เช็กด่วน กลุ่มเปราะบางไม่ได้รับดิจิทัล 10,000 บาท รอบแรก 25 ก.ย. นี้ มีใครบ้าง แนะวิธีเช็กสิทธิและขั้นตอนการแก้ไข ส่วนผู้พิการต้องทำบัตรผู้พิการ หรือต่ออายุบัตร ก่อน 3 ธ.ค. 67
หลังจากรัฐบาลประกาศว่ากลุ่มแรกที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ตคือ กลุ่มเปราะบาง จำนวน 14.5 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้พิการ 2.1 ล้านคน และผู้ที่มีบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 12.4 ล้านคน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับเงินผ่านช่องทางดังนี้ ผู้พิการจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อมีบัตรประจำตัวคนพิการ ส่วนกลุ่มเปราะบางจะต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน โดยจะเป็นบัญชีธนาคารใดก็ได้ โดยไม่ต้องเปิดธนาคารใหม่ ทั้งนี้จะได้รับเงินในช่วง 25 – 30 ก.ย. นี้ แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 4 วัน ได้แก่
- วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 โอนเข้าบัญชีผู้พิการ 2.6 ล้านคน บัตรประชาชนลงท้ายด้วย 0
- วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 ผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรประชาชนลงท้ายด้วยเลข 1, 2, 3
- วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567 ผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรประชาชนลงท้ายด้วยเลข 4, 5, 6, 7
- วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 ผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรประชาชนลงท้ายด้วยเลข 8, 9
ใครเข้าเกณฑ์กลุ่มเปราะบาง ได้รับ 10,000 บาท กลุ่มแรก
ผู้ถือบัตรสวัสดิการ
สำหรับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการหรือบัตรคนจน ที่ได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
กลุ่มที่ 1
- เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
- ไม่ใช่คนพิการที่มีบัตรผู้พิการ
กลุ่มที่ 2
- เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
- บัตรประจำตัวผู้พิการหมดอายุแล้ว
กลุ่มที่ 3
- เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
- ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ แต่ได้รับเบี้ยคนพิการตามสิทธิในแต่ละเดือน
ผู้พิการ
สำหรับกลุ่มผู้พิการที่ได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1
- มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
กลุ่มที่ 2
- มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- มีบัตรประจำตัวผู้พิการ แต่หมดอายุแล้ว
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
กลุ่มที่ 3
- มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ไม่ได้ยืนยันตัวตน
- ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
กลุ่มที่ 4
- ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของ พม.
กลุ่มเปราะบางที่ถูกตัดสิทธิ 10,000 บาท มีใครบ้าง
ก่อนหน้านี้ กรมประชาสัมพันธ์ได้ออกมาประกาศแล้วว่า กลุ่มเปราะบางที่ถูกตัดสิทธิคือ คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และคนที่บัตรประจำตัวผู้พิการหมดอายุ หากผู้พิการยังไม่ได้ลงทะเบียนและต้องการรับเงิน 10,000 บาทในโครงการ ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนหรือต่ออายุบัตรคนพิการให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 3 ธ.ค. 67 มิเช่นนั้นจะถูกสิทธิดดยอัตโนมัติ ถือว่าไม่ประสงค์จัรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต สำหรับผู้พิการที่ต้องการลงทะเบียน ต้องเตรียมเอกสาร และสมัครตามสถานที่ ดังนี้
เอกสารประกอบการสมัคร
1. เอกสารหลักฐานของผู้พิการเอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- บัตรประจําตัวประชาชน
- บัตรประจําตัวข้าราชการ
- สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่า15 ปี
2. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
3. ทะเบียนบ้าน
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
5. เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
6. สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้ เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน
สำหรับผู้ดูแลคนพิการต้องเป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง โดยต้องเตรียมเอกสารยืนยันตัวตน ได้แก่ บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ และทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ
ขั้นตอนการทำบัตรคนพิการ
1. ยื่นคำร้อง
2. ตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริง
3. ถ่ายรูป
4. ตรวจสอบความถูกต้อง
5. จากนั้นได้รับบัตรประจำตัวผู้พิการ
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
1. พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
1.1 ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.2 โรงพยาบาลสิรินธร
1.3 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
1.4 สถาบันราชานุกูล
1.5 โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
1.6 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
1.7 ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
1.8 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
2. ส่วนภูมิภาค ศูนย์บริการคนพิการทุกจังหวัด และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โทร 1300
ทั้งนี้ ผู้พิการสามารถไปดำเนินการได้ที่โรงพยาบาลศูนย์ เพื่อขึ้นทะเบียนออกบัตรประจำตัวคนพิการได้เป็นบริการครบที่จุดเดียว สำหรับบางจังหวัดที่ยังดำเนินการไม่ได้ สามารถไปขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่กระทรวง พม.
ช่องทางตรวจสอบสิทธิ
สำหรับผู้พิการที่มีบีตรประจำตัวคนพิการจะได้รับสิทธิเงินอุดหนุน จำนวน 800 – 1,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งยังได้รับสิทธิอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์ ดังนี้
- เว็บไซต์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- เว็บไซต์ ฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม
- แอปพลิเคชัน รัฐจ่าย โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง