วงการ K-pop วิกฤติหนัก ดันไม่ไป ค่ายใหญ่หุ้นร่วง ส่วนกระแสจีน-ญี่ปุ่น
จากรุ่งโรจน์สู่ร่วงโรย วงการ เค-ป๊อบ (K-Pop) เกาหลีเริ่มเข้าสู่วิกฤติ กระแสไม่ปังทำบริษัทใหญ่หุ้นร่วง กำไรลด ยอดขายตกในรอบ 3 ปี ศิลปินคลื่นลูกใหม่แทดแทนรุ่นพี่ไม่ได้
ตั้งแต่เข้าปี 2024 จนถึงวันนี้ ราคาหุ้นบริษัทบันเทิง 4 ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ดูจะไม่สู้ดีนัก ทั้ง HYBE ราคาหุ้นตกลง 32.09%, SM Entertainment ราคาหุ้นตกลง 37.73%, YG Entertainment ราคาหุ้นตกลง 32.07%, JYP Entertainment ราคาหุ้นตกลง 55.42% ราคาหุ้นที่ลดลง ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทลดลงตาม และเป็นเหมือนสัญญาณเตือนไปยังธุรกิจ K-Pop กำลังเข้าสู่ขาลง คำกล่าวที่ว่ายุครุ่งเรืองของวงการ K-Pop เกาหลีได้ผ่านพ้นไปแล้ว
K-Pop เริ่มซบเซา
บัง ชี ฮยอก (Bang Si-hyuk) อดีตโปรดิวเซอร์ของ BTS และปัจจุบันเป็นประธานกรรมการของ HYBE เคยคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรม K-Pop อาจจะชะลอตัวลงถึงขั้นหดตัวในอนาคต และดูเหมือนว่าอนาคตที่เขาพูดถึงกำลังเป็นจริงแล้ว หนึ่งในเหตุผลที่เขายกมาคือ การที่ส่วนแบ่งทางการตลาดของ K-Pop ไม่สอดคล้องกับขนาดการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งหมายความว่าบริษัทบันเทิงเกาหลีมีภาระต้นทุนที่สูง โดยการลงทุนในการสร้างศิลปินใหม่และการเดบิวต์ใช้เงินทุนมาก แต่กลับไม่สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอและกำไรที่คุ้มค่าได้
แม้ว่าความนิยมในวัฒนธรรมเกาหลี เช่น ดนตรีและภาพยนตร์ จะเติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่จากข้อมูลของ Bang พบว่าบริษัทบันเทิง K-Pop ยักษ์ใหญ่ครองส่วนแบ่งตลาดในระดับโลกเพียง 2% สำหรับยอดขายแผ่นเสียง อัลบั้ม และการสตรีมมิ่งเพลง อีกทั้งการเติบโตของยอดส่งออกอัลบั้มก็ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากรายงานของศุลกากรเกาหลีใต้
- ปี 2020 การส่งออกอัลบั้มเพลงเติบโต 82.6%
- ปี 2021 การส่งออกอัลบั้มเพลงเติบโต 62.1%
- ปี 2022 การส่งออกอัลบั้มเพลงเติบโต 4.8%?
การหยุดพักของยักษ์ใหญ่ในวงการ K-Pop
สำหรับใครที่ติดตาม K-Pop อาจจะรู้จัก BTS และ BLACKPINK เป็นอย่างดี แต่ช่วงนี้อาจรู้สึกว่าไม่ค่อยได้ยินชื่อหรือผลงานของพวกเขา ซึ่งเกิดจากการหยุดพักของทั้ง 2 วงทั้ว BTS และ BLACKPINK ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระแส K-Pop ลดลง
‘หัวหน้าคิม’ จาก Circle Chart ระบุว่า การหยุดพักของ BTS ที่เกิดจากสมาชิกทั้ง 7 คนต้องเข้ากรมรับใช้ชาติเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้กระแส K-Pop ตกลง BTS เคยเป็นวงที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก มีความนิยมในสหรัฐอเมริกาและติดอันดับ Billboard Hot 100 รวมถึงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Grammy Awards และปรากฏตัวบนเวทีสหประชาชาติ
สำนักข่าวเกาหลี The Korea Times รายงานข่าวว่านอกจากการหยุดพักของวง BTS แล้ว การหยุดพักของวง BLACKPINK ก็มีส่วนทำให้ยอดขายอัลบั้มหรือแม้แต่ความนิยมต่อศิลปินในเวทีโลกตกลงเช่นกัน ในกรณีของ BLACKPINK มีประเด็นการต่อสัญญาวงแต่ไม่ได้ต่อสัญญาศิลปินเดี่ยว ซึ่ง LISA (ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล) หนึ่งในสมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดีก็มีการออกมาตั้งค่ายเพลงของตัวเองในชื่อ LLOUD
ซึ่งในนามของวง BLACKPINK เพลงล่าสุดที่ถูกปล่อยออกมา ‘Pink Venom’ ก็ผ่านมาแล้วกว่า 2 ปี เมื่อพี่ ๆ เบอร์ใหญ่อย่าง BTS และ BLACKPINK หยุดพักการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางบริษัทก็จำเป็นต้องผลักดันวงน้อง ๆ รุ่นใหม่โดยหวังว่าจะให้เจริฐญรอยตามรุ่นพี่ แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นไปตามที่บริษัทต้องการไว้ซักเท่าไหร่
คลื่นลูกใหม่ ทดแทนคลื่นลูกเก่าไม่ได้
“เราตั้งมาตรฐานของเราไว้สูงเกินไป” ’คิม โดฮอน’ (Kim Do-heon,) นักวิจารณ์เพลง เมื่อกระแส K-pop แพร่กระจายไปทั่วโลกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีวงดนตรีน้องใหม่เกิดเรื่อย ๆ มีหลายเพลงขึ้นชาร์ด มีหลายวงสามารถถึงจุดที่จัดคอร์นเสิตในต่างประเทศได้เร็วกว่าตอนที่ BTS เคยทำ แต่ความสำเร็จเหล่านี้กลับไม่ได้ถูกได้รับความสนใจเหมือนตอนที่ BTS หรือ BLACKPINK เคยทำได้ เพราะทั่วโลกเริ่มมีความคิดว่า ‘ก็เป็นเรื่องธรรมดานี่ที่จะทำได้’ ความสำเร็จและความนิยมที่ได้รับกลาบเป็นมาตรฐานที่วง K-pop ต้องทำให้ได้ในสายตาชาวโลก
สถานการณ์ตอนนี้ของวงการ K-pop ในความคิดเห็นของรองศาสตราจารย์ลี ก้ำกึ่งอยู่ระหว่าง ‘ช่วงเปลี่ยนผ่าน-วิกฤติ’ วงน้องใหม่กำลังทำหน้าที่ในการรับช่วงต่อความสำเร็จและความคาดหวังจากวงพี่ ๆ จึงมองว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านได้ แต่จากสถานการณ์ของวงน้องใหม่ตอนนี้ก็ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก
- NewJeans จากค่าย ADOR ค่ายเพลงในเครือ HYBE ออกมาไลฟ์ถึงปมขัดแย้งภายในบริษัทให้คนทั่วโลกฟัง
- BABYMONSTER จากค่าย YG Entertainment ถูกตั้งคำถามจากแฟน ๆ ถึงสไตล์เพลงที่คล้าย BLACKPINK และถูกคาดหวังว่าจะขึ้นมาทดแทนวงรุ่นพี่
- ITZY จากค่าย JYP Entertainment สมาชิกของวงมีปัญหาอาการวิตกกังวลขั้นรุนแรง ตอนนี้กระแสเริ่มเงียบหาย
การแข่งขันจากทั่วโลก
เมื่อเจอความคาดหวังที่ตั้งไว้สูงจากแฟน ๆ ทั่วโลก เพราะมาตรฐานที่วงรุ่นพี่ทำไว้ ยิ่งทำให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่ท้าทายสำหรับวงการ K-pop ไม่เพียงเท่านั้น อุตสาหกรรมศิลปินตอนนี้ K-pop ยังถูกท้าทายอย่างหนักจากบรรดาศิลปินต่าง ๆ รอบเอเชียที่ได้แรงบรรดาลใจจากเกาหลี สำนักข่าว Bloomberg มีการรายงานเรื่องนี้ว่าอุตหสากรรม K-pop กำลังเจอกับวิกฤติทางอัตลักษณ์ (Identity Crisis)
ฟิลิปินส์ มี BINI, Hori7on, ฮ่องกง มี Mirror และประเทศไทย มี 4EVE ทุกประเทศที่ได้รับอิธิพลจาก K-pop ต่าง localization ความ Pop ให้สอดคล้องกับประเทศตนและกลายเป็นวงดนตรีของประเทศนั้น ๆ
ในไม่ช้านี้ ‘กระแสสร้าง Pop’ จะยิ่งแพร่หลายไปทั่วโลกมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากที่ SM Entertainment เตรียมเปิดตัวบอยแบนด์วงแรกในสหราชอาณาจักร ขณะที่ JYP Entertainment จะเริ่มออดิชั่นวงเกิร์ลกรุ๊ปจากลาตินอเมริกา ตอนนี้ศิลปินเกาหลีกำลังจะต้องแข่งกับวงน้องใหม่ในทั่วทุกมุมโลก
อนาคตของ K-pop
นักลงทุนเริ่มรู้สึกท้อแท้จากราคาหุ้นที่ลดลง โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่จะลดลงหรือถึงขั้นขาดทุนในปี 2024 เช่น HYBE จะมีกำไรลดลง 22%, SM Entertainment ลดลง 7%, JYP Entertainment ลดลง 56%, และ YG Entertainment อาจขาดทุนราว 6,600 ล้านวอนนอกจากนี้ ข่าวเสียหายหรือดราม่าของศิลปินและผู้บริหารก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
แม้ว่า K-Pop อาจจะอยู่ในช่วง ‘เปลี่ยนผ่านหรือวิกฤติ’ แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นในอุตสาหกรรม เช่นการกลับมาของ BTS ในปีหน้า, Squid Game SS2 เตรียมฉายทั่วโลกวันที่ 22 ธันวาคมนี้, BTS เตรียมกลับมาพร้อมกันในปีหน้า, และ บง จุนโฮ (ผู้กำกับ Parasite ที่คว้ารางวัลออสการ์) เตรียมฉายหนังเรื่องใหม่ Mickey17 ที่นำแสดงโดย Robert Pattinson ในปีหน้าที่จะถึงนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แบล็คแจ็คพร้อมไหม ‘2NE1’ ประกาศคอนเสิร์ตที่ไทย พบกัน 25 ม.ค. 68
- ‘NewJeans’ เปิดไลฟ์เรียกร้อง HYBE คืนตำแหน่งซีอีโอให้ ‘มินฮีจิน’
- สุดยิ่งใหญ่ ‘ลิซ่า’ คว้ารางวัล Best K-Pop จาก MTV VMAs 2024 เป็นครั้งที่ 2
อ้างอิง : npr