การเงินเศรษฐกิจ

10 ปี ย้อนหลัง พระโคกินอะไร วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำนายว่าอะไรบ้าง

วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระโคกินอะไร สถิติ 10 ปีย้อนหลัง

ปี 2558 – วันที่ 13 พฤษภาคม พระโคฟ้า พระโคเลิศ เลือกกินหญ้า

ปี 2559 – วันที่ 9 พฤษภาคม พระโคเพิ่ม พระโคพูล เลือกกินข้าว, ข้าวโพด, งา, น้ำ, หญ้า และ เหล้า

ปี 2560 – วันที่ 12 พฤษภาคม พระโคเพิ่ม พระโคพูล เลือกกินข้าว, ข้าวโพด, หญ้า

ปี 2561 – วันที่ 12 พฤษภาคม พระโคพอ พระโคเพียง เลือกกินน้ำ, หญ้า, เหล้า

ปี 2562 – วันที่ 9 พฤษภาคม พระโคเพิ่ม พระโคพูล เลือกกินข้าว, น้ำ, หญ้า

ปี 2563 – วันที่ 11 พฤษภาคม งดจัดพระราชพิธี เนื่องจากโรคโควิด 19 แ

ปี 2564 – วันที่ 10 พฤษภาคม งดจัดพระราชพิธี เนื่องจากโรคโควิด 19

ปี 2565 – วันที่ 13 พฤษภาคม พระโคเพิ่ม พระโคพูล เลือกกินน้ำ, หญ้า, ถั่ว และเหล้า

ปี 2566 – วันที่ 17 พฤษภาคม พระโคพอ พระโคเพียง เลือกกินหญ้า, เหล้า

ปี 2567 – วันที่ 10 พฤษภาคม พระโคพอ พระโคเพียง เลือกกินน้ำ, หญ้า, เหล้า

คำทำนาย พระโคกินอาหาร น้ำ ว่าอย่างไร

พระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

พระโคกิน ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

พระโคกิน น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์

พระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ที่มาพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ในทุกปีช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ปี 2568 ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม ราชสำนักจะจัด “พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ณ สนามหลวงกลางใจ กรุงเทพฯ สืบทอดพิธีกรรมเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย สะท้อนสายใยระหว่างราชสำนักกับชาวนาไทยที่มีอย่างแน่นแฟ้น

จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีชื่อเรียกภาษาชาวบ้านว่า พิธีแรกนา เป็นพิธีพุทธ-พราหมณ์ผสมผสาน จัดเพื่อเสริมสิริมงคลก่อนเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก เป็นการเสี่ยงทายผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้า รวมถึงถวายความเคารพแด่แม่โพสพ เทพีแห่งข้าวผู้ปกปักษ์ดูแลรวงทองของชาวนา

บุคคลสำคัญในพิธีคือ “พระยาแรกนา” หรือที่เรียกในราชพิธีว่า “พระยาแรกนาขวัญ” มักเป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น ปลัดกระทรวง หรือผู้มีตำแหน่งสูงสุดในสายการเกษตร ทำหน้าที่เสมือนผู้นำชาวนา เริ่มต้นไถหว่านครั้งแรกของปี

ขั้นตอนพิธีสุดละเมียดละไม

1. ช่วงเช้า – พิธีพราหมณ์

เริ่มต้นด้วยการสวดบูชาฤกษ์มงคล โดยพราหมณ์จะประกอบพิธีอัญเชิญพระพิฆเนศ พระอินทร์ และแม่โพสพ พร้อมเจิมเส้นทางแปลงนาสาธิตที่สนามหลวง จากนั้น จะเสี่ยงทายผ้านุ่ง โดยพระยาแรกนาจะจับผ้านุ่งเพื่อสวมไปประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญยังท้องสนามหลวง

2. พระยาแรกนาขวัญจรดพระนังคัล

พระยาแรกนาในฉลองพระองค์เต็มยศ จะทำพิธีจรดพระนังคัล (ไถนา) โดยใช้โคเทียมคันไถเดินไปตามแปลงนา จำลองการไถพรวนดิน พร้อมโปรยพันธุ์ข้าวเพื่อเสริมสิริมงคล

3. โคเสี่ยงทาย

ภายหลังโคแรกนาไถเสร็จ จะมีการนำอาหาร 7 อย่าง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา น้ำ เหล้า และหญ้า มาให้โคเลือกกิน
สิ่งที่โคกินจะเป็นการ “เสี่ยงทาย” ผลผลิตและสถานการณ์การเกษตรของปีนั้น เช่น ถ้าโคกินข้าวเปลือกหรือถั่ว แสดงว่าข้าวจะได้ผลดี, หากกินน้ำหรือหญ้า แปลว่าฝนจะตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น

4. การแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์มงคล

ประชาชนที่มาร่วมงานจะได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาขวัญใช้หว่าน ถือเป็นข้าวมงคลที่เชื่อกันว่า หากนำไปปลูกหรือเก็บไว้ จะให้ความอุดมสมบูรณ์และโชคลาภ

พิธีแรกนาปี 2568

  • นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา

เทพีคู่หาบทอง

  • นางสาวธิรดา วงษ์กุดเลาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร
  • นางสาววราภรณ์ วิลัยมาตย์ เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กรมวิชาการเกษตร

เทพีคู่หาบเงิน

  • นางสาวฉันทิสา อารีเสวต นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • นางสาวอภิชญา ฟูแสง นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ทั้งนี้ เป็น ผู้อัญเชิญเครื่องอิสริยยศ และคู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล

อนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำ “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ในแปลงนาทดลองสวนจิตรลดา และแปลงนาขยายผลฤดูทำนาปี 2567 ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวเปลือกจากข้าวนาสวนพันธุ์หลัก 7 พันธุ์ทั้งนี้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 4,880 กิโลกรัม ดังนี้

1.ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 1,275 กิโลกรัม

2. กข 79 จำนวน 420 กิโลกรัม

3. กข 85 จำนวน 500 กิโลกรัม

4.กข 99 (หอมคลองหลวง 72) จำนวน 710 กิโลกรัม

5. กขจ 1 (วังทอง 72) จำนวน 600 กิโลกรัม

พันธุ์ข้าวเหนียว

6. กข 6 จำนวน 955 กิโลกรัม

7.กข 24 (สกลนคร 72) จำนวน 420 กิโลกรัม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx