ผู้สมัครตอบสัมภาษณ์ “ให้เจ้านายหรือเพื่อนยืมรถ” โชว์กึ๋นสุดว้าว ได้งานทันที
สุดยอดไหวพริบ ผู้สมัครทั้งหกตอบคำถามสัมภาษณ์สุดปั่น “ให้เจ้านายหรือเพื่อนยืมรถ” คนสุดท้ายได้งานคนเดียว ไม่ใช่เพราะประสบการณ์ แต่เพราะ EQ ระดับเทพ
เว็บไซต์ต่างประเทศ soha เผยว่า เมื่อไม่นานมานี้บนโลกโซเชียลได้มีการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับคำถามสัมภาษณ์งานของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ที่อาจฟังดูเป็นคำถามไร้สาระ แต่จริง ๆ แล้วแผงความหมายลึกซึ้ง โดยในวันนั้นมีผู้สมัครทั้งหมด 6 คน ซึ่งผู้สัมภาษณ์ได้ถามคำถามนี้กัีบพวกเขาทั้งหก ที่ว่า “ถ้าเจ้านายและเพื่อนร่วมงานของคุณขอยืมรถเป็นเวลา 1 วัน คุณจะเลือกให้ใครยืม?”
ผู้สมัครคนแรกแสดงความกระตือรืนร้นด้วยการตอบอย่างรวดเร็วว่า “ผมจะเลือกให้เพื่อนยืม เพราะยังไงเราก็เป็นเพื่อนร่วมงานกันมาหลายปีแล้ว”
ในทางกลับกัน ผู้สมัครคนที่สองเลือกที่จะให้เจ้านายยืม เพราะเขาคิดว่าหลังจากเริ่มทำงาน คนที่สามารถช่วยเขาได้มากที่สุดคือเจ้านาย ไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน
ด้านผู้สมัครคนที่สามครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะตอบว่า “ผมเลือกที่จะไม่ให้ใครยืม การให้ยืมรถในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าให้ยืมไปแล้วไม่มีปัญหาอะไรก็ดีไป แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้น คนที่ได้รับผลกระทบคือเจ้าของรถ ไม่ใช่เพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายของคุณ”
เช่นกับเดียวผู้สมัครคนที่สี่ที่ได้เลือกที่จะไม่ให้ใครยืม โดยเขาให้เหตุผลว่า “การให้เพื่อนร่วมงานยืมรถจะทำให้เจ้านายไม่พอใจ และคงจะไม่เป็นผลดีต่องานในอนาคต แต่หากให้เจ้านายยืมก็จะส่งผลต่อมิตรภาพเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะไม่ให้ใครยืม”
ขณะที่ผู้สมัครคนที่ห้าตอบว่า “การจะให้ใครสักคนยืมรถนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ โดยจะเลือกให้คนที่สนิทกับฉันมากกว่ายืม”
จนมาถึงคนสุดท้าย ผู้สมัครคนที่หกครุ่นคิดอยู่พักใหญ่ ก่อนจะตอบอย่างชัดเจนว่า “ถ้าเป็นผม ก็คงจะดูว่าใครขอยืมรถก่อน ถ้าผมสัญญาว่าจะให้คุณยืม แม้ว่าเจ้านายจะโทรมาขอยืมรถ ผมก็จะอธิบายตามสถานการณ์ และถามเจ้านายว่ามีทางเลือกอื่นหรือไม่ และถ้าเจ้านายโทรมาขอยืมรถก่อน ผมก็จะทำแบบเดียวกัน เพราะผมถือว่าการรักษาสัญญานั้นสำคัญมาก
อย่างไรก็ตาม หากเจ้านายของผมมีปัญหากับผมด้วยเรื่องที่ไม่ได้ยืมรถ นั่นก็แสดงว่าเจ้านายคนนี้ไม่เหมาะที่จะร่วมงานด้วยในระยะยาว ผมจะหางานที่อื่นทำ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเพื่อนของผมตัดสัมพันธ์กับผมเพราะเรื่องนี้ ก็แสดงว่าเพื่อนคนนี้ไม่เหมาะที่จะคบหาในระยะยาว ผมควรเลือกที่จะอยู่ห่าง ๆ”
ทั้งนี้ หลังจากฟังคำตอบของผู้สมัครชายคนนี้ ผู้สัมภาษณ์ก็ชมว่าเขามี EQ สูง และประกาศต่อหน้าทุกคนทันทีว่า เขาคือผู้ถูกเลือกว่าจ้าง เหตุเพราะผู้สัมภาษณ์นั้นไม่ได้เลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติเพียงอย่างเดียว แต่หลักความมีเหตุผล และทัศนคติก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
สำหรับ ‘EQ (Emotional quotient)’ หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ หรือความสามารถในการรับรู้ ควบคุม และจัดการอารมณ์ของตนเองได้อย่างชาญฉลาด และเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- วัดกึ๋น HR เชิญ “นั่งลง” ตอนสัมภาษณ์ แต่ไม่มีเก้าอี้ สาวไหวพริบดีจนได้งาน
- ชื่นชมครูไหวพริบดี! นร.ล้มฟันหลุด 5 ซี่ กลับมาต่อใหม่ได้ เพราะน้ำนม
- สามีไหวพริบดี ตอบคำถามคิดยังไงกับการมีเมียเยอะ ทำภรรยาปลื้มสุด