ข่าว

ของปลอม! “เสื้อเกราะไส้ไม้อัด” กองสรรพาวุธ โต้ ไม่เคยจัดซื้อ

‘กองสรรพาวุธตำรวจ’ โต้เพจดัง โพสต์ภาพ ‘เสื้อเกราะยัดไส้ไม้อัด‘ ของตำรวจปฏิบัติการ ยัน ไม่เคยจัดซื้อเสื้อเกราะหรือแผ่นเกราะป้องกันกระสุนที่ใช้แผ่นไม้เป็นวัสดุป้องกัน แจงขั้นตอนจัดซื้อ-ตรวจรับโปร่งใส-ตรวจสอบได้-เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการทดสอบตามมาตรฐานสากล มีรับประกันทุกตัว

วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก ‘อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6’ โพสต์ภาพแ ‘เสื้อเกราะตำรวจ’ ระบุว่า “ยุคที่ตกต่ำสุดๆ ของ สตช. สงสารแต่ผู้ปฏิบัติชั้นผู้น้อย…เสื้อเกราะไส้ไม้อัด

Advertisements

สวัสดีครับพี่ต่าย ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ จนท.ปฏิบัติงานด้วยนะครับพี่ แผ่นเกราะกันกระสุนเหมือนวัสดุยัดไส้ ดูยังไงก็แผ่นไม้อัดธรรมดา

ตำรวจหลายพันนายลงความเห็นว่าน่าจะมียัดไส้ แหกตาแบบนี้อีกหลายอัน ถ้ามี จนท.ใช้ปฏิบัติ แล้วเกิดเหตุโดนยิงถูกจุดสำคัญ ไม่อยากจะคิดภาพเลยครับพี่

เสื้อเกราะยัดไส้ไม้อดที่มีตราสัญลักษณ์สำนักงานตำรวจ

ทุจริตโกงกินแม้กระทั่งแผ่นเกราะ ยัดไส้ไม้อัด น่าสมเพชผู้บังคับบัญชาระดับสูงจริงๆ อดอยากหิวโหยมาจากไหนกันครับทุจริตได้แม้กระทั่งความปลอดภัยในชีวิตของลูกน้องไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของโครงการและใครเป็นคนจัดซื้อเสื้อเกราะครับ

หรือนายผู้หิวโหย นึกว่าแผ่นเกราะทำมาจากไม้ศักดิ์สิทธิ์หายากผ่านการปลุกเสก 9 วัดครับพี่ ขอบคุณภาพข่าวพี่ต่าย”

Advertisements

จากโพสต์ดังกล่าว ส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกโซเชียล กองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกหนังสือชี้แจงกรณีดังกล่าว ลงนามโดย พล.ต.ต.นิรันดร ศิริสังข์ไทย ผู้บังคับการกองสรรพาวุธ ระบุว่า

ตามที่มีปรากฏทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีโพสต์ข้อความ รูปภาพ วัสดุภายในเสื้อเกราะและมีตราสัญลักษณ์คล้ายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีลักษณะคล้ายไม้ และตำหนิว่าวัสดุไม่มีประสิทธิภาพนั้น กองสรรพาวุธขอชี้แจง ดังนี้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่เคยมีการจัดซื้อเสื้อเกราะหรือแผ่นเกราะป้องกันกระสุน ที่ใช้แผ่นไม้เป็นวัสดุป้องกันกระสุนแต่อย่างใด

ขั้นตอนการจัดซื้อ การตรวจรับ โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการทดสอบตามมาตรฐานสากล NU (National Institute of Juctice) และมีการรับประกันเสื้อเกราะทุกตัว หากมีผู้สวมใส่ปฏิบัติหน้าที่แล้วได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากกระสุนที่ทะลุผ่านแผ่นเกราะ

อย่างไรก็ตาม หากมีข้าราชการตำรวจ หรือหน่วยงานใดตรวจพบเสื้อเกราะที่มีลักษณะดังกล่าว หรือมีความสงสัยไม่มั่นใจในคุณภาพ สามารถนำมาทำการตรวจทดสอบได้ที่ กองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน”

สภาพเสื้อเกราะที่ผ่าออกมาพบว่าเป็นไม้อัด

เสื้อเกราะกันกระสุน ไส้ในจากอะไรบ้างได้บ้าง

สื้อเกราะกันกระสุนทำงานโดยการดูดซับและกระจายแรงกระแทกของกระสุนออกไปทั่วพื้นที่ของเสื้อเกราะ ทำให้แรงกระแทกที่ส่งผ่านมายังร่างกายของผู้สวมใส่น้อยลง วัสดุที่ใช้ทำเสื้อเกราะช่วยลดการเจาะทะลุของกระสุน ทำให้กระสุนไม่สามารถทะลุผ่านเสื้อเกราะเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกายได้

วัสดุหลักที่ใช้ทำไส้ในเสื้อเกราะกันกระสุน

1. เส้นใยอะรามิด (Aramid Fibers)

เส้นใยอะรามิด เช่น เคฟลาร์ (Kevlar) หรือ Twaron เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนชนิดอ่อน (soft armor vests) เส้นใยเหล่านี้มีความแข็งแรงสูงและทนทานต่อการฉีกขาดได้ดี เมื่อนำมาทอเป็นชั้น ๆ จะช่วยกระจายแรงกระแทกของกระสุนwfhfu

2. แผ่นใยสังเคราะห์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงพิเศษ (Ultra-High-Molecular-Weight Polyethylene – UHMWPE)

UHMWPE เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 15 เท่า มักใช้ทำแผ่นเสริมในเสื้อเกราะกันกระสุนชนิดแข็ง (hard armor plates) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหยุดยั้งกระสุนปืนที่มีความเร็วสูงและมีอำนาจทะลุทะลวงสูง

3. แผ่นโลหะ

แผ่นโลหะ เช่น เหล็กกล้า หรือไทเทเนียม มักใช้เป็นส่วนประกอบในเสื้อเกราะกันกระสุนชนิดแข็งเช่นกัน แผ่นโลหะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและความทนทานต่อการเจาะทะลุของกระสุน โดยเฉพาะกระสุนปืนไรเฟิล

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button