วิธีโหวตเลือกนายก คนที่ 31 สภาโหวต อุ๊งอิ๊ง กุมชะตาประเทศ
เกมการเมืองเปลี่ยนทันที หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5-4 ให้นายเศรษฐา ทวีสินพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ สิ้นสุด 358 วัน บริหารประเทศ และแน่นอนแล้วว่า ภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี เลือกไม่ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แต่ใช้วิธีเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ผ่านสภาผู้แทนราษฎร
ขั้นตอนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังเศรษฐาพ้นตำแหน่ง แบบเข้าใจง่าย
สถานที่: ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. 2567 เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป
เริ่มต้น พรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อย่างน้อย 25 คน สามารถเสนอชื่อคนอยากให้เป็นนายกฯ ได้ แต่ต้องเป็นชื่อที่พรรคเคยประกาศไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งแต่ละพรรคจะมีรายชื่อไม่เกิน 3 คน พรรคเพื่อไทยมีมติออกมาแล้วว่าจะส่งชื่อ แพทองธาร ชินวัตร ลงชิงเก้าอี้
ส่วนพรรคอื่นๆ ที่เข้าเกฑณ์ มีแคนดิเดตที่ส่งแข่งได้ดังนี้
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคพรรคภูมิใจไทย
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี
- พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรคพรรครวมไทยสร้างชาติ
- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพรรคพลังประชารัฐ
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ที่สำคัญ คนที่ถูกเสนอชื่อต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่เคยติดคุก หรือไม่เคยทำผิดกฎหมายร้ายแรง เป็นต้น
เมื่อพรรคต่างๆ เสนอชื่อแล้ว ก็ต้องมี ส.ส. อย่างน้อย 50 คน (ประมาณ 1 ใน 10 ของ ส.ส. ทั้งหมด) รับรองการเสนอชื่อนั้น เพื่อให้แน่ใจว่ามีคนสนับสนุนจริงๆ
หลังจากนั้น สภาผู้แทนราษฎรจะลงคะแนนเสียงเลือกนายกฯ โดยเรียกชื่อ ส.ส. ทีละคนให้ออกเสียง เป็นการลงคะแนนแบบเปิดเผย ไม่ใช่การลงคะแนนลับ
ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด ปัจจุบันมี ส.ส. 493 คน ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนายกฯ ต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อย 248 เสียง
กระบวนการนี้อาจต้องทำหลายรอบหากไม่มีใครได้คะแนนถึงเกณฑ์ในรอบแรก หากท่าทีของคะแนนเสียงไม่มีวี่แววชัดเจน มีการเจรจาต่อรองระหว่างพรรคต่างๆ เพื่อหาเสียงสนับสนุนให้ได้มากพอ
ที่น่าสนใจคือ ในการเลือกครั้งนี้ มีหลายพรรคที่มีสิทธิเสนอชื่อ เช่น พรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ และประชาธิปัตย์ ซึ่งแต่ละพรรคก็มีตัวเลือกที่แตกต่างกันไป หลายคนเก็งกว่า อนุทิน ชาญวีรกูล มีโอกาสสูงเป็นนายกรัฐมนตรคนต่อไป
สุดท้าย การเลือกนายกรัฐมนตรีนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะเป็นการตัดสินว่าใครจะมาเป็นผู้นำประเทศ ดังนั้นประชาชนควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เข้าใจว่าใครจะมาเป็นผู้นำประเทศและมีนโยบายอย่างไรในการบริหารประเทศต่อไป
เสียง สส. ที่โหวตได้ แบ่งตามพรรคร่วมรัฐบาล VS ฝ่ายค้าน
พรรครัฐบาล มี 314 เสียง
- พรรคเพื่อไทย 141 คน
- พรรคภูมิใจไทย 70 คน
- พรรคพลังประชารัฐ 40 คน
- พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 คน
- พรรคชาติไทยพัฒนา 10 คน
- พรรคประชาชาติ 9 คน
- พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 คน
- พรรคชาติพัฒนากล้า 3 คน
- พรรคท้องที่ไทย 1 คน
- พรรคเสรีรวมไทย 1 คน
- พรรคพลังสังคมใหม่ 1 คน
พรรคฝ่ายค้าน มี 179 เสียง
- พรรคประชาชน 143 คน
- พรรคประชาธิปัตย์ 25 คน
- พรรคไทยสร้างไทย 6 คน
- พรรคเป็นธรรม 1 คน
- พรรคใหม่ 1 คน
- พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน
- พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า 1 คน
- พรรคไทยก้าวหน้า 1 คน
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ สส.พรรคประชาชน ได้แถลงชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีส่วนร่วมโหวตชัยเกษม นิติสิริ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล จะขอทำหน้าที่เป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน
นั่นหมายความว่า หากต้องการให้ชัยเกษมเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 พรรคเพื่อไทยต้องหาเสียงมาเติมอีก 107 เสียง แน่ๆ แล้วจะได้ 40 เสียงจากพรรคพลังประชารัฐที่ยืนยันว่า จะโหวตตามที่พรรคเพื่อไทยเสนอ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง