นักวิจัยเผย โสดนานเกินไป อันตราย ร่างกายสร้างโปรตีนพิษ 5 ชนิด ทำลายสุขภาพ
นักวิจัยเผย โสดนานเกินไป 14 อันตราย ร่างกายสร้างโปรตีนพิษ 5 ชนิด ทำลายสุขภาพ เสี่ยงโรคความดัน หัวใจ หลอดเลือด
ข่าวร้ายสำหรับคนไม่มีแฟน ผลการวิจัยใหม่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Human Behaviour นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่าความเหงาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ แต่ยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายด้วย
การศึกษาพบว่าคนโสดที่อยู่ในภาวะเหงาเป็นเวลานานจะมีการสร้างโปรตีนที่เป็นอันตราย 5 ชนิดในกระแสเลือด ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง โปรตีนเหล่านี้จะสะสมจนก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน และภาวะสมองเสื่อม
โปรตีนอันตรายเหล่านี้จะแสดงผลหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในภาวะเหงานาน 14 ปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนหรือวัยชรา ดังนั้น หากคุณยังไม่พบคู่ชีวิต นักวิจัยแนะนำให้รีบหา เพราะเวลากำลังนับถอยหลังต่อสุขภาพ
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องการสื่อสาร มีประสบการณ์ร่วมกับคู่ชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เราได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต ผ่อนคลายความเครียด สร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
ในโลกที่มีการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ความรู้สึกเหงาและการแยกตัวจากสังคมกลับกลายเป็นปัญหาที่น่าวิตก องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีเยาวชนราว 5-15% กำลังเผชิญกับความเหงา แม้พวกเขาจะใช้โซเชียลมีเดียอย่างกระตือรือร้น แต่ในชีวิตจริงกลับมีเพื่อนน้อย ไม่มีคนสนิทที่จะแบ่งปันความรู้สึก
ตัวเลขในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุยิ่งน่าตกใจ การศึกษาในปี 2565 ยังพบว่าความเหงาในผู้สูงอายุเพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมถึง 26%
การค้นพบโปรตีนแห่งความเหงา
เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมความเหงาจึงส่งผลร้ายต่อร่างกายและจิตใจ นักวิทยาศาสตร์จากเคมบริดจ์ได้ศึกษาผ่านแนวทาง “proteomics” หรือการศึกษาโปรตีน คล้ายกับ “genomics” ที่ศึกษายีนทั้งหมดในมนุษย์ แต่ “proteomics” มุ่งเน้นที่การค้นหาผลกระทบของโปรตีนทั้งหมดที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการมีชีวิต ตั้งแต่การแสดงออกของยีน การเชื่อมโยงข้อมูลพันธุกรรมและกิจกรรมทางชีวภาพ รวมถึงเป็นแหล่งสำคัญในการพัฒนายารักษาโรค
นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เข้าร่วม 42,062 คนในโครงการ UK Biobank ซึ่งเป็นโครงการเก็บตัวอย่างชีวภาพของประชากรในอังกฤษ โดยตรวจสอบโปรตีนเกือบ 3,000 ชนิดในเลือดของผู้เข้าร่วม ซึ่งได้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพสมรสและการใช้ชีวิตปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่ายิ่งคนเราโสดนานและเหงามากเท่าไร ก็จะยิ่งมีระดับโปรตีน 5 ชนิดในเลือดสูงขึ้นเท่านั้น ได้แก่ GFRA1, ADM, FABP4, TNFRSF10A และ ASGR1 โปรตีนเหล่านี้เป็นโปรตีนอันตรายที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ลดภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการต้านทานโรคของร่างกาย
วิธีการมีชีวิตที่สุขภาพดี
จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการแยกตัวจากสังคมและความเหงากำลังส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ งานวิจัยนี้ไม่เพียงช่วยให้เราเข้าใจวิธีที่ความเหงาส่งผลต่อร่างกาย แต่ยังเน้นย้ำความสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีความหมาย
การสร้างความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการมีคู่ชีวิต ไม่เพียงช่วยลดความรู้สึกเหงา แต่ยังช่วยลดระดับโปรตีนที่เป็นอันตรายในร่างกาย กิจกรรมทางสังคม เช่น งานอาสาสมัคร การเข้าร่วมชมรม หรือกีฬาทีม ก็สามารถช่วยลดความเหงาได้
ความสัมพันธ์ทางสังคมช่วยลดความเครียด ลดความดันโลหิต เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ และปรับปรุงสุขภาพสมอง นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและความยืดหยุ่นทางอารมณ์ สร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง
แต่เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีเช่น โซเชียลมีเดีย นักวิทยาศาสตร์มองว่าเป็นดาบสองคม ในแง่หนึ่ง โซเชียลมีเดียนำเสนอวิธีใหม่ๆ ในการแบ่งปันชีวิต เชื่อมต่อกับผู้อื่น แต่มันก็มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ผิวเผิน ขาดความลึกซึ้ง
นี่คือความย้อนแย้ง – การอาศัยอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แต่กลับรู้สึกเหงามากกว่าที่เคย ดังนั้น นักวิจัยจึงแนะนำให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบตัวต่อตัว รวมถึงการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น การสบตา ท่าทาง และน้ำเสียง เพราะสิ่งเหล่านี้จะให้ผลในการเชื่อมต่อที่ดีกว่าการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงยังช่วยให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ผูกพัน และยั่งยืนมากขึ้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ควบคุมโรค เตือน ตายแล้ว 1 ศพ โคม่า 1 ราย กินก้อยดิบงานบุญบุรีรัมย
- นักวิทย์ ค้นพบ ออกกำลังกายแค่ไหน ช่วยลดอายุหัวใจ 20 ปี
- เช็คด่วน 4 พฤติกรรมก่อนนอน ที่อาจทำให้ ‘อายุสั้น’ โดยไม่รู้ตัว