สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

ยาคูลท์ เฉลยเอง ดื่มแบบไหนดีที่สุด

ใครเป็นแฟนยาคูลท์ต้องรู้ บริษัทผู้ผลิตในญี่ปุ่น ออกมาเฉลยวิธีดื่มที่ถูกต้องแล้ว “เปิดฝา” หรือ “เจาะรู” ดื่มวันละกี่ขวด

บริษัทยาคูลท์ในญี่ปุ่น ได้ให้คำตอบอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีการดื่มยาคูลท์ที่ถูกต้อง โดยชี้แจงว่าไม่ควรใช้วิธีการเจาะรูฝาขวด เนื่องจากการเจาะรูอาจทำให้มือและปากได้รับบาดเจ็บจากฝาฟอยล์ แนะนำว่าควรดื่มโดยการเปิดฝาฟอยล์แทน โดยเริ่มจากพับขอบฟอยล์ให้เรียบ แล้วดึงฝาออกเพื่อให้สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัยและราบรื่น

Advertisements

นอกจากนี้ “Yakult Thailand” ยังเคยโพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊กว่า ขวดทรงคอดของยาคูลท์ถูกออกแบบให้สามารถยกดื่มได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้หลอด จึงแนะนำให้ผู้บริโภคดื่มโดยการเปิดฝาและยกดื่มโดยตรง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ต้องการหลอดดื่ม ก็สามารถขอรับบริการจาก “สาวยาคูลท์” ได้เช่นกัน

การดื่มยาคูลท์ในปริมาณที่พอเหมาะเป็นประจำจึงอาจมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ลำไส้ทำงานได้อย่างราบรื่น ซึ่งผู้ผลิตแนะนำว่า ดื่มเพียงวันละ 1 ขวดก็เพียงพอ

สำหรับ ยาคูลท์ 1 ขวด ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ และมีน้ำตาลประมาณ 3.5 ช้อนชา สำหรับใครที่กลัวอ้วนแนะนำให้ลอง ยาคูลท์ไลท์ ซึ่งเป็นสูตรใหม่ที่ให้พลังงานเพียง 35 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาลแค่ครึ่งช้อนชาเท่านั้น

“ยาคูลท์ขอขอบคุณลูกค้าทุก ๆ คน ที่ร่วมมือร่วมใจลดใช้หลอด”
ภาพจากเพจ Yakult Thailand

ประโยชน์ของยาคูลท์

ยาคูลท์มีประโยชน์หลัก ๆ ต่อระบบทางเดินอาหารและสุขภาพลำไส้ เนื่องจากมีแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า (Lactobacillus casei Shirota) ซึ่งเป็นโปรไบโอติกชนิดหนึ่งที่มีส่วนช่วย ดังนี้

Advertisements

1.ช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โปรไบโอติกในยาคูลท์สามารถเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ช่วยในการย่อยอาหาร และปรับสมดุลจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับถ่าย ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้นและลดอาการท้องผูกได้

2.เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคและป้องกันการติดเชื้อได้ดีขึ้น

ยาคุลท์ แบบออริจินิล และไลท์
ภาพจากเพจ Yakult Thailand

3.ลดการอักเสบในลำไส้ โปรไบโอติกในยาคูลท์มีส่วนช่วยลดการอักเสบในลำไส้ โดยช่วยให้แบคทีเรียที่ดีเติบโตและควบคุมจำนวนแบคทีเรียที่ไม่ดี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร

4.ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า โปรไบโอติกมีผลช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

อ้างอิง: yakultthailand.com, ettoday.net

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

New Nidhikant

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button