การเงินเศรษฐกิจ

เบี้ยคนพิการ เดือนสิงหาคม 2567 กลุ่มเปราะบางได้เงินวันไหน เงื่อนไขจ่ายตามอายุ

กางปฏิทินโอนเงินกลุ่มเปราะบาง เบี้ยคนพิการ ประจำเดือนสิงหาคม 2567 เงินเข้าวันไหน ได้เงินกี่บาท เงื่อนไขจ่ายตามเกณฑ์อายุ

กรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีผู้ได้รับสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง (เบี้ยผู้พิการ – เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ – เงินอุดหนุนบุตร) ในวันที่ 10 ของทุกเดือน แต่หากวันที่สิบตรงกับวันหยุดใด ๆ ก็จะทำการโอนให้ล่วงหน้า สำหรับในเดือนสิงหาคม เบี้ยผู้พิการจะโอนเข้าบัญชี ในวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567

Advertisements

อ้างอิงจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ คนพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 (ข้อ 7) ระบุว่า ให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป โดยจำนวนเงินจะแบ่งตามเกณฑ์อายุ ดังนี้

  • ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน

เบี้ยคนพิการ สิงหาคม 2567

วันจ่ายเงินเบี้ยคนพิการ ประจำปี 2567

  • มกราคม : วันพุธที่ 10 มกราคม 2566
  • กุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
  • มีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
  • เมษายน : วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
  • พฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2567
  • มิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
  • กรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
  • สิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
  • กันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
  • ตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
  • พฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
  • ธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
  • มีบัตรประจำตัวคนพิการ
  • ไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ

หลักฐานขอรับเงินเบี้ยความพิการ

ประชาชนผู้พิการท่านใดที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขได้รับสิทธิ สามารถเตรียมหลักฐานยื่นขอเบี้ยคนพิการได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวคนพิการ (ตัวจริง)

2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)

Advertisements

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องแสดงความประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการโดยรับเงินสดด้วยตนเอง หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี

สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

  • สถานที่ยื่นคำขอทำบัตรคนพิการ กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช, ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

  • สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่างจังหวัด

โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรืออำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

คนพิการ

สถานที่ทำบัตรคนพิการ

  • กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
  • สถาบันราชานุกูล
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  • ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัด

ทั้งนี้ ประชาชนที่ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เงินอุดหนุนบุตร – เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ – เบี้ยผู้พิการ สามารถตรวจสอบยอดเงินที่ได้ผ่านแอปพลิเคชัน เงินเด็ก, ทางรัฐ หรือ ทางบัญชีที่ได้แจ้งไว้กับเจ้าหน้าที่ และสำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน สามารถดาวน์โหลดได้ตามช่องทางต่อไปนี้

  • ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ เงินเด็ก ระบบปฏิบัติการ Android : https://play.google.com/store
  • ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ เงินเด็ก ระบบปฏิบัติการ iOS : https://apps.apple.com/th/app/
  • ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ระบบปฏิบัติการ Android : https://play.google.com/store/apps
  • ช่องทางดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ระบบปฏิบัติการ iOS : https://apps.apple.com/th/app/

กรณีมีข้อสงสัยและต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินเยียวยาเบี้ยคนพิการ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่กรมบัญชีกลาง Call Center 0 2270 6400 หมายเลขโทรศัพท์กลาง 0 2127 7000, ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง และ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทรศัพท์หมายเลข 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button