การเงินเศรษฐกิจ

รู้ก่อนซื้อ พันธบัตรออมทรัพย์ 2567 ขายวันแรก ผ่านแอปเป๋าตัง ดอกเบี้ยสูง

พันธบัตรออมทรัพย์ 2567 แอปเป๋าตัง เปิดขายวันแรกแล้ว 13 สิงหาคม2567 ดอกเบี้ยสูงสุด 3.40 เปอร์เซนต์ต่อปี จองซื้อขั้นต่ำเพียง 100 บาท

เปิดจำหน่ายเป็นวันแรก ไปตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้าที่ผ่านมา สำหรับ พันธบัตรออมทรัพย์ 2567 ของกระทรวงการคลัง ปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 2 วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาทเงื่อนไขผู้ที่สามารถซื้อพนะบัตรดังกล่าวนั้น ต้องเป็นบุคคลธรรมดาผู้ถือสัญชาติหรือมีถิ่นที่อยู่ในไทย

Advertisements

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) คือ “ตราสารหนี้” ชนิดหนึ่ง ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเงินไประดมทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือจ่ายคืนหนี้ของรัฐ ลักษณะการลงทุนไม่ซับซ้อนเหมือนการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ

ผู้ซื้อจะมีสถานะเสมือนเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ส่วนรัฐบาลมีหน้าที่จ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา เฉลี่ยอยู่ที่ราวปีละ 3%

“พันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2” จะแบ่งจำหน่ายให้กับประชาชนและนิติบุคลที่ไม่แสวงผลกำไร โดยในส่วนของประชาชน วงเงิน 35,000 ล้านบาท จำหน่ายผ่าน 2 ช่องทาง

  • วอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาท
  • ช่องทางต่างๆ ของธนาคารตัวแทนจำหน่าย วงเงิน 25,000 ล้านบาท
พันธบัตรรัฐบาล 2567 ครั้งที่ 2 รายละเอียดเปิดขายวันแรกผานเป๋าตัง
แฟ้มภาพ @ธนาคารแห่งประเทศไทย

รายละเอียดช่องทางการจำหน่าย พันธบัตรออมทรัพย์ 2567 ครั้งที่ 2

1. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง พันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 วงเงิน 10,000 ล้านบาท

รุ่นอายุและผลตอบแทน (จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน)

Advertisements
  • 5 ปี = 3.00% ต่อปี
  • 10 ปี = 3.40% ต่อปี

วันจำหน่าย (เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป) 13 – 30 สิงหาคม 2567

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ : บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

วงเงินขั้นต่ำ – ขั้นสูง : 100 บาท – 50,000,000 บาท (หน่วยละ 100 บาท)

ช่องทางการจำหน่าย : วอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

วิธีการจัดสรร : First-Come, First-Served (มาก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน)

*หมายเหตุ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อลงทะเบียน ยืนยันตัวตนและเติมเงินเข้าวอลเล็ต สบม. ผ่าน Mobile Banking หรือผูกบัญชีธนาคารกรุงไทย รวมถึงเติมเงินด้วย Wallet ID ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

2. การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 ราย จองซื้อได้วันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2567 วงเงิน 25,000 ล้านบาท

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ผู้มีสิทธิ์ซื้อ : บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

รุ่นอายุและผลตอบแทน (จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน)

  • 5 ปี = 3.00% ต่อปี
  • 10 ปี = 3.40% ต่อปี

วงเงินขั้นต่ำ – ขั้นสูง : 1,000 บาท – ไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง (หน่วยละ 1,000 บาท)

ช่องทางการจำหน่าย : Internet Banking Mobile Banking และเคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

วิธีการจัดสรร : Small Lot First (การทยอยจัดสรรฯ)

ช่วงที่ 2 : จำหน่ายวันที่ 26 – 27 สิงหาคม 2567

วงเงิน : 5,000 ล้านบาท ผู้มีสิทธิ์ซื้อ : สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย และไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

รุ่นอายุและผลตอบแทน (จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน)

  • 10 ปี = 3.00% ต่อปี

วงเงินขั้นต่ำ – ขั้นสูง : 1,000 บาท – ไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง (หน่วยละ 1,000 บาท)

ช่องทางการจำหน่าย : เคาน์เตอร์ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

วิธีการจัดสรร : First-Come, First-Served

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชนในช่วงที่ 1 (วันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2567) จะใช้วิธีการจัดสรรพันธบัตรแบบ Small Lot First (ทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย) โดยทวีคูณรอบละ 1,000 บาท

ลำดับในการจองซื้อก่อน-หลัง ไม่มีผลต่อการจัดสรร และในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้ซื้อทุกราย ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายด้วยวิธีการสุ่ม (Random) จนครบวงเงินจำหน่าย

ทั้งนี้ ผู้จองซื้อจะทราบผลการจัดสรรพันธบัตรและได้รับเงินคืน กรณีที่ไม่ได้รับจัดสรรพันธบัตร หรือได้รับจัดสรรไม่ครบตามวงเงินจองซื้อ ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567 (รายละเอียดและเงื่อนไขการจำหน่ายเป็นไปตามเอกสารการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง)

ในส่วนของวงเงินที่จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม. และผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย “จะแยกจากกัน”

ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ทั้ง 2 ช่องทาง โดยประชาชนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนและเอกสารสรุปเงื่อนไขการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ หรือสอบถามได้กับธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 6 แห่ง

สบน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีและขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจลงทุนกับพันธบัตรออมทรัพย์ด้วยดีเสมอมา.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button