นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เผยความคืบหน้าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ยืนยันความพร้อมเปิดลงทะเบียนให้ประชาชน 50 ล้านคน ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2567 จากนั้นช่วงปลายปีจะโอนเงินเข้าผ่านระบบแอปพลิเคชันที่กำลังพัฒนา
ไทม์ไลน์โครงการ
- ต้นเดือนสิงหาคม 2567: เปิดลงทะเบียนพร้อมกันทั่วประเทศ
- สิ้นเดือนกันยายน 2567: ปิดระบบลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบสิทธิ์
- ไตรมาส 3 : พัฒนาระบบแอแป
- ภายในสิ้นปี 2567: เริ่มทยอยโอนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กับผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์
ผู้มีสิทธิ์ได้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
- ประชาชนที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- มีสัญชาติไทย
- อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
- มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา ถอนเงินออกตอนนี้ไม่ทัน ยอดถูกนับรวมไปแล้ว
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ประชาชนใช้จ่ายในพื้นที่อำเภอที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จ่ายเงินผ่านแอปเป๋าตัง ไม่มีการจ่ายออนไลน์ กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
ส่วนร้านค้าที่ลงทะเบียนที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า
ปัจจุบันมีร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีจำนวนมากถึงล้านราย ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่สามารถใช้เงินดิจิทัลได้ โดยเน้นไปที่สินค้าที่ผลิตในประเทศและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
รัฐมนตรีช่วยฯ ย้ำว่า โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และช่วยเหลือประชาชนให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการได้หลากหลายประเภท แต่มีข้อจำกัดบางประการ ดังนี้
ซื้อได้:
- สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ
- บริการ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าบริการต่างๆ ฯลฯ
- สินค้าเกษตร พืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ฯลฯ
- สินค้า OTOP สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- สินค้าชุมชน สินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในชุมชน
ซื้อไม่ได้:
- สินค้าอบายมุข สุรา บุหรี่ การพนัน ฯลฯ
- สินค้าฟุ่มเฟือย รถยนต์ เครื่องประดับราคาแพง ฯลฯ
- สินค้านำเข้า สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
- การโอนเงิน ไม่สามารถโอนเงินดิจิทัลไปยังบุคคลอื่นได้ รวมถึงการใช้หนี้ จ่ายค่าเทอม
- การแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลเป็นเงินสดได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง