
เปิดวิธีปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. 2568 แบบอิเล็กทรอนิกส์ และแบบวอล์กอิน ลดค่างวด-ขยายเวลา-ปลดผู้ค้ำฯ ทำอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาในการชำระหนี้ หรือต้องการแบ่งเบาภาระ สามารถเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ หลังจากในเดือนเมษายน 2568 มีการเก็บเงินเพิ่มเติมจำนวน 3,000 บาท สำหรับลูกหนี้ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ จะมีการปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดให้ต่ำลง ขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ให้นานขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้จริง รวมทั้งลดหรือยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ให้ทั้งหมด 100%
อีกทั้งลดภาระให้กับผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ค้ำประกันจะพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันทันทีที่ผู้กู้ยืมได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฉบับใหม่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับท่านที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ด้วยตนเองง่าย ๆ รวมทั้งขั้นตอนการทําสัญญาฯ ใหม่ ทำได้ตามขั้นตอนนี้
วิธีปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับท่านที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. แบบอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS
การตั้งค่า Google Chrome ระบบ Android
วิธีตั้งค่า Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น สําหรับระบบปฏิบัติการ Android เพื่อให้การใช้งานระบบมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถ ทําตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ไปที่ การตั้งค่า (Settings) ของโทรศัพท์
2. เลื่อนลงและเลือก แอป (Apps) หรือ แอปพลิเคชันเริ่มต้น (Default Apps)
3. เลือก เบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)
4. เลือก Google Chrome

การตั้งค่า Google Chrome ระบบ IOS
ส่วนตั้งค่า Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น สําหรับบนระบบปฏิบัติการ IOS สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิด การตั้งค่า (Settings)
2. เลื่อนลงมาจนเจอ แอป (Apps) แล้วกดเข้าไป
3. ค้นหา Google Chrome และกดเข้าไป
4. เลือก แอปเบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)
5. กดเลือก Google Chrome

ขั้นตอนการทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แบบอิเล็กทรอนิกส์
หลังจากตั้งค่า Google Chrome ระบบ Android และ IOS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้เลย
1. เลือกกดปุ่มทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แบบอิเล็กทรอนิกส์

2. กรอกเลขประจําตัวประชาชน เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

3. กรอกวันเดือนปีเกิด (ปีพ.ศ.)

หมายเหตุ : แจ้งปัญหากรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง
หาก วัน/เดือน/ปีเกิด ที่ผู้กู้ยืมระบุเข้ามา ไม่ตรงกับในฐานข้อมูลในระบบ ระบบจะแสดงแจ้งเพื่อให้ผู้กู้ยืมระบุ วัน/เดือน/ปีเกิด ที่ถูกต้องเพื่อดําเนินการในกระบวนการแก้ไขข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ต่อไป โดยหากแก้ไขข้อมูล เสร็จสิ้นแล้ว จึงจะสามารถดําเนินการขั้นตอนถัดไปได้

4. แสดงวิธียืนยันข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการสแกน QR Code ด้วยแอพพลิเคชัน ThaiD ผู้ใช้งานกดปุ่ม “ถัดไป” เพื่อ
สแกน QR Code

5. ระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ และอีเมล และเลือกเลขบัญชีเงินกู้ยืมที่จะทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
6. อ่านและทําเครื่องหมาย 1 เงื่อนไขข้อกําหนดการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นกดปุ่ม “บันทึกรายละเอียด สัญญาปรับโครงสร้างหนี้”

7. ระบบจะสร้างรายละเอียดข้อมูลผู้กู้ยืม ข้อมูลรายละเอียดบัญชี และยอดหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายต่อเดือนให้ผู้กู้ยืม ตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นจึงกดปุ่ม “รายละเอียดสัญญา”

8. จากนั้นทําเครื่องหมายถูกต้อง เพื่อรับรองข้อมูลรายละเอียดความถูกต้อง และกดปุ่ม “ยืนยัน”

9. สแกน QR Code ผ่านแอพพลิเคชั่น ThailD ยืนยันตัวตน (ลงลายมือชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์)

10. จะมีแจ้งเตือนให้ตรวจสอบว่าอีเมลที่ระบุมาถูกต้องหรือไม่ หากตกลง ระบบจะส่งลิงค์ยืนยันการลงลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้กู้ผ่านทางอีเมลดังกล่าว

11. ระบบจะส่งลิงค์ยืนยันการทํารายการไปที่อีเมลที่ผู้กู้ยืมได้ให้ไว้หน้าลงทะเบียน และให้ยืนยันการทํารายการ เพื่อลงนามการทําสัญญา ทํารายการ ภายใน 5 นาที

12. เสร็จสิ้นกระบวนการทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้กู้ยืมยังมีบัญชีเงินกู้อื่นๆ ที่ มากกว่า 1 บัญชี ระบบแจ้งให้ท่านทราบดังรูปตัวอย่าง
13. กดที่ปุ่ม “ตรวจสอบสัญญา” เพื่อตรวจสอบสัญญาปรับโครงสร้างหนี้พร้อมดาวนโหลดเอกสารสัญญา

วิธีวอล์กอินทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่ไหนบ้าง?
สำหรับผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้ หรืออาจไม่สะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ กยศ. ยังคงเปิดช่องทางให้สามารถเดินทางมา ติดต่อทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ผู้กู้ยืมสามารถเดินทางไปติดต่อได้ที่สำนักงานใหญ่ กยศ. ซึ่งตั้งอยู่ที่ อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ หรือ อาคารรุ่งโรจน์ ธนกุล จะเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (หยุดทำการในวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของรัฐบาล)
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมไปสำหรับการติดต่อ Walk-in นั้นไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน จำนวน 1 ฉบับ (พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง) และ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จำนวน 1 ฉบับ (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล) เท่านั้น
ข้อมูลจาก : studentloan
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กยศ. เคลียร์ชัด เหตุเพิ่มหักเงินเดือน 3 พันบาท เฉพาะลูกหนี้ค้างชำระ
- กยศ. หักเงินเพิ่ม 3000 บาท ชี้แจงแล้ว แนะปรับโครงสร้างหนี้
- เช็กด่วน กยศ. คืนเงินส่วนเกินแล้ว เริ่มเปิดลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้