การเงินเศรษฐกิจ

ซื้อสินค้า Easy E-Receipt 2.0 ได้เงินคืนภาษีกี่บาท คำนวณมาให้แล้ว

ซื้อสินค้า Easy E-Receipt 2.0 ได้ลดหย่อนภาษี 2568 เงินคืนภาษีเท่าไหร่

ต้องเข้าใจก่อนว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย เสียภาษีแบบขั้นบันได หมายความว่ายิ่งเงินเดือนสูง รายได้เยอะ ต้องเสียภาษีในอัตราเยอะขึ้น เริ่มต้นที่ 5% สูงสุด 35% ดังนั้น ถ้าเราซื้อของช้อปดีมีคืน Easy E-Receipt 2.0 สูงสุด 50,000 บาทเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้เงินคืนภาษีเท่ากัน

โปรดตรวจสอบคำนวณว่ารายได้ของท่านเข้าเกณฑ์เสียภาษี 2568 ร้อยละเท่าไหร่ แล้วดูตารางข้างล่างเป็นแนวทางเบื้องต้น ว่าจะได้เงินคืนภาษีเท่าไหร่ ซึ่งนี่ยังไม่รวมลดหย่อนอื่นๆ เช่น ประกันชีวิต ภาษีบ้าน เลี้ยงดูพ่อแม่ เงินกองทุน ที่ซื้อไว้ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้เงินคืนภาษีสุทธิเพิ่มขึ้น

Advertisements

แต่คนมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่แนะนำให้ใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0 เพราะยังไงก็ไม่ได้เงินคืน แต่ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีนะ

ฐานรายได้เสียภาษี 5%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 500 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 1,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 1,500 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 2,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 2,500 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 10%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 1,000 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 2,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 3,000 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 4,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 5,000 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 15%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 1,500 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 3,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 4,500 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 6,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 7,500 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 20%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 2,000 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 4,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 6,000 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 8,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 10,000 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 25%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 2,500 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 5,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 7,500 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 10,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 12,500 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 30%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 3,000 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 6,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 9,000 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 12,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 15,000 บาท

ฐานรายได้เสียภาษี 35%

  • ใช้จ่าย 10,000 บาท ได้คืนภาษี 3,500 บาท
  • ใช้จ่าย 20,000 บาท ได้คืนภาษี 7,000 บาท
  • ใช้จ่าย 30,000 บาท ได้คืนภาษี 10,500 บาท
  • ใช้จ่าย 40,000 บาท ได้คืนภาษี 14,000 บาท
  • ใช้จ่าย 50,000 บาท ได้คืนภาษี 17,500 บาท

โครงการ Easy E-Receipt 2.0 ใช้ได้เมื่อไหร่

มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2568 สำหรับยื่นภาษีปี 2569 สนับสนุนให้ประชาชนใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศ ที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) มาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท

ใครบ้างที่เข้าร่วมโครงการได้? เฉพาะบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่? ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงซื้อสินค้าทั่วไป แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ลดหย่อนเพิ่มเติมตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท เฉพาะยอดจากการซื้อสินค้า OTOP หรือซื้อสินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชน

ใช้สิทธิ์ได้เมื่อไหร่? ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568

Advertisements

ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) แบบเต็มรูป หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ออกโดยระบบของกรมสรรพากรเท่านั้น

Easy E-Receipt 2.0 ได้ลดหย่อนภาษี 2568 เงินคืนภาษีเท่าไหร่ ซื้อของ 50,000 บาทเท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้เงินคืนภาษีเท่ากัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button