การเงินเศรษฐกิจ

เงื่อนไขร้านค้า ใครได้-ใครอด ถอนเป็นเงินสด ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 เช็กที่นี่

คุณสมบัติร้านค้า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท กำหนดให้ยื่นเอกสารการจ่ายภาษีก่อนลงทะเบียน เงื่อนไขร้านค้าสามารถถอนเงินสดได้ เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบ 2 เป็นต้นไป

ความคืบหน้าล่าสุดโครงการดิจิทัลวอลเล็ต นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า หลังเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ กำหนดเงื่อนไขการลงทะเบียนร้านค้าและคุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดได้ โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2567 คาดการณ์ว่าจะมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 2 ล้านร้านค้า ประกอบด้วย

Advertisements

1. ร้านธงฟ้า 150,000 ร้าน

2. ร้านอาหารประมาณ 5,000 ร้าน

3. ร้านของกรมการปกครอง ประกอบด้วยหาบเร่ แผงลอย รวมประมาณ 400,000 ร้าน

4. ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลประมาณ 900,000 ร้าน

ร้านค้าที่มีสิทธิลงทะเบียนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

สำหรับร้านค้าที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต้องมีเงื่อนไขตามที่รัฐบาลกำหนด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

Advertisements

1. ร้านค้าที่ใช้จ่ายจากประชาชน คือ การใช้จ่ายระหว่างประชาชนและร้านค้า ได้แก่ ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเวน แต่ไม่นับรวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ส่งขนาดใหญ่ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

2. ร้านค้าที่ใช้จ่ายจากร้านค้าด้วยกันเอง คือ การใช้จ่ายระหว่างร้านค้าและร้านค้า โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขหรือข้อห้ามใด

อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้น มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT)
  • เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax CIT)

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต้องยื่นเอกสารการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล

ร้านค้าแบบใดสามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้

ร้านค้าที่ร่วมโครงการจะไม่สามารถถอนเงินดิจิทัลวอลเล็ตที่ประชาชนจ่ายออกมาเป็นเงินสดได้ทันที โดยจะสามารถถอนเงินได้ต่อเมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบ 2 เป็นต้นไป เพราะต้องการให้มีเงินหมุนเวียนอยู่ในระดับชุมชนภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากที่สุดในช่วงสั้น

ร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการได้จะต้องมีการยื่นขอเบิกจ่ายผ่านผู้จัดทำระบบและผู้จัดทำระบบมีหน้าที่โอนเงินให้ร้านค้าที่เบิกจ่ายโดยตรงเท่านั้น และต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่เงื่อนไข ดังนี้

1. ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี

ร้านค้าจะต้องยื่นเอกสารการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม มีการยกเว้นแต่ร้านค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร โดยร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีข้างต้นมีการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี ดังนี้

1. ร้านค้าที่ดำเนินกิจการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปี 2565 และ 2566 ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี

2. ร้านค้าที่ดำเนินกิจการน้อยกว่า 2 ปี ต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ติดต่อกันตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการจนถึงปัจจุบัน

3. ร้านค้าใหม่ที่ยังไม่ครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในปีภาษีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีแรก รัฐบาลจะพิจารณาจากการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

2 .ร้านค้าต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์แบบรายเดือนในการลงทะเบียนรับสิทธิ

ทั้งนี้ ร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องติดตามรายละเอียด เงื่อนไข และวิธีการลงทะเบียนที่แน่ชัดอีกครั้งจากกระทรวงพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2567 หากประชาชนลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กันยายน 2567 เสร็จสิ้นแล้ว โดยจะมีการจัดทำสื่อออนไลน์ถึงวิธีการลงทะเบียนรวมทั้งเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ร้านค้าเกิดความสับสนในภายหลัง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button