การเงินเศรษฐกิจ

สปส. จ่อเพิ่มเพดานค่าจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 เพิ่มเงินสมทบ-สิทธิประโยชน์

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เตรียมตัว สปส. เล็งเพิ่มเพดานค่าจ้าง จ่ายเงินประกันตนเพิ่ม 875-1,150 บาท ต่อเดือน เพิ่มสิทธิประโยชน์ เริ่มใช้ 1 ม.ค. 69

วานนี้ (1 ธ.ค.) เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเพดานค่าจ้างเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน มาตรา 33 ตามกรณีดังนี้ เจ็บป่วย, ว่างงาน, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เงินบำนาญชราภาพ (15 ปี – 25 ปี) และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ขณะที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายค่าประกันสังคมเพิ่มแบบขั้นบันไดเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

Advertisements

เหตุผลของการปรับเพดานค่าจ้างข้างต้นนั้น มาจากกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. 38 โดยค่าแรงขั้นต่ำรายวันสูงสุดขณะนั้นคือ 135 บาท ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงต้องมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุน

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงอันใหม่นี้จะเริ่มบังใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป โดยค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานการคำนวณเงินสมทบของแต่ละคนจะกำหนดขั้นต่ำ-สูงใหม่ตามดังนี้

  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

ทั้งนี้ผู้มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือนยังสามารถส่งเงินสมทบเท่าเดิมหรือ 750 บาทต่อเดือนได้ ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ

เพิ่มเพดานค่าจ้าง ประกันสังคม

ตารางเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ “ปรับเพดานค่าจ้าง”

สิทธิประกันสังคม 2567 (ปัจจุบัน) : จ่ายสูงสุด 750 บาท/เดือน

Advertisements
  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 7,500 บาทต่อเดือน (250 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 45,000 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 22,500 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 7,500 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 90,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 7,500 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ : กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 3,000 บาทต่อเดือน – กรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 5,250 บาทต่อเดือน

สิทธิประกันสังคม 2569-2571 : จ่ายสูงสุด 875 บาท/เดือน

  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 8,750 บาทต่อเดือน (291 บาทต่อวัน สูงสุด 180 รวม 52,500 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 26,250 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 8,750 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 105,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 8,750 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ : กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 3,500 บาทต่อเดือน – กรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 6,125 บาทต่อเดือน

สิทธิประกันสังคม 2572-2574 : จ่ายสูงสุด 1,000 บาท/เดือน

  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 10,000 บาทต่อเดือน (333 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 60,000 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 30,000 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 10,000 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 120,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 10,000 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ : กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,000 บาทต่อเดือน – กรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 7,000 บาทต่อเดือน

สิทธิประกันสังคม 2575 ขึ้นไป : จ่ายสูงสุด 1,150 บาท/เดือน

  • เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วย 11,500 บาทต่อเดือน (383 บาทต่อวัน สูงสุด 180 วัน รวม 69,000 บาท)
  • เงินสงเคราะห์คลอดบุตร 34,500 บาทต่อครั้ง
  • เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 11,500 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 138,000 บาท
  • เงินทดแทนกรณีว่างงาน 11,500 บาทต่อเดือน
  • เงินบำนาญ กรณีส่งเงินสมทบ 15 ปี 4,600 บาทต่อเดือน – กรณีส่งเงินสมทบ 25 ปี 8,050 บาทต่อเดือน
ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button