การเงินเศรษฐกิจ

เตือนภัย 2 ช่องทาง มิจฉาชีพอ้าง แจ้งเตือนชื่อโมบายแบงก์กิ้งไม่ตรงซิม

เช็กด่วน 2 ช่องทาง มิจฉาชีพอ้างแจ้งเตือนมาตรการชื่อโมบายแบงก์กิ้งตรงซิมการ์ด มีอะไรบ้าง? ดีอี ย้ำ แจ้งผ่านแอปพลิเคชั่นเท่านั้น พร้อมวิธีการตรวจสอบ

การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ย้ำเตือนอีกครั้ง จากกรณีที่หน่วยต่าง ๆ ออกมาตรการยกระดับความปลอดภัยในการใช้โมบายแบงก์ (Mobile Banking) เริ่มดำเนินมาตรการฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 สำหรับผู้ที่ต้องแก้ไขหรืออัปเดตข้อมูลกับทางสาขาธนาคารจะได้รับข้อความแจ้งเตือนผ่านช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

Advertisements

ผู้ที่ต้องดำเนินการแก้ไขข้อมูลชื่อโมบายแบงก์ให้ตรงกับซิมมือถือ กระทรวงดีอีจะส่งข้อความแจ้งเตือนให้กลุ่มที่ต้องยืนยันตัวตนให้มายืนยันตัวตน ทางธนาคารจะแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของแต่ละธนาคารเท่านั้นโดยไม่มีการแจ้งเตือนผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ การโทรติดต่อโดยตรง หรือการแจ้งผ่านข้อความ SMS เพื่อป้องกันการแอบอ้างของมิจฉาชีพ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2568

สำหรับ 2 กลุ่มที่ต้องยืนยันตัวตนจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอปฯ โมบายแบงก์ ดังนี้

1. กลุ่มลูกค้าที่ไม่พบข้อมูลชื่อเจ้าของซิม ซึ่งเปิดบัญชีตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 จำนวน 2,364,370 ราย

2. กลุ่มลูกค้าต่างชาติที่ชื่อเจ้าของซิม/Mobile Banking ไม่ตรงกัน ซึ่งเปิดบัญชีตั้งแต่เดือน มกราคม 2565 จำนวน 811,645 ราย

ดีอี ย้ำ มาตรการโมบายแบงก์กิ้งแจ้งเตือนปชช. ผ่าน แอปฯ ธนาคาร เท่านั้น
ภาพจาก : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วิธีเช็กชื่อโมบายแบงก์-ซิมมือถือ ตรงกันไหม

ผู้ที่ต้องการตรวจสอบว่าชื่อโมบายแบงก์กับชื่อซิมมือถือตรงกันหรือไม่ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการ ‘กด *179* หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ของตนเอง #’ และกดโทรออก จากนั้นระบบจะแสดงผลการตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

Advertisements
  • หากชื่อตรงกันจะได้รับข้อความว่า ‘XXXXXXXXXXXXX ตรงกับ OX-XXX-XXXX ตรวจสอบ DD/MM/YY HH:MM’
  • หากชื่อไม่ตรงกันจะได้รับข้อความว่า ‘XXXXXXXXXXXXX ไม่ตรงกับ OX-XXX-XXXX ตรวจสอบ DD/MM/YY HH:MM’

สำหรับท่านที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ชื่อโมบายแบงก์กับซิมมือถือตรงกันไม่ต้องดําเนินการใด ๆ ส่วนผู้ที่ข้อมูลชื่อไม่ตรงกันขอให้รอแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคาร หากบุคคลใดไม่ได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอปฯ Mobile Banking จากธนาคารโดยตรงยังไม่จำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ขอให้แจ้งเบาะแสข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง, Line ID: @antifakenewscenter และ เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button