เปิดประวัติ 9 ตุลาการศาลรธน. ถอดถอน “เศรษฐา” พ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
เปิดประวัติ 9 ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ผู้วินิจฉัย “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึง ครม. ทั้งคณะ หลังแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรมต. สำนักนายกฯ
จากคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 5-4 เสียง ถอดถอน นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งคณะให้พ้นจากตำแหน่งอีกเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า นายเศรษฐา ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160(5)
คำวินิจฉัยดังกล่าว สืบเนื่องจากกรณี 40 สว. ยื่นคำร้องคดีขาดคุณสมบัตินายกฯ ผ่านประธานวุฒิสภา ปมแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า “พิชิต” ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดศาล (คดีหิ้วถุงขนม 2 ล้านบาท) เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
รายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน คดีถอดถอนเศรษฐา มีดังนี้
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม 2501
ประวัติการศึกษา
- รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง
- อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชาประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- PH.D. (INTERNATIONAL STUDIES) WASEDA UNIVERSITY,ประเทศญี่ปุ่น
ตำแหน่งทางวิชาการ
- ศาสตราจารย์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
ประสบการณ์การทำงานในอดีตที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
- 2557 – 2558 กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- 2549 – 2550 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2558
- รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 15 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 14 กันยายน 2554
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ถึง วันที่ 31 มกราคม 2553 (2 สมัย)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายปัญญา อุดชาชน
นายปัญญา อุดชาชน เกิดวันที่ 15 เมษายน 2499
ประวัติการศึกษา
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
- นิติศาสตรบัณฑิต
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน)
- M.A. (Public Administration), Detroit, Michigan, U.S.A.
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws)
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Justice Administration)
ประวัติการรับราชการ
- ปลัดอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กระทรวงมหาดไทย
- เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทย
- นักวิชาการปกครอง กรมการปกครอง
- หัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้ง กรมการปกครอง
- ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาพฤติกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการปกครอง
- ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง
- หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- หัวหน้ากลุ่มงานคดี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายคดีและฝ่ายบริหาร)
- ที่ปรึกษาด้านวิชาการ (นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ 11 ชช.)
- เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (นักบริหารศาลรัฐธรรมนูญ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน 2497
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ.2517)
- เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 28 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ.2518)
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2525)
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพเรือ (25 มีนาคม 2519 – 30 กันยายน 2524)
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุ่งสง และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่สอด ศาลจังหวัดพิษณุโลก และศาลจังหวัดนครสวรรค์ (1 ตุลาคม 2524 – 31 ตุลาคม 2534)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครสวรรค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลังสวน ศาลจังหวัดอุทัยธานี และศาลจังหวัดกำแพงเพชร (1 พฤศจิกายน 2534 – 10 เมษายน 2540)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา (11 เมษายน 2540 – 2 มิถุนายน 2542)
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6 (3 มิถุนายน 2542 – 1 ตุลาคม 2549 )
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ( 2 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550)
- ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 5 และประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 3 (1 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2552)
- รองประธานศาลอุทธรณ์ (1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2554)
- อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖)
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557)
- ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 (1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2559)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2561)
- ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2561 – 25 กุมภาพันธ์ 2563)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายวิรุฬห์ แสงเทียน
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 27 พศจิการยน 2494
ประวัติการศึกษา
จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2560)
- รองประธานศาลฎีกา (1 ตุลาคม 2558)
- ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา (1ตุลาคม 2556)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม 2544)
- มหาวชิรมงกุฎ (5 ธันวาคม 2540)
นายจิรนิติ หะวานนท์
นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2496
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย (ลำดับที่ 1 สมัย 28) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- LL.M. (Master of Law, Harvard University)
- M.C.L. (Master of Comparative Law, George Washington University)
- S.J.D. (Doctor of Juridical Science, George Washington University)
ตำแหน่งทางวิชาการ
- ศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น
- ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
- ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง
- เลขานุการศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
- ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2
- ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
- กรรมการกฤษฎีกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เหรียญพระราชทาน
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5
นายนภดล เทพพิทักษ์
นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 3 ธันวาคม 2499
ประวัติการศึกษา
- รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations)
- Northern Illinois University (Fulbright Scholarship)
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- ผู้อำนวยการกอง กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก (2540)
- อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ (2542)
- รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา (2546)
- เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร (2549)
- เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน (2553)
- รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (2558)
- เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ (2558)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 14 สิงหาคม 2495
ประวัติการศึกษา
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น
- ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
- ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
นายอุดม รัฐอมฤต
นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2502
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2524)
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2531)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (Diplôme Supérieur d’Université) มหาวิทยาลัย Paris II ประเทศฝรั่งเศส (2532)
- ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมายอาญา (Diplôme d’études approfondies et Doctorat en Droit Pénal) มหาวิทยาลัย Nancy II ประเทศฝรั่งเศส (2536)
ตำแหน่งทางวิชาการ
- ศาสตราจารย์ประจำในสาขากฎหมายวิธีสบัญญัติ
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2547 – 2559)
- กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) (2558 – 2561)
- คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2559 – 2562)
- กรรมการกฤษฎีกา (2561 – 2565)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (2563)
นายสุเมธ รอยกุลเจริญ
นายสุเมธ รอยกุลเจริญ เกิดวันที่ 16 กันยายน 2498
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
- อัยการจังหวัดประจำกรม ปฏิบัติราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัด สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน (สคช) จังหวัดกาญจนบุรี
- อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง ๖ (ธนบุรี)
- ตุลาการศาลปกครองกลาง
- ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองขอนแก่น
- รองอธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก
- รองอธิบดีศาลปกครองกลาง
- อธิบดีศาลปกครองนครศรีธรรมราช
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
- ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
- ประธานแผนกคดีวินัยการคลังและงบประมาณในศาลปกครองสูงสุด
- รองประธานศาลปกครองสูงสุด
ประวัติอื่น ๆ
- ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป)
- ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
- ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยนเรศวร
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- อาจารย์พิเศษวิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ
- เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 (23 ก.ย. 2530)
- มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (5 ธ.ค. 2547)
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (5 ธ.ค. 2550)
- เหรียญจักรพรรดิมาลา (5 ธ.ค. 2552)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง