ข่าว

สุริยะ ปิ๊งไอเดียย้าย 3 บขส. มาสถานีบางซื่อ หวังลดปัญหาจราจร-สะดวก ปชช.

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เผย กระทรวงคมนาคม มีแนวคิดย้ายสถานีขนส่ง บขส. 3 แห่ง หมอชิต 2-เอกมัย-สายใต้ มาสถานีบางซื่อ หวังอำนวยความดวกประชาชน

วันนี้ (19 ก.พ.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี – รมว. คมนาคม เผยว่ากระทรวงฯ มีแนวคิดย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2, สถานีขนส่งภาคตะวันออกกรุงเทพฯ (เอกมัย) สถานีขนส่งใต้ภายใต้การรับผิดชอบของ บขส. ไปรวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและยกระดับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าเดิม

Advertisements

นายสุริยะ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปดำเนินการพิจารณา-ศึกษาแนวทางการย้ายแล้ว โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบการดำเนินการ งบประมาณก่อสร้าง และการบริหารการจราจรภายในและรอบสถานีให้มีความคล่องตัวด้วย

นอกจากนี้ตนได้ปรึกษาหารือกับ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช. คมนาคมเรียบร้อย ซึ่งคาดว่าการย้ายสถานีครั้งนี้จะช่วยให้การเดินทางของพี่น้องประชาชนสะดวกมากขึ้น และเป็นการสอดรับนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกสีในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เนื่องจากสถานีกลางบางซื้อมีจุดเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีแดง

สถานีกลางบางซื่อ
ภาพจาก วิกิพีเดีย

ส่วนรูปแบบแนวคิดที่จะดำเนินการเป็นอย่างไรนั้น นายสุริยะ ระบุว่า จะใช้โมเดลของประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ ยกตัวอย่างเช่น สถานีฮากาตะที่เป็นสถานีโดยสารอาคารสูงและศูนย์อาหาร-แหล่งอำนวยความดวกภายในแบบครบถ้วน โดยแต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทางตามภูมิภาคและจังหวัดอย่างชัดเจน

ขณะที่นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่าหลังรับข้อสั่งการข้างต้นมา ทางหน่วยงานกำลังอยู่ในการกำหนดแนวคิดการพัฒนาเบื้องต้นอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งระหว่างนี้ สนข. จะเสนอขอตั้งงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษามาหารือความเป็นไปได้ของโครงการ โดยต้องใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการพัฒนาสถานีแห่งใหม่ในรูปอาคารสูงจะมีประโยชน์และไม่ก่อปัญหาจราจรในพื้นที่เพิ่ม

ขณะที่การย้ายสถานีมารวมกันนั้น จะมีการกำหนดแหล่งที่ตั้งใกล้กับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วน ส่วนการพัฒนาอาคารสูงจะแบ่งชั้นการให้บริการชัดเจน เช่น ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินไปทางภาคใต้ และภาคตะวันตก, ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคเหนือ, ชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และชั้นสำหรับผู้โดยสารเดินทางไปภาคตะวันออก และพื้นที่โดยรอบกรุงเทพมหานคร (กทม.)

Advertisements

อีกทั้งตัวอาคารผู้โดยสารจะมีการพิจารณาออกเป็นชั้นใต้ดินสำหรับรถเมล์ ขสมก. และแท็กซี่ เพื่อให้เข้ามารับส่งผู้โดยสาร ขณะที่ในส่วนของชั้นที่สูงขึ้นไป จะมีการออกแบบเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของฝาก เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถมีที่พักคอยก่อนจะถึงเวลารถออก และรายได้จากการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้น สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการ และซ่อมบำรุงรักษาตัวอาคารผู้โดยสารได้อีกด้วย

หมอชิต 2 ย้ายไป สถานีกลางบางซื่อ
ภาพจาก วิกิพีเดีย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

นักเขียนข่าว บทความทั่วไปประเภทไลฟ์สไตล์ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. ติดต่อได้ที่อีเมล yo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button