชุดข้อมูลเดียวเท่านั้นที่เคยรั่วไหลมาก่อน ส่วนที่เหลือเป็นข้อมูลใหม่ทั้งหมด และยังไม่เคยถูกเผยแพร่ที่ใดมาก่อน ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลที่ถูกแฮกน่าจะยัง “สดใหม่” และใช้งานได้จริงในปัจจุบัน
นักวิจัยเตือนว่า “นี่ไม่ใช่แค่ข้อมูลรั่วธรรมดา แต่มันคือพิมพ์เขียวสำหรับการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ขนาดใหญ่” เพราะแฮกเกอร์สามารถนำข้อมูลไปใช้เจาะบัญชีผู้ใช้ ขโมยตัวตน หรือทำฟิชชิงเจาะจงเป้าหมายได้ทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่ารหัสผ่านของคุณถูกขโมย?
แม้จะไม่มีวิธีใดที่สามารถตรวจสอบได้ 100% ว่ารหัสผ่านของคุณอยู่ในชุดที่รั่วไหลหรือไม่ แต่สิ่งที่ควรทำโดยเร็วที่สุด คือเปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมดที่ใช้อยู่ในตอนนี้ คำแนะนำเบื้องต้น
1. เปลี่ยนรหัสผ่านทุกบัญชีที่คุณใช้งาน อีเมลหลัก บัญชีธนาคาร และบัญชีโซเชียล
2. เปิดใช้งาน Two-Factor Authentication (2FA) หรือการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน เพิ่มความปลอดภัยหากรหัสผ่านถูกขโมย
3. ใช้แอป 2FA เช่น Google Authenticator หรือ Microsoft Authenticator แทนการรับรหัสผ่านทาง SMS ที่อาจถูกดักฟังได้ง่ายกว่า
4. เมื่อเปลี่ยนรหัสผ่านแล้ว ให้เลือกตัวเลือก “ออกจากระบบทุกอุปกรณ์” เพื่อเตะผู้ไม่ประสงค์ดีออกจากบัญชีของคุณทันที
ตรวจสอบกิจกรรมในบัญชี หากพบการเข้าใช้งานจากอุปกรณ์หรือประเทศที่ไม่รู้จัก ให้รายงานและรีเซ็ตรหัสผ่านทันที
แม้ว่าข้อมูลจะเผยแพร่สู่สาธารณะเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะถูกลบออก แต่ผู้เชี่ยวชาญยังคงแสดงความกังวลว่า มัลแวร์ขโมยข้อมูลยังคงทำงานอยู่ และมีแนวโน้มจะมีการรั่วไหลครั้งใหม่อีกเรื่อย ๆ ในอนาคต
อย่าประมาท โลกออนไลน์ในวันนี้อาจปลอดภัยน้อยกว่าที่คิด ตรวจสอบบัญชีของคุณ ป้องกันไว้ก่อนจะสายเกินไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไอโฟนไม่รอด พบมัลแวร์ แฝงในแอป iOS อ่านหน้าจอ ล้วงรหัสผ่าน
- เตือนภัย 10 รหัสผ่านถูกใจมิจจี้ แฮกง่าย เสี่ยงข้อมูลรั่ว ใครใช้อยู่เปลี่ยนด่วน
- เกาหลีใต้แบน DeepSeek AI จีน หวั่นข้อมูลรั่วไหล ลามถึงเอกชน-บริษัทเทคฯ
ติดตาม The Thaiger บน Google News: