การเงินเศรษฐกิจ

รวมร้านค้ารับ “เงินดิจิทัล” 10,000 บาท เช็กก่อนลงทะเบียน ช้อปปลายปี

เตรียมตัวให้พร้อม โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) 10,000 บาท กำลังจะเปิดให้ ลงทะเบียนวันแรก 1 สิงหาคม 2567 หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของโครงการนี้ คือ การใช้จ่ายเงินดิจิทัลกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ครอบคลุมสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และเพื่อไม่ให้ขาช้อปตัวแม่พลาดโอกาสในการใช้จ่ายเงินดิจิทัลให้คุ้มค่าที่สุด เราได้รวบรวมรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมาให้คุณแล้วดังนี้

6 ประเภทร้าน ร่วมโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต 2567

จากการแถลงข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท เมื่อวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 เปิดเผยร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯดังกล่าวทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้

1. ร้านธงฟ้าประชารัฐ

สำหรับ ร้านธงฟ้า หรือ ธงฟ้าประฃารัฐ ที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งหมด 146,000 แห่ง ร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ มีสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในราคาประหยัด

ร้านธงฟ้า ร่วมโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท

2. ร้านค้าหาบเร่แผงลอย-โชห่วย

ร้านค้าหาบเร่แผงลอย-โชห่วย ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ดูแล มีจำนวน 400,000 แห่ง ประกอบด้วยพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และของใช้ต่าง ๆ

ร้านโช่หวย เข้าร่วมโครงการ Digital Wallet 10000 บาท

3. ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ และร้านเครื่องดื่มต่าง ๆ

ร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ Digital Wallet 10000 บาท

4. ร้านค้าปลีกอื่น ๆ

ร้านขายยา ร้านขายของชำ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย และร้านค้าอื่นๆ อีกมากมาย

5. กลุ่มเกษตรกร

กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล 93,000 แห่ง

ร้านค้าจากกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

6. ห้างค้าส่งปลีก และร้านสะดวกซื้อ

ห้างค้าส่งปลีก และร้านสะดวกซื้อ ที่สมาคมค้าปลีกไทยดูแล โดยดำเนินการผ่านกระทรวงพาณิชย์ 50,000 แห่ง คาดการณ์ว่าร้าน 7-11 อาจเข้าร่วมโครงการด้วยเช่นกัน

ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต

วิธีตรวจสอบร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ

1. สังเกตป้ายสัญลักษณ์ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะมีป้ายสัญลักษณ์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน

2. สามารถสอบถามผู้ขายได้โดยตรงว่าร้านค้าเข้าร่วมโครงการหรือไม่

3. ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง เนื่องจากในอนาคตอาจมีการเพิ่มฟังก์ชันการค้นหาร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

คุณสมบัติประชาชนที่สามารถลงทะเบียนโครงการฯได้

1.1 ประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน

1.2 สัญชาติไทย

1.3 มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)

1.4 ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566

1.5 ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท โดยตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่

(1) เงินฝากกระแสรายวัน

(2) เงินฝากออมทรัพย์

(3) เงินฝากประจำ

(4) บัตรเงินฝาก

(5) ใบรับเงินฝาก

(6) ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5)

ทั้งนี้ เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึง เงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567

1.6 ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ

1.7 ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ

1.8 ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button