การเงินเศรษฐกิจ

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 ใช้ยื่นปี 68 เช็กเอกสาร-สถานที่ยื่น

รวมรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เพื่อใช้ยื่นช่วงต้นปี 2568 ต้องใช้เอกสารใดบ้าง พร้อมเอกสารการยื่นใช้สิทธิ และสถานที่ยื่นเอกสาร

ใกล้สิ้นปีแบบนี้ พนักงานประจำและมนุษย์เงินเดือนเตรียมตัวยื่นภาษีกันหรือยัง? สำหรับ “รายการลดหย่อนภาษี 2567” เป็นการช่วยวางแผนภาษี เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ซึ่งจะมีสิทธิลดหย่อนภาษีใดบ้าง และมีวิธีการยื่นแบบอย่างไร ทีมงาน The Thaiger ได้เตรียมเทคนิคการยื่นลดหย่อนภาษีครบจบในที่เดียว รับรองว่ายื่นภาษีต้นปี 2568 ที่จะถึงนี้ สบายใจหายห่วงแน่นอน

Advertisements

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 ยื่นปี 2568 มีอะไรบ้าง

หากคุณต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่รู้ว่ามีรายการใดบ้างที่จะประหยัดภาษีได้มากขึ้นวันนี้เราได้รวบรวมเทคนิคลดหย่อนภาษี 2567 ดี ๆ ผ่านรายการลดหย่อนทั้ง 4 กลุ่มเอาไว้ให้แล้ว ได้แก่

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

การยื่นลดหย่อนภาษีนั้นจะได้จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานะภาพ ตามรายละเอียดดังนี้

  • ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท

เงื่อนไขนี้ใช้ได้กับบุคคลสัญชาติไทยทุกสถานะภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะโสด, แต่งงานแบบจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้จดทะเบียน

  • ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท

สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้จึงจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี

  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท

สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับภรรยาที่มีเงินได้ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

Advertisements
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อน 30,000 บาท

สิทธิสำหรับครอบครัวที่มีบุตร ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน กรณีของบุตรบุญธรรมสามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน ตามเงื่อนไขนี้

  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • ถ้าอายุ 21 – 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี

หากบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส

ผู้ที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และผู้ปกครองมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30,000 ต่อคน และสิทธินี้ครอบคลุมไปถึงพ่อและแม่ของคู่สมรส

  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ

กรณีที่ต้องดูแลผู้พิการที่บ้านไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ หรือลูก ใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่ผู้พิการหรือทุพพลภาพต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท และต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นหลักฐานว่าเป็นผู้อุปการะ

2. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

สิทธิลดหย่อนภาษีกลุ่มดังกล่าว ผู้สนใจใช้สิทธิต้องซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือสมทบทุนในกองทุนที่รัฐกำหนด ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • เงินประกันสังคม

เงินประกันสังคมสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์

เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ได้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อซื้อประกันที่มีแผนกรมธรรม์คุ้มครองระยะเวลาเกิน 10 ปีขึ้นไป และต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขจะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ

เบี้ยประกันสุขภาพใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ แล้วจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา

ผู้ที่ทำประกันให้ผู้ปกครองใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และบิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
ผู้ที่สนใจทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือซื้อหุ้นกลุ่มดังกล่าวตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  • กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

กองทุนความยั่งยืน ESG สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund)

กองทุน RMF ให้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณ

  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds)

ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท แต่มีข้อแม้ว่าเพื่อน ๆ ต้องถือหน่วยลงทุนของ SSF เกินกว่า 10 ปีขึ้นไปถึงจะใช้สิทธิลดภาษีได้ และกองทุน SSF สามารถนำค่าซื้อมาหักลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 – 2567 อย่างไรก็ดีหลังจากปี 2567 ต้องติดตามต่อไปว่าจะได้รับการขยายเวลาต่ออายุการใช้สิทธิลดหย่อนหรือไม่

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

พนักงานบริษัทเอกชน หรือครูเอกชนที่ได้ทำกองทุนไว้ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)

ข้าราชการต้องจ่ายเงินกบข. เป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว ขอลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

สำหรับฟรีแลนซ์ พ่อค้าและแม่ค้า ที่ไม่มีกองทุนเหมือนกับสาขาอาชีพอื่น สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้พึงประเมิน ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท สามารถใช้สิทธิดังกล่าวควบคู่ไปกับเบี้ยประกันรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วย เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

เงินบริจาค 3 ประเภทที่อยู่ในเกณฑ์ลดหย่อนภาษี ได้แก่ เงินบริจาคทั่วไป เงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ และเงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง

  • เงินบริจาคทั่วไป

ผู้ที่เคยบริจาคเงินให้กับวัดหรือมูลนิธิต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินที่หลังหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนในกลุ่มอื่น

  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ

เงินบริจาคที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง

ผู้ที่เคยบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงสูงสุด 10,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

สำหรับบุคคลที่กำลังผ่อนบ้านอยู่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ตามรายละเอียดนี้

  • Easy E-Recipt

สายช้อปปิ้งใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 50,000 บาทต่อคน แต่ก่อนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต้องตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมรายการก่อน เพราะไม่ใช่ทุกสินค้ารายการที่เข้าร่วมโครงการฯ

วิธีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคือ หลังจากซื้อสินค้าเสร็จแล้วให้ขอใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบเสร็จจากร้านค้าที่ซื้อสินค้าและบริการในช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2567 เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการรับสิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีที่จะเริ่มในช่วงต้นปี 2568

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย

ผู้ที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามค่าใช้จ่ายจริง ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

ใครไม่ต้องจ่ายภาษี ปี 2567

สำหรับผู้พิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับรายได้ไม่เกิน 190,000 บาท

เอกสารใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

  • ใบเสร็จรับเงินในการซื้อกองทุน ประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์
  • หลักฐานการบริจาคเงิน
  • หนังสือรับรองดอกเบี้ยจากการกู้ยืมของทางธนาคาร

สถานที่สำหรับการยื่นลดหย่อนภาษี

ผู้ที่ต้องยื่นรายการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 สามารถยื่นแบบภาษีได้ 2 แห่ง ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ได้แก่ สำนักงานในห้าง เขตหรืออำเภอ และเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ข้อมูลจาก : krungsricard

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button