ทำความรู้จัก “พระอลักษมี” หรือ “ชเยษฐา” เทวีแห่งความโชคร้าย พี่สาวฝาแฝดของพระลักษมี เปิดตำนาน ข้อแตกต่างระหว่างพระแม่ทั้งสอง พร้อมแนะนำการจัดของถวายและบทสวดบูชา
มีคำกล่าวว่า “ที่ใดมีลักษมี ที่นั่นจะไม่มีอลักษมี” สายมูทุกท่านคงสงสัยกันใช่ไหม ว่าพระอลักษมีคือใคร ต่างจากพระลักษมีอย่างไร วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับพระอลักษมีกันว่า ท่านเป็นใคร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และแน่นอนว่าท่านเป็นเทพ แล้วเราจะขอพรเรื่องอะไร
ประวัติ “พระแม่อลักษมี” ด้านตรงข้าม พระแม่ลักษมี
คำว่าอลักษมี แปลว่า ไม่ใช่ลักษมีหรือตรงข้ามกับลักษมี ประกอบด้วย 2 คำคือ “อะ” มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่าไม่หรือไม่ใช่ และคำว่า “ลักษมี”
พระแม่อลักษมี ตามตำนานมีกล่าวไว้ในคัมภีร์ลิงคปุราณะ เล่าว่า พระแม่เกิดขึ้นจากการกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤตของเหล่าเทพและอสูร ซึ่งทำให้เกิดสิ่งอัปมงคลชั่วร้ายหลายประการ พระแม่อลักษมีจึงเกิดก่อนลักษมี มีศักดิ์เป็นพี่ จึงได้นามว่า “ชเยษฐา” แปลว่า ผู้แก่กว่า เหล่าเทพได้ส่งนางไปอยู่ในถิ่นของคนบาป เพื่อความยากจน และความโศกเศร้าของชนเหล่านั้น ซึ่งในบางความเชื่อก็เชื่อว่าท่านเป็นองค์เดียวกับพระแม่ธูมมาวตี
ลักษณะของพระแม่อลักษมีคือ เปลือยเปล่าไม่สวมเสื้อผ้า ลำตัวเหี่ยวแห้ง แก้มตอบ จมูกยาว อกยานริมฝีปากหนา ตาพอง ถือไม้กวาดอยู่ในมือ ขี่ลา และมีอีกาประดับอยู่บนธง
ข้อแตกต่างระหว่างพระลักษมีและพระอลักษมี
พระแม่อลักษมีจะเป็นตัวแทนของทุกสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพระแม่ลักษมีเสมอ เช่น หากลักษมีเป็นฝน ท่านจะเป็นความแห้งแล้ง หากลักษมีเป็นชัยชนะ ท่านจะเป็นนความพ่ายแพ้ พระแม่อลักษมีความแตกต่างจากพระแม่ลักษมี ดังนี้
– พระแม่ลักษมี ชอบสถานที่สะอาด มักเสด็จไปยังบ้านเรือนที่สำอาดของสาวก ส่วนพระอลักษมีอยู่ในที่สกปรก แหล่งคนชั่ว ความยากจน ความทุกช์ และความเจ็บไข้
– พระแม่ลักษมีประทานพรให้กับสาวกที่หมั่นทำบุญ และบูชา ส่วนอลักษมีจะอยู่กับคนบาป
– พระแม่ลักษมี มีเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม รูปร่างอวบดูอุดมสมบุรณ์ ส่วนพระอลักษมี ไม่สวมอาภรณ์ ลำตัวเหี่ยวแห้ง แก้มตอบ จมูกยาว อกยาน ริมผีปากหนา ตาพอง
– ในมือพระลักษมี ถือดอกบัว โปรยเงิน และอาวุธต่าง ๆ แล้วแต่ปาง ส่วนพระอลักษมีถือไม้กวาด
– พระลักษมีขี่นกฮูก พระอลักษมีขี่ลาและมีอีกาประดับอยู่บนธง
– พระลักษมีโปรดอาหารหรือขนมหวาน ส่วนพระม่อลักษมีโปรดปรายรสเปรี้ยวและเผ็ด
การจัดของถวายพระอลักษมี
ชาวอินเดียเชื่อกันว่า พระแม่อลักษมีมักจะเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ และบ้านเรือนของชาวอินเดีย จัดเครื่องบูชาด้วยอาหารรสหวาน ขนมหวาน ให้กับพระลักษมี และแขวนมะนาวกับพริก ไว้นอกประตูบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้พระแม่อลักษมีเข้าสู่บ้านเรือน
บทสวดบูชาพระอลักษมี
พระแม่อลักษมีเป็นเทวีแห้งความโชคร้าย ที่รวมของสิ่งอัปมงคล โรคร้าย ความยากจน การทะเลาะเบาะแว้ง พระแม่จึงได้รับการบูชาเพื่อป้องกันเหตุร้ายเหล่านั้น
โดยปกติแล้วคนจะไม่นิยมสวดกัน เพราะเมื่อบูชาพระแม่ลักษมีแล้วก็เท่ากับบูชาอลักษมีไปแล้ว ซึ่งมันตราของพระแม่อลักษมี มีชื่อว่า Alakshmi nashana mantra แปลว่า มนต์เพื่อทำลายอลักษมี
จริง ๆ แล้ว การที่พระอลักษมีถือกำเนิดขึ้นมา เป็นเทวีแห่งความโชคร้าย ยากจน ความทุกข์ ก็เพื่อจะย้ำเตื่อนให้คนเราไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หมั่นทำบุญ คิดดี ทำดี และยังคอยเตือนทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะจริง ๆ เมื่อบ้านเรือนสกปรก ก็จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และทำให้เกิดโรคภัยในที่สุดนั่นเองบทบูชาพระแม่อลักษมี
มันตราบูชาพระแม่อลักษมี
อ้างอิง : www.wisdomlib.org/ , กรมศิลปากร, vivaranastory.wordpress.com