“พิชัย” รมว. คลัง แจงดราม่า ขึ้น VAT 15% อยู่ในขั้นตอนศึกษา ชี้แนวโน้มอัตราภาษีทั่วโลก ทัวร์ลงสนั่น รายได้เท่าเดิม เพิ่มแต่ภาษี ยืนยันพร้อมฟังเสียงส่วนรวม
ประชาชนแตกตื่น หลังมีข่าวว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ขึ้นพูดหัวข้อ “Financial Policies for Sustainable Economy” ในงาน Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 67 โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง Global Minimum Tax (GMT) ไว้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจัดเก็บภาษีอยู่ที่อัตรา 15% ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ที่ 20%
นายพิชัยจึงระบุว่าหากประเทศอื่นลดได้เราก็ต้องลดได้ และพิจารณาหาทางออกต่อไปว่าหากลดเพดานภาษีกลุ่มนี้ จะต้องเพิ่มอัตราภาษีส่วนไหน ซึ่งรองนายกฯ ที่นั่งควบตำแหน่งขุนคลังได้เสนอต่อว่า ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT อยู่ที่ 7% ทั้งที่ตามกฎหมายสามารถเก็บได้ถึง 10% ขณะที่ทั่วโลกมีแนวโน้มจัดเก็บภาษีประเภทนี้ในอัตรา 15 -20% นั่นแปลว่าไทยเก็บภาษีบริโภคน้อยเกินไป
นายพิชัย ชุณหวชิร เสนอต่อว่า ภาษีการบริโภค (consumption tax) มักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหว แต่หากจัดเก็บอย่างเหมาะสม จะช่วยเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนรายได้ต่ำอยู่รอดในสภาวะเสรษฐกิจปัจจุบันได้ โดยการเพิ่มภาษีบริโภคให้สูงขึ้น
ทั้งนี้หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ต้องกลับไปที่โมเดลของภาษี consumption ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ากันว่าภาษีชนิดนี้ถือเป็นช่องทางสำคัญ ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลในแต่ละประเทศ โดยประกอบด้วยภาษี 3 ประเภทย่อย คือ ภาษีการขาย (sales tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีสรรพสามิต (excise tax)
รมว. คลัง จึงยกสมการการเพิ่มภาษีเพื่อสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยไว้ว่า ภาษีบริโภคเป็นภาษีที่จัดเก็บจากทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยระดับมหาเศรษฐี ชนชั้นกลาง หรือคนยากจน ซึ่งการบริโภคย่อมเป็นไปตามฐานะทางการเงิน ดังนั้น หากรัฐบาลเรียกเก็บภาษีในเรทต่ำ ทุกคนก็จะจ่ายในอัตราที่ต่ำ เงินกองกลางของประเทสก็จะน้อยลงไปด้วย หากต้องส่งกลับเข้ามาพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ก็จะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณมากขึ้น
ขณะที่ถ้าเราเพิ่มอัตรภาษีกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น ทุกคนก็จะจ่ายภาษีสูงขึ้น เงินกองกลางก็จะมากขึ้น จากนั้นก็นำเงินส่วนนี้ไปส่งผ่านให้กับผู้มีรายได้น้อย ผ่านการจัดสรรงบประมาณ หรือสรุปได้ง่าย ๆ ว่าเป็นกระบวนการเพิ่มอัตราภาษีจากทุกคน เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มคนยากจน ซึ่งสามารถทำได้ในหลายช่องทาง ทั้งระบบสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และการศึกษา
จากแผนการปรับเพดานภาษีดังกล่าว ซึ่งเป็ยแนวคิดที่หลายประเทศกำลังใช้อยู่นั้น หากประเทศไทยต้องการนำมาปรับใช้ อาจส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ ดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจลดอัตราจัดเก็บจาก 20% เหลือ 15% เพื่อดึงความสนใจจากนักลงทุน และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจพิจารณาการจัดเก็บจากอัตรา 35% เหลือเพียง 15% เพื่อสนับสนุนให้คนที่มีความสามารถ อยากเข้ามาทำงานในประเทศไทย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิมที่ประเทศไทยจัดเก็ยในอัตรา 7% หากปรับตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจของโลกซึ่งจัดเก็บอยู่ในอัตรา 15 – 25% ได้ ก็จะช่วยให้รัฐบาลมีงบประมาณในการดำเนินแผนงานต่าง ๆ มากขึ้น และสามารถจัดสรรมาสนับสนุนคนรายได้น้อยต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยแนวคิดที่นายพิชัยได้เกริ่นไว้ในช่วงต้นว่าเป็นเรื่องเซนซีทีฟสำหรับประชาชน เจ้าตัวจึงกล่าวทิ้งท้ายในการเสวนาไว้ว่า “การเก็บภาษีสูงหรือต่ำจะต้องพิจารณาให้ดี ในแง่ของนโยบายทางการเงิน และรายได้ของภาครัฐ ตอนนี้ผมนอนคิดเรื่องนี้ทุกคืน จะต้องทำยังไง ต้องทำให้คนเข้าใจก่อน หากไม่เข้าใจแล้ว ผมจะอยู่รอดถึงวันไหนนะ”
หลังจากงานดังกล่าวได้จบลง มีสื่อหลายสำนักนำประเด็น เพิ่มภาษีแวต 15% และลดเพดานภาษีนิติบุคคล รวมถึงภาษีบุคคลธรรมดาลงเหลือ 15% ไปนำเสนอ บ้างก็ตัดทอนเหลือเพียงหัวข้อ ทำให้ประชาชนแตกตื่นว่าแผนเศรษฐกิจดังกล่าวจะถูกนำมาใช้จริงหรือไม่ จนเกิดเป็นประแสดราม่าบนโลกโซเชียล ซึ่งหลายความคิดเห็นมองว่าเพดานเงินเดือนขั้นต่ำของคนไทยไม่ขยับมานานแล้ว หากมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น น่าจะทำให้กระทบการใช้ชีวิต ดดยเฉพาะคนชนชั้นกลางไปจนถึงคนรายได้น้อย
นอกจากนี้การลดภาษีผู้มีรายได้สูง จาก 35 -20% เหลือ 15% ก็สร้างควาไม่พอใจให้กับคนจำนวนหนึ่ง รวมถึงโมเดลวงจรเศรษฐกิจ ที่นายพิชัยกล่าวว่าจะใช้แผนเพิ่มภาษีเพื่อช่วยคนรายได้น้อย ซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจว่าจะช่วยเหลือผู้ยากจนได้อย่างไร ท่ามกลางรายจ่ายและข้าวของเครื่องใช้ที่มีแนวโน้มปรับราคาสุงขึ้น ตามอัตราการเก็บภาษีจากภาครัฐ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 67 หลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจาณณ์มากมาย เกี่ยวกับแนวคิดการเพิ่มภาษีแวต นายพิชัย ได้แจ้งกับสื่อมวลชนว่า เป็นเพียงการเสนอแนวโน้มที่ทั่วโลกทำกัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา และต้องดูภาพรวมอีกครั้ง ส่วนเรื่องที่มีคนถามว่าประชาชนจะรับได้ไหม เพราะในปัจจุบันจากอัตรา VAT 10% ยังต้องปรับลดลงเหลือ 7% หากต้องเพิ่มขึ้นเป็น 15% จะเกิดกระแสต่อต้านหรือไม่ รองนายกฯ ตอบว่าต้องรอดูผลการศึกษา และข้อดี-ข้อเสียให้แน่ชัดก่อน
ในช่วงท้ายก่อนที่ รมว. คลัง ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “การจะตัดสินใจอะไร ก็ต้องดูเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมทั้งนั้น” ก่อนที่จะเดินฝ่าวงสื่อไป โดยไม่ได้ตอบคำถามที่มีสื่อตั้งข้อสงสัยว่าการปรับขึ้นภาษีในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบุคคลทั่วไปอย่างไร?
อ้างอิง : Youtube กรุงเทพธุรกิจ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ภาษี VAT ทำไมต้อง 7% ประชาชนไทย ไม่จ่ายได้ไหม
- ครม. เลื่อนเก็บภาษี VAT สินค้านำเข้า ราคาต่ำกว่า 1500 บาท ถึง 31 ธ.ค. 68
- ไฟเขียว แจกเงิน 9,000 บาทต่อครัวเรือน เยียวยาน้ำท่วมภาคใต้ 6 จังหวัด