การเงินเศรษฐกิจ

ถกสนั่น กินข้าวมื้อละ 1000 บาท ต้องมีรายได้เท่าไหร่ หรือคนไทยรวย?

สาวแชร์ประสบการณ์ กินข้าวมื้อละ 1,000 บาท ชี้ราคาสูง ทำใจจ่ายไม่ได้ ตั้งข้อสงสัยคนไทยต้องรวยแค่ไหน มีรายได้เท่าไหร่ถึงกินได้แบบไม่สะเทือนกระเป๋า ด้านชาวเน็ตช่วยแนะวิธีจัดสรรเงิน

เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น หลังผู้ใช้พันทิปรายหนึ่งตั้งกระทู้ คนไทยกินหรูอยู่แพงเป็นเรื่องปกติหรือไม่ พร้อมข้อสงสัยคนกินอาหารมื้อละ 1,000 บาทขึ้นไป ต้องมีรายได้เท่าไหร่? โดยระบุข้อความว่า “คนกินอาหาร 1,000++ บาท ขึ้นไปเป็นเรื่องปกติ เค้าต้องรายได้ประมาณเท่าไรคะ”

Advertisements

เจ้าตัวแชร์ประสบการณ์ของชาวเน็ตที่เคยทานอาหารมื้อละ 1,000 บาท ซึ่งรับประทานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รวมทั้งสามารถเข้าไปทานอาหารในร้านที่มีราคาประมาณ 1 พันบาทได้เป็นไม่กังวล เป็นไลฟ์สไตล์ทั่วไป

เธอจึงเกิดข้อสงสัยว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมการกินเช่นนี้ต้องมีรายได้ประมาณเท่าไหร่ และต้องแบ่งเงินเดือนเป็นค่าอาหารจำนวนกี่บาท อีกทั้งฝากคำถามว่า ผู้ที่มีรายได้เท่านี้กินอาหารมื้อละ 1,000 บ่อยแค่ไหน เนื่องจากตนเองก็ชอบกินร้านอร่อยเช่นเดียวกัน แต่ทำใจกับราคาอาหารมื้อละ 1 พันบาทไม่ได้

ทั้งนี้ เธอเองก็เคยรับประทานอาหารที่เป็นคอร์ส อาหารฟิวชั่น หรืออาหารโรงแรมห้าดาว แต่จะทานแค่นาน ๆ ครั้ง อีกทั้งเป็นมื้ออาหารที่ไม่ได้จ่ายเอง จึงอยากทราบว่าอาหารมื้อละ 1,000 บาท กับ 500 บาท ต่างกันมากไหม หากจะเทียบเกรดร้านแบบไม่รวมที่ขายบรรยากาศ

เจ้าของกระทู้ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันค่าอาหารทานคนเดียวรวม 10,000 บาทต่อเดือน รู้สึกว่าราคาสูงมาก เฉลี่ยค่าอาหารหนึ่งวันไม่ต่ำกว่า 300 – 400 บาท หรือบางครั้งสูงถึง 500 บาท ทั้งที่สั่งอาหารทางแอปฯ และไม่ได้ทานอาหารที่เป็นพิเศษ เธอจึงอยากทานอาหารในราคาที่ต่ำกว่านี้ แล้วนำส่วนต่างจากมื้ออาหารที่ลดลงไปทบเพิ่มมื้อละ 1,000 บาท เผื่อจะได้ความรู้สึกว่าอาหารเป็นมื้อพิเศษ

อย่างไรก็ตาม เธอยกตัวอย่างว่าคนไทยคนอื่น ๆ น่าจะพบปัญหาเรื่องราคาอาหารแพงเช่นเดียวกัน หรือคนไทยนั้นมีกินมีใช้ มีฐานะดีกันเป็นจำนวนมาก

Advertisements
ชาวเน็ตสงสัยคนใช้จ่ายค่าอาหาร 1000 บาทขึ้นไป มีรายได้เท่าไหร่
ภาพจาก : pantip

หลังกระทู้ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปได้ไม่นาน มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นกันในมุมมองที่หลากหลาย เช่น ผู้ใช้พันทิปรายหนึ่งเข้ามายกตัวอย่างการคิดราคาค่ามื้ออาหาร “สมมติ วันละ 1,000 บาท x 30 วัน = 30,000 บาทต่อเดือน (เฉพาะค่าอาหารเท่านั้น) การที่เราสามารถใช้จ่ายในระดับนี้ได้โดยไม่กระทบกับการใช้จ่ายด้านอื่น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าครองชีพ หรือเงินออม คงต้องมีรายได้ที่มากพอสมควร เพราะการใช้จ่ายในระดับนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายสูงมากในหนึ่งเดือน

หากกำหนดว่าใช้เงิน 30,000 บาทต่อเดือนสำหรับอาหาร: ถ้าเราใช้ประมาณ 30% ของรายได้ ไปกับค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร (ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลสำหรับคนที่มีรายได้สูง) รายได้ที่ควรจะมีอย่างน้อยจะอยู่ที่ 100,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน (ก่อนหักภาษี)

ถ้าจะให้ความสะดวกสบายจริง ๆ และไม่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีปัญหา เช่น คนที่ใช้จ่าย 30,000 บาทต่อเดือนในเรื่องอาหารทุกวันน่าจะมีรายได้ประมาณ 120,000 – 150,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการใช้จ่าย

ถ้าเราคำนวณค่าอาหารเฉพาะจากการกินมื้อละ 1,000 บาท ทุกวัน 3 มื้อ ใน 1 เดือนต้องเสียค่าใช้จ่าย 90,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สมเหตุสมผลสำหรับคนที่มีรายได้สูง ทั้งนี้รายได้ที่ควรจะมีจะต้องประมาณ 300,000 บาทต่อเดือน (ก่อนหักภาษี)
ถ้ารายได้ต่ำกว่านี้ การใช้จ่ายในระดับนี้จะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และ อาจทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เช่น ที่อยู่อาศัย การออม หรือการลงทุนในด้านอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายสำหรับอาหาร 3 มื้อต่อวัน รวมเป็นเงิน 90,000 บาทต่อเดือน ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั่วไปของคนในสังคมไทย หากมีรายได้ 300,000 บาทต่อเดือน การจัดสรรเงินอย่างรอบคอบยังช่วยให้มีเงินเหลือสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าครองชีพ ค่าประกันสุขภาพ หรือเงินออม

ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความเห็น - 1
ภาพจาก : pantip

ในขณะที่ผู้ใช้งานพันทิปอีกรายหนึ่งออกมาให้แชร์ประสบการณ์การจ่ายเงินค่าอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 2 เหตุผล ได้แก่

1. การรับประทานอาหารตามงานต่าง ๆ โดยสามารถเบิกเงินกับหน่วยงานได้ มักนัดคู่เจรจาตามร้านอาหาร หรือคาเฟ่ พร้อมยกตัวอย่างว่าเขาเคยรับประทานอาหารจำนวน 6 คน ได้รับส่วนลด 50% เป็นจำนวนเงิน 7,700 บาท เมื่อหารกับเพื่อน ๆ แล้ว ตกคนละ 1,000 กว่าบาท

2. การจ่ายค่าอาหารด้วยเงินตัวเอง ซึ่งเขาเคยไปทานอาหารกับคนรู้จักเดือนละครั้ง เฉลี่ยแล้วจ่ายเพียงคนละพันกว่าบาท ส่วนเรื่องของรายได้นั้นเขาได้รับประมาณ 100,000 บาท

สำหรับประโยคที่เจ้าของกระทู้กล่าวว่า “พอดีตนเองก็ชอบกินร้านอร่อยนะแต่ทำใจกับราคา 1,000+ บาทไม่ได้เลยค่ะ”

เขาเคยประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ในช่วงที่เขามีเงินเดือนไม่มากก็รู้สึกเสียดายเงินค่าอาหารที่มีราคาสูงเช่นเดียวกัน ทำใจไม่ได้ และเสียดายเงิน พร้อมทั้งแนะนำว่าหากวันหนึ่งเจ้าของกระทู้มีรายได้ 7-5 หมื่นบาท อาจอยากให้รางวัลกับตัวเอง ทานอาหารที่มีราคาสูงครั้งละ 3-4 เดือน จะไม่ได้รู้สึกว่าราคาสูงจนเกินไป ทั้งนี้สำหรับประเด็น ราคาอาหารที่รู้สึกว่าแพงนั้นอยู่ที่รายได้หรือรายรับ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button