การเงินเศรษฐกิจ

สรุปเงื่อนไข ผู้มีสิทธิ-วิธียืนยันตัวตน ก่อนลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท สิงหาคม 67

เช็กเงื่อนไขให้พร้อมก่อนเปิดลงทะเบียน โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทให้กับประชาชนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับเงิน 10,000 บาท ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567

ใครมีสิทธิลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต

  • บุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • คนสัญชาติไทย อายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายใน 30 กันยายน 2567
  • มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
  • มีรายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปี ตามข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566
  • มีบัญชีดิจิทัลวอลเล็ตสำหรับรับเงินตามนโยบาย

4 กลุ่มถูกตัดสิทธิ์รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

บุคคล 4 กลุ่มที่จะหลุดจากการได้รับสิทธิ์ในโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ประกอบด้วยคนที่มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มที่มีรายได้สูง

สำหรับผู้ที่มีรายได้มากกว่า 840,000 บาทต่อปี หากประกอบอาชีพค้าขาย ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. กลุ่มที่มีเงินฝากในธนาคารสูง

สำหรับผู้ที่มีเงินฝากทุกบัญชีธนาคารของรัฐรวมกันเกิน 500,000 บาท ตั้งแต่ วันที่ 31 มีนาคม 2567

3. กลุ่มที่เคยกระทำผิดเงื่อนไขโครงการของรัฐบาล

สำหรับผู้ที่เคยทำผิดเงื่อนไขโครงการของรัฐบาลในอดีต โดยตัดสิทธิ์ทั้งประชาชนและร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมนโยบาย

4. กลุ่มบุคคลที่เคยถูกดำเนินคดี

สำหรับผู้ที่เคยถูกฟ้องร้องเรียกเงินคืนในอดีต โดยตัดสิทธิ์ทั้งประชาชนและร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมนโยบาย

วันลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต

รัฐบาลแบ่งประชาชนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้สมาร์ตโฟน, กลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน และกลุ่มร้านค้า โดยทั้ง 3 กลุ่มมีกำหนดการวันลงทะเบียนไม่พร้อมกัน ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มผู้ใช้สมาร์ตโฟน

เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

2. กลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน

เปิดลงทะเบียนในรอบถัดไป แต่ยังไม่มีการประกาศวันเวลาที่แน่ชัด

3. กลุ่มร้านค้า

เปิดลงทะเบียนหลังวันที่ 1 สิงหาคม 2567 แต่ยังไม่มีการประกาศวันเวลาที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะอัปเดตความคืบหน้าของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท อย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567

เงินดิจิทัลวอลเล็ตแลกเป็นเงินสดได้หรือไม่

เงินดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ หากพบผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชนที่เปิดรับแลกเงินดิจิทัลวอลเล็ตในแอปพลิเคชั่นทางรัฐเป็นเงินสด ถือเป็นการทำทุจริตจะถูกดำเนินตามกฎหมาย มีโทษทางอาญา และถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมโครงการของรัฐในอนาคต

โครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567

สินค้าที่ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ตซื้อได้

ประชาชนสามารถใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซื้อสินค้าได้ตามรายการสินค้า ดังนี้

  • สินค้าบริโภค เช่น ข้าวสาร ปลากระป๋อง เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผักสด ผลไม้ อาหารสด
  • สินค้าอุปโภค เช่น สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผงซักฟอก ซอสปรุงรส
  • ยารักษาโรค
  • สินค้าสำหรับการศึกษา เช่น ชุดเครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี รองเท้า เครื่องเขียน
  • สินค้าเพื่อการเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย

ร้านค้าที่ร่วมโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต

โครงการดิจิทัลวอลเล็ตกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กและร้านค้ารายย่อย โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ ซึ่งสามารถใช้เงินดิจิทัลได้กับร้านค้าที่ร่วมรายการโดยผู้ประกอบการต้องมีแอปฯทางรัฐเพื่อรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต

  • ร้านธงฟ้า 146,531 ร้านค้าทั่วประเทศ
  • ร้านขายของชำ
  • หาบเร่แผงลอย
  • ตลาดนัด

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอเลล็ตลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป แต่ต้องรอประกาศที่แน่ชัดจากรัฐบาลอีกครั้ง

วิธีดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) >>> Android

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (IOS) >>> IOS

2. เลือกสมัครสมาชิก

3. สแกนบัตรประชาชน และใบหน้าของผู้ใช้งาน

4. ระบุบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน

5. ใช้งานบริการจากภาครัฐได้ทันที

ช่องทางยืนยันตัวตนแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

แอปพลิเคชันทางรัฐสามารถสมัครเข้าใช้งานและสามารถเลือกยืนยันตัวตนได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ, ตู้บุญเติม, เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย และแอปพลิเคชั่น ThaID

ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

1. เปิดแอปทางรัฐ แล้วกดที่ปุ่ม “สมัครสมาชิก/เข้าสู่ระบบ”

2 .เลือก “สมัครสมาชิก”

3. เลือก “สมัครด้วยบัตรประชาชน”

4. ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว จากนั้นกด “ยอมรับ”

5. ศึกษาข้อแนะนำการสแกนบัตรประชาชน แล้วกด “เริ่มสแกนหน้าบัตร”

6. สแกนหน้าบัตรประชาชน

7. สแกนหลังบัตรประชาชน

8. ตรวจสอบข้อมูลแล้วกด “ไปขั้นตอนถัดไป”

9. ศึกษาข้อแนะนำในการสแกนใบหน้า แล้วกด “เริ่มยืนยันตัวตน”

10. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ

11. พยักหน้าช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง

12. กำหนดชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านแล้วกด “ยืนยัน”

13. ระบุ Pin Code 6 หลักเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

14. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้ง เพื่อยืนยันตัวตน

15. เปิดการใช้งานสแกนใบหน้าโดยกด “ใช้งาน”จากนั้นทำการสแกนใบหน้า

16. เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จ ให้กด”เริ่มใช้งาน”

17. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ บนแอปพลิเคชั่นทางรัฐได้ทันที

วิธียืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ - 1
ภาพจาก : ทางรัฐ
วิธียืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ -2
ภาพจาก : ทางรัฐ
วิธียืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ - 3
ภาพจาก : ทางรัฐ

ยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศ

1. เปิดแอปทางรัฐแล้วเลือกช่องทางการยืนยันตัวตน โดยกดเลือก “ยืนยันตัวตนที่ 7-Eleven”

2. ระบุเลขบัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นกด “สร้าง QR Code”

3. แจ้งพนักงานว่ามายืนยันตัวตนผ่านแอปทางรัฐและแสดง QR Codeให้สแกน จากนั้นเสียบบัตรประชาชนที่เครื่องอ่านบัตร รับใบเสร็จแล้วกดลิงก์ที่ได้จาก SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปทางรัฐ

4. หลังจากนั้นกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนการสแกนใบหน้าในแอปทางรัฐ ศึกษาข้อแนะนำแล้วกด “เริ่มสแกนใบหน้า”

5. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ

6. เมื่อผู้ใช้งานสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ให้กด”สมัครสมาชิก”

7. ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัวแล้วกดเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยมจากนั้นกด “ยอมรับ”

8. กรอกชื่อ บัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ตามคำแนะนำ แล้วกด “ยืนยัน”

9. ระบุ Pin Code 6หลักเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

10. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้งเพื่อยืนยันตัวตน

11. เปิดการใช้งานอัตลักษณ์บุคคล โดยกดปุ่ม “ใช้งาน”

12. เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว กด”เริ่มใช้งาน”

13. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ในแอปพลิเคชั่นทางรัฐได้ทันที

ภาพจาก : ทางรัฐ
ภาพจาก : ทางรัฐ
ภาพจาก : ทางรัฐ

ยืนยันตัวตนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ

1. สอดบัตรประชาชนที่ตู้บริการอเนกประสงค์ เพื่อเข้าสู่ระบบ

2. ศึกษาการใช้ความยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคล ในการใช้ตู้บริการอเนกประสงค์ แล้วกด “ยืนยัน”

3. กด “ลงทะเบียนทางรัฐ” ที่หน้าเมนู

4. หน้าจอจะแสดงรายละเอียดข้อมูลของผู้ใช้งาน จากนั้นให้กด “ยืนยันข้อมูล”

5. กรอกรหัส OTP 6 หลัก ที่ได้รับทาง SMS ที่ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้งาน จากนั้นกด “ยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือ”

6. กรอกเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน จากนั้นกด “ยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือ”

7. หน้าจอจะแสดงผลว่า “ท่านยืนยันข้อมูลสำเร็จแล้ว” จากนั้นให้ดึงบัตรประชาชนออกมา และกดลิงก์ที่ได้จาก SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปพลิเคชันทางรัฐ

8. กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานลงทะเบียนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐไว้ก่อนหน้านี้ จากนั้นกด “เข้าสู่ระบบ”

9. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะเข้าสู่หน้าการยืนยันตัวตน ให้ผู้ใช้งานกด “เริ่มยืนยันตัวตน”

10. ศึกษาข้อแนะนำในการสแกนใบหน้าแล้วกด “เริ่มยืนยันตัวตน”

11. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอก

12. พยักหน้าช้าๆอย่างต่อเนื่อง

13. ระบุ Pin Code 6 หลักเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

14. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้งเพื่อยืนยันตัวตน

15. เปิดการใช้งานสแกนใบหน้า โดยกด”ใช้งาน”จากนั้นทำการสแกนใบหน้า

16. ผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จ ให้กด “เริ่มใช้งาน”

17. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที

วิธียืนยันตัวตนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ - 1
ภาพจาก : ทางรัฐ
ขั้นตอนยืนยันตัวตนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ - 2
ภาพจาก : ทางรัฐ
วิธียืนยันตัวตนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ - 3
ภาพจาก : ทางรัฐ

ยืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม

ประชาชนสามารถยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชั่นทางรัฐ ผ่านตู้บุญเติมที่มีกล้องหน้าตู้เท่านั้น

1. เปิดแอปทางรัฐ แล้วเลือกช่องทางการสมัคร โดยกดเลือก “สมัครที่ตู้บุญเติม”

2. เตรียมบัตรประชาชน และโทรศัพท์มือถือของท่านไปที่ตู้บุญเติมที่รองรับการยืนยันตัวตน

3. เลือกเมนู “ทางรัฐ” แล้วทำตามขั้นตอนบนหน้าจอของตู้บุญเติม

4. เสียบบัตรประชาชนของท่านที่ช่องเสียบบัตรประชาชนของตู้บุญเติม

5. เมื่อทำตามขั้นตอนที่ตู้บุญเติมเสร็จแล้ว ให้กดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปทางรัฐ (กรุณาดึงบัตรประชาชนของท่านออกหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้น)

6. หลังจากกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนสแกนใบหน้าในแอปทางรัฐ ศึกษาข้อแนะนำแล้วกด “เริ่มสแกนใบหน้า”

7. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ

8. เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จให้กด “สมัครสมาชิก”

9. ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว แล้วกดทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยมจากนั้นกด “ยอมรับ”

10. กรอกชื่อ บัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ตามคำแนะนำ แล้วกด “ยืนยัน”

11. ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

12. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้ง เพื่อยืนยันตัวตน

13. เปิดการใช้งานสแกนอัตลักษณ์บุคคล

14. เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว กด “เริ่มใช้งาน”

15. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที

วิธียืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม - 1
ภาพจาก : ทางรัฐ
วิธียืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม - 2
ภาพจาก : ทางรัฐ
วิธียืนยันตัวตนผ่านตู้บุญเติม - 3
ภาพจาก : ทางรัฐ

ยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย

1. เปิดแอปทางรัฐ แล้วเลือกช่องทางการยืนยันตัวตน โดยกดเลือก “ยืนยันตัวตนที่ทำการไปรษณีย์”

2. เตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือของท่านไปยังที่ทำการไปรษณีย์

3. จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการ “ยืนยันตัวตน แอปทางรัฐ”และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

4. เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมตรวจสอบหมายเลขบัตรประชาชน และชื่อ -สกุล ในใบเสร็จ จากนั้นให้กดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปทางรัฐ

5. หลังจากนั้นกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนการสแกนใบหน้าในแอปทางรัฐ ศึกษาข้อแนะนำแล้วกด “เริ่มสแกนใบหน้า”

6. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ

7. เมื่อผู้ใช้งานสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ให้กด “สมัครสมาชิก”

8. ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัวแล้วกดทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นกด “ยอมรับ”

9. กรอกชื่อ บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านตามคำแนะนำ แล้วกด “ยืนยัน”

10. ระบุ Pin Code 6 หลักเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

11. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้งเพื่อยืนยันตัวตน

12. เปิดการใช้งานอัตลักษณ์บุคคล โดยกดปุ่ม “ใช้งาน”

13. เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว กด”เริ่มใช้งาน”

14. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ในแอปพลิเคชั่นทางรัฐได้ทันที

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย
ภาพจาก : DGA

ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaID

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ThaID

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอย (Android) >>> https://play.google.com

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส (iOS) >>> https://apps.apple.com

2. เลือกช่องทางในการยืนยันตัวตนด้วยตนเองบนแอปพลิเคชั่น ThaID และทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อย

3. ดาวน์โหลดและเข้าสู่แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” และกดปุ่ม “สมัครทางรัฐ ด้วย ThaID”

4. ยอมรับข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว โดยระบบจะนำมาสู่ ThaID เพื่อขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ให้กดปุ่ม “ยินยอม”

5. ตั้งค่ารหัสผ่านในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

6. ตั้งค่า PIN Code ในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่นทางรัฐ

7. เปิดการใช้งานสแกนใบหน้าโดยกด”ใช้งาน”จากนั้นทำการสแกนใบหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบ

8. เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จ ให้กด “เริ่มใช้งาน”

9. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ บนแอปพลิเคชั่นทางรัฐได้ทันที

วิธียืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD
ภาพจาก : GDA

ที่มา : ทางรัฐ, DGAThailand

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button