ข่าวธุรกิจเศรษฐกิจ

ขายกิจการหรือขายธุรกิจในไทย ไม่ง่ายอย่างที่คิด ขั้นตอนที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ (ฉบับย่อ)

ขั้นตอนการขายกิจการในไทย

คลิกที่นี่ เพื่อเริ่มต้นวางแผน ขายกิจการ/ขายธุรกิจของคุณ อย่างมืออาชีพ ติดต่อ Max Solutions https://maxsolutions.co.th/

ขั้นตอนการขายกิจการ/ขายธุรกิจในประเทศไทย หากดำเนินการขายเองแบบไม่มีที่ปรึกษาการขาย ความท้าทายที่เจ้าของโรงงาน-เจ้าของธุรกิจ ต้องเจอ พร้อมแนะนำที่ปรึกษาการซื้อขายธุรกิจอย่าง Max Solutions เพื่อช่วยคุณปิดดีลได้ง่ายขึ้น

ธุรกิจที่เราทุ่มเท สร้างมากับมือด้วยน้ำพักน้ำแรง เมื่อถึงวันที่ต้องตัดสินใจขาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น ไม่มีผู้สืบทอด ไม่มีเวลาดูแลธุรกิจ ปัญหาสุขภาพ หมดไฟทำต่อให้เติบโต ต้องการเกษียณ ต้องการขายกิจการเก็งกำไรได้เงินก้อน ภาระส่วนตัว

ขั้นตอนการขายกิจการ/ขายธุรกิจ สำคัญและซับซ้อนไม่แพ้วันที่ตั้งไข่ ต้องใช้ความรู้และการวางแผนอย่างดี เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

บทความนี้ Thaiger จะช่วยให้เจ้าของกิจการที่กำลังพิจารณาการขายกิจการ/ขายธุรกิจในประเทศไทยให้เข้าใจถึงขั้นตอนการขาย และสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ หากดำเนินการทั้งหมดด้วยตัวเอง

Step 1. เตรียมทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนประกอบทีมขายธุรกิจกิจการ

การขายกิจการไม่ต่างอะไรกับการเตรียมตัวลงแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญ คุณคงไม่อยากลงสนามโดยไม่มีโค้ชหรือทีมงานคอยช่วยเหลือใช่ไหม? ในการขายธุรกิจก็เช่นกัน การมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำแนะนำและดูแลในแต่ละขั้นตอน จะช่วยให้คุณขายกิจการ/ขายธุรกิจได้ราบรื่นและได้ราคาดีที่สุด

ใครบ้างที่ควรอยู่ในทีม?

  • ที่ปรึกษา M&A (M&A Advisor): เปรียบเสมือนโค้ชที่จะวางแผนกลยุทธ์การขายให้คุณ ตั้งแต่การประเมินมูลค่าธุรกิจ หาผู้ซื้อที่เหมาะสม ไปจนถึงการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
  • ทนายความ M&A (M&A Attorney): ทำหน้าที่คล้ายผู้จัดการทีม คอยดูแลเรื่องเอกสารสัญญาและกฎหมายต่างๆ ให้ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • นักบัญชี M&A (M&A Accountant): ทำหน้าที่คอยตรวจสอบและจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้ซื้อมั่นใจในสถานะทางการเงินของธุรกิจ

Step 2. ประเมินมูลค่าธุรกิจ

การประเมินมูลค่าธุรกิจของตนเองก่อนการขาย จะทำให้เราสามารถตั้งราคาขายด้วยมูลค่าที่เหมาะสม ราคาที่สมเหตุสมผลมีส่วนในการตัดสินใจจากผู้ซื้อ การรู้มูลค่าธุรกิจของตนเองจะช่วยป้องกันการถูกกดราคาจากผู้ซื้อจนทำให้ได้รับเงินจากการขายที่ไม่คุ้มค่า

การประเมินนี้ควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เริ่มต้นด้วยการคำนวณกำไรสุทธิของผู้ขาย (SDE) หรือ EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย) จากนั้นใช้ตัวคูณเพื่อคำนวณมูลค่าธุรกิจ

ตัวคูณทั่วไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็กคือ 2.0 ถึง 3.0 เท่า และ 4.0 ถึง 6.0 เท่าของ EBITDA สำหรับธุรกิจขนาดกลาง การประเมินมูลค่าส่วนใหญ่อิงจากกระแสเงินสด ดังนั้นการเพิ่มกระแสเงินสดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มมูลค่าธุรกิจของคุณ

ขั้นตอนการประเมินมูลค่าธุรกิจ สรุปเป็นหลักการใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

2.1 การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis)

การวิเคราะห์งบการเงินเป็นขั้นตอนแรกในการประเมินมูลค่า โดยพิจารณาจาก

  • งบดุล (Balance Sheet): วิเคราะห์สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของธุรกิจ
  • งบกำไรขาดทุน (Income Statement): ตรวจสอบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรสุทธิ
  • งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement): พิจารณากระแสเงินสดที่เข้ามาและออกจากธุรกิจ

2.2 การใช้วิธีการประเมินมูลค่า (Valuation Methods)

มีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการประเมินมูลค่าธุรกิจได้ เช่น

  • วิธีการตลาด (Market Approach): เปรียบเทียบธุรกิจของคุณกับธุรกิจที่คล้ายกันที่มีการขายหรือมีการประเมินมูลค่าแล้ว
  • วิธีการรายได้ (Income Approach): พิจารณากระแสเงินสดหรือกำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แล้วปรับเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
  • วิธีการสินทรัพย์ (Asset Approach): ประเมินมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินของธุรกิจ โดยการหาค่าสุทธิที่เหลือ

2.3 การประเมินปัจจัยเสี่ยงและโอกาส (Risk and Opportunity Assessment)

การประเมินปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และสถานการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงการประเมินโอกาส เช่น การเติบโตของตลาด การขยายกิจการ และการพัฒนาเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีความรู้ด้านใดด้านหนึ่งเพียงพอ การประเมินมูลค่าธุรกิจอาจจะดูซับซ้อนเพราะต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลายด้าน ทั้งเรื่องการบัญชี การเงิน กฎหมาย และความรู้เฉพาะในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าธุรกิจ จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า

Step 3. เตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการขายกิจการ/ขายธุรกิจ

การขายธุรกิจต้องการเอกสารและข้อมูลหลายอย่างเพื่อแสดงให้ผู้ซื้อเห็นถึงสถานะทางการเงิน การดำเนินงาน และความน่าเชื่อถือของธุรกิจ เอกสารเหล่านี้เป็นหลักฐานที่ช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจในธุรกิจและสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

เจ้าของธุรกิจควรเตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นดังนี้

3.1 งบการเงินย้อนหลัง (Financial Statements)

งบการเงินเป็นเอกสารที่แสดงผลประกอบการทางการเงินของธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น

  • งบดุล (Balance Sheet): แสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของธุรกิจ
  • งบกำไรขาดทุน (Income Statement): แสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุนสุทธิ
  • งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement): แสดงการไหลเวียนของเงินสดที่เข้า-ออกจากธุรกิจ

การมีงบการเงินย้อนหลังที่ครบถ้วนและถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ซื้อเห็นภาพรวมของธุรกิจและประเมินความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น

3.2 รายงานการตรวจสอบบัญชี (Audit Reports)

รายงานการตรวจสอบบัญชีเป็นเอกสารที่ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกจัดทำขึ้นหลังจากตรวจสอบงบการเงินของธุรกิจ รายงานนี้ยืนยันว่าข้อมูลทางการเงินที่แสดงในงบการเงินมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ผู้ซื้อจะใช้รายงานนี้ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการเงิน

3.3 ข้อมูลลูกค้า (Customer Information)

ข้อมูลลูกค้าเป็นข้อมูลที่แสดงถึงฐานลูกค้าของธุรกิจ เช่น รายชื่อลูกค้า ประวัติการซื้อขาย ความถี่ในการซื้อ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้ซื้อเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับลูกค้าและศักยภาพในการรักษาลูกค้าในอนาคต

3.4 สัญญาต่าง ๆ (Contracts)

สัญญาเป็นเอกสารที่แสดงข้อตกลงระหว่างธุรกิจกับบุคคลหรือบริษัทอื่น ๆ สัญญาเหล่านี้อาจรวมถึง

  • สัญญากับคู่ค้า (Supplier Contracts): ข้อตกลงในการจัดหาสินค้าหรือบริการ
  • สัญญากับพนักงาน (Employment Contracts): ข้อตกลงการจ้างงานกับพนักงาน
  • สัญญากับลูกค้า (Customer Contracts): ข้อตกลงการให้บริการหรือขายสินค้าให้กับลูกค้า

3.5 CIM: ก่อนนำธุรกิจเข้าสู่ตลาด คุณต้องเตรียม Confidential Information Memorandum (CIM) ซึ่งเป็นเอกสาร 20-50 หน้า เพื่อนำเสนอให้ผู้ซื้อที่มีคุณสมบัติและได้ลงนามในข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA)

สัญญาเหล่านี้ช่วยให้ผู้ซื้อเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจและข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ธุรกิจมีอยู่

สมมุติ คุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังจะขาย ต่อไปนี้คือ รายการเอกสารและข้อมูลที่คุณต้องเตรียม

Step 4. พิจารณาว่าควรขายให้ใคร

ควรขายกิจการให้ใคร

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจขายกิจการ/ขายธุรกิจ สิ่งสำคัญคือต้องสำรวจทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้เลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความต้องการของคุณให้มากที่สุด

4.1 ขายให้คนในครอบครัว (Family Succession)

  • ข้อดี: รักษาธุรกิจไว้ในครอบครัว สืบทอดมรดกทางธุรกิจ สร้างความผูกพันในครอบครัว
  • ข้อเสีย: อาจเกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว หากทายาทไม่มีความสามารถในการบริหารธุรกิจ อาจทำให้ธุรกิจเสียหายหรือไปต่อไม่ดี ส่วนราคาขายอาจเป็นราคากันเองที่ไม่สูง

4.2 ขายให้พนักงาน (Employee Buyout)

  • ข้อดี: พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจเป็นอย่างดี ช่วยรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจ สร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน
  • ข้อเสีย: พนักงานอาจไม่มีเงินทุนเพียงพอในการซื้อกิจการ ต้องใช้เวลาในการจัดหาเงินทุน

4.3 ขายให้บุคคลภายนอก (External Sale)

  • ข้อดี: มักได้ราคาขายที่สูงกว่า เพราะมีการแข่งขันจากผู้ซื้อหลายราย เปิดโอกาสให้คุณได้เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องธุรกิจเดิม
  • ข้อเสีย: อาจต้องใช้เวลานานในการหาผู้ซื้อที่เหมาะสม ผู้ซื้ออาจไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและวิสัยทัศน์ของธุรกิจเดิม หากไม่มีเครือข่ายมากเพียงพออาจไม่เจอผู้ซื้อหรือใช้เวลานานมากในขั้นตอนหา

ถ้าอยากได้ราคาสูงสุด… เลือกขายให้บุคคลภายนอก

หากเป้าหมายหลักของคุณคือการขายธุรกิจให้ได้ราคาสูงที่สุด การขายให้บุคคลภายนอกมักเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะจะมีผู้ซื้อหลายรายที่สนใจและแข่งขันเสนอราคา ทำให้คุณมีโอกาสได้ราคาที่ดีกว่าการขายให้คนในครอบครัวหรือพนักงาน โดยควรหาที่ปรึกษาการขายที่เชี่ยวชาญและมีเครือข่าย ซึ่งจะมาปิดข้อเสียและชี้ช่องให้ผู้ขายเจอกับผู้ซื้อที่เหมาะสม และทำให้เกิดการขายสำเร็จได้ในราคาที่ดีที่สุด ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด ซึ่งมากกว่า 90%ของการขายธุรกิจในไทยโดยเฉพาะธุรกิจที่มีมูลค่าสูงกว่า 100,000,000 บาท ส่วนใหญ่ความสำเร็จเกิดจากการชี้ช่องของที่ปรึกษาการขายธุรกิจหรือนายหน้าขายธุรกิจทั้งสิ้น

ขั้นตอนการขายกิจการติดต่อผู้ซื้อ

เมื่อพิจารณาได้แล้วว่าจะเสนอขายให้กลุ่มไหน ให้วางแผนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ สำหรับธุรกิจขนาดกลาง สามารถติดต่อผู้ซื้อได้โดยตรงผ่านช่องทางต่างๆ ควรมีรายชื่อผู้ซื้ออย่างน้อย 100-200 ราย เพื่อให้เกิดการสนทนา 5-10 ครั้ง และได้รับ Letter of Intent (LOI) 1-5 ฉบับ

Step 5. เจรจาและตกลงราคา

เมื่อเราจัดเตรียมเอกสารประเมินราคาธุรกิจ และสามารถติดต่อหาผู้ซื้อมาซื้อกิจการได้แล้ว การเจรจาและตกลงราคาเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องใช้ทักษะในการสื่อสารและความระมัดระวังในการตัดสินใจอย่างสูง เจ้าของธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างดีเพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ประโยชน์สูงสุด

5.1 ศึกษาตลาดและคู่แข่ง

ก่อนการเจรจา เจ้าของธุรกิจควรศึกษาตลาดและคู่แข่ง เพื่อทราบถึงมูลค่าตลาดของธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน และใช้ข้อมูลนี้ในการกำหนดราคาที่เหมาะสม ไม่ตั้งเพดานราคาสูงจนขายออกยาก หรือต่ำเกินไปจนขาดทุน

5.2 เตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็น

เอกสารและข้อมูลที่เตรียมไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้จะมีบทบาทสำคัญในการเจรจา ควรมีงบการเงิน รายงานการตรวจสอบบัญชี ข้อมูลลูกค้า และสัญญาต่างๆเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนข้อเสนอของคุณ

5.3 กำหนดขอบเขตและเงื่อนไขที่ต้องการ

เจ้าของธุรกิจควรกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขที่ต้องการในการขาย เช่น:

  • เงื่อนไขการชำระเงิน: จะชำระเป็นเงินสดหรือผ่อนชำระ
  • การโอนย้ายสินทรัพย์: จะโอนย้ายสินทรัพย์และอุปกรณ์ทั้งหมดหรือบางส่วน
  • การคงพนักงานเดิมไว้: จะให้ผู้ซื้อรักษาพนักงานเดิมและผู้บริหารเดิมหรือไม่

5.4 เตรียมทักษะการเจรจา

การเจรจาต้องใช้ทักษะในการสื่อสาร การฟัง และการต่อรอง ควรฝึกฝนทักษะเหล่านี้ หรือหาผู้เชี่ยวชาญการขายกิจการ/ขายธุรกิจมาเป็นที่ปรึกษา จะช่วยให้การเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่น รักษาผลประโยชน์ให้เราเป็นฝ่ายได้เปรียบ และปิดการขายได้สำเร็จ

หากผู้ซื้อสนใจ พวกเขาจะเสนอ LOI ซึ่งเป็นข้อตกลงเบื้องต้นก่อนทำสัญญาซื้อขาย ในฐานะผู้ขาย คุณควรดำเนินการอย่างรอบคอบในการเจรจา LOI เพราะนี่เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่คุณมีอำนาจต่อรอง ควรระบุเงื่อนไขให้ชัดเจนและครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ใน LOI

5.5 วิเคราะห์ข้อเสนอของผู้ซื้อ

ควรพิจารณาข้อเสนอของผู้ซื้ออย่างรอบคอบ รวมถึงการตรวจสอบความสามารถทางการเงินของผู้ซื้อ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าผู้ซื้อสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันได้

5.6 จัดทำแผนสำรอง

ควรมีแผนสำรองในกรณีที่การเจรจาไม่เป็นไปตามคาดหวัง เช่น การเตรียมตัวหาผู้ซื้อรายอื่น หรือการปรับเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์

Step 6.ทำสัญญาซื้อขาย

หากเจ้าของกิจการและผู้ซื้อต่างพึงพอใจในข้อเสนอด้วยกันทั้งสองฝ่าย ก็จะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ร่างสัญญาเพื่อให้กิจการนั้นถูกถ่ายโอนไปยังเจ้าของกิจการใหม่อย่างสมบูรณ์

การทำสัญญาที่ดีจะช่วยให้การขายกิจการ/ขายธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและโปร่งใส หลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนในการทำสัญญาซื้อขาย ที่เจ้าของธุรกิจสามารถใช้เป็นแนวทางได้

6.1 การเตรียมร่างสัญญา

เริ่มต้นติดต่อทนายความ ให้เตรียมร่างหนังสือสัญญาซื้อขาย ซึ่งควรครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมดที่ตกลงกันไว้ในขั้นตอนการเจรจา ดังนี้

  • ข้อมูลผู้ขายและผู้ซื้อ: ชื่อ ที่อยู่ และรายละเอียดการติดต่อของทั้งสองฝ่าย
  • รายละเอียดธุรกิจที่ขาย: ประเภทธุรกิจ สถานที่ตั้ง รายละเอียดสินทรัพย์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  • ราคาซื้อขาย: ราคาที่ตกลงกันและวิธีการชำระเงิน (เช่น เงินสด ผ่อนชำระ หรือวิธีอื่น ๆ)
  • เงื่อนไขการชำระเงิน: กำหนดเวลาการชำระเงิน และเงื่อนไขการโอนเงิน
  • การโอนย้ายสินทรัพย์: รายละเอียดการโอนย้ายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ สินค้าคงคลัง และทรัพย์สินอื่น ๆ
  • การโอนย้ายสัญญา: ข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนย้ายสัญญากับคู่ค้าและพนักงาน
  • เงื่อนไขเพิ่มเติม: ข้อกำหนดพิเศษที่ตกลงกัน เช่น การคงพนักงานเดิม การฝึกอบรมผู้ซื้อใหม่ หรือการรักษาความลับทางธุรกิจ

6.2 การตรวจสอบร่างสัญญา

ทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตรวจสอบสัญญาอีกครั้ง ให้แน่ใจว่าสัญญามีความถูกต้องครบถ้วน การให้ทนายความตรวจสอบสัญญาจะช่วยป้องกันข้อขัดแย้งและปัญหาทางกฎหมายในอนาคต

6.3 การเจรจาปรับปรุงสัญญา

หากมีข้อแก้ไขหรือข้อเสนอเพิ่มเติมจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ควรมีการเจรจาเพื่อปรับปรุงสัญญาให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ การเจรจาเพิ่มเติมนี้อาจเกี่ยวข้องกับการปรับเงื่อนไขการชำระเงิน การเพิ่มข้อกำหนดพิเศษ หรือการแก้ไขข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจน

6.4 การลงนามสัญญา

เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้แล้ว ควรจัดการลงนามในสัญญาซื้อขาย โดยมีพยานรับรองการลงนามทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเก็บรักษาสำเนาสัญญาไว้ทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นหลักฐาน

6.5 การดำเนินการตามสัญญา

หลังจากลงนามในสัญญา ควรเริ่มดำเนินการตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ เช่น การโอนย้ายสินทรัพย์ การชำระเงินตามกำหนด และการโอนย้ายสัญญากับคู่ค้าและพนักงาน การดำเนินการตามสัญญานี้ควรมีการติดตามและตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้

6.6 การปิดการขาย (Closing)

เมื่อทุกขั้นตอนดำเนินการเสร็จสิ้นและการชำระเงินครบถ้วน ควรมีการปิดการขายอย่างเป็นทางการ โดยมีการลงนามในเอกสารปิดการขายและการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ให้กับผู้ซื้อ การปิดการขายนี้ควรมีการเก็บรักษาหลักฐานและเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องไว้ให้ครบถ้วน

ความท้าทายในการขายกิจการ/ขายธุรกิจแบบไม่มีที่ปรึกษา M&A ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

แก้ปัญหาขายกิจการไม่ได้

คุณรู้หรือไม่ ว่าข้อมูลอัตราความสำเร็จของการขายธุรกิจ อ้างอิงจาก Morgan & Westfield พบว่า ธุรกิจขนาดเล็กมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 15% – 30% ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางมีประมาณการอัตราความสำเร็จในการขายธุรกิจอยู่ที่ 30%- 40%

จากที่อ่านขั้นตอนข้างบนมาแล้ว จะเห็นได้ว่ากระบวนการขายธุรกิจ หากทำด้วยตนเอง ตั้งแต่กระบวนการสร้างทีม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณจะไปอยู่ในกลุ่มสำเร็จ 30-40% นั้น ระหว่างทางต้องเจอปัญหาปวดหัวยิบย่อยหลายอย่าง ทั้งเรื่องเอกสาร ปัญหาข้อกฎหมาย การเจรจาต่อรอง ต่อไปนี้คือความท้าทายสำคัญที่คุณจะพบเจอแน่ๆ ถ้าลุยเดี่ยว

1. หาผู้ซื้อที่เหมาะสมยาก

การหาผู้ซื้อที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความพยายามมาก หลายคนหาตัวช่วยให้นายหน้าขายกิจการหรือหาที่ปรึกษาการขายกิจการ เพื่อให้เกิดการปิดการขายที่ง่ายขึ้น แม้ว่าจะต้องเสียค่าตอบแทนการขายก็ตาม

ถ้าเราไม่รู้แหล่งตลาด โอกาสที่จะเจอผู้ซื้อที่มีความสนใจและเข้าใจในธุรกิจของคุณนั้นยาก ผู้ซื้อมีประสบการณ์และทักษะในการบริหารธุรกิจแค่ไหนอย่างไร จะนำพาธุรกิจที่คุณสร้างมากับมือให้รุ่งเรืองหรือจอดเจ๊ง เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการหลายคนคำนึงถึงและให้ความสำคัญ

อีกประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ ผู้ซื้อคนนั้นมีเงินทุนเพียงพอหรือไม่ หากมี แต่ไม่ถึงราคาในใจของคุณ ก็ต้องเสียเวลาหาผู้ซื้อรายใหม่ต่อไปอีก

2. เจรจาต่อรองต้องอาศัยทักษะขั้นสูง

การเจรจาต่อรองเป็นส่วนสำคัญในการขายธุรกิจ คุณต้องมีความสามารถในการสื่อสารและต่อรองเพื่อให้ได้ราคาและเงื่อนไขที่ดีที่สุด การเจรจาต่อรองที่ดีต้องมีการเตรียมตัว คุณต้องเตรียมข้อมูลและเอกสารทั้งหมดให้พร้อม รู้จักมูลค่าธุรกิจของคุณเองและสามารถอธิบายให้ผู้ซื้อเข้าใจได้ นอกจากนี้ถึงเตรียมตัวมาดีแค่ไหน ถ้าอ่อนทักษะการต่อรอง ก็อาจถูกพลิกเกมเป็นเสียเปรียบได้

3. เรื่องกฎหมายและภาษี

การขายกิจการ/ขายธุรกิจเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายด้าน เช่น กฎหมายธุรกิจ กฎหมายภาษี และกฎหมายแรงงาน การไม่เข้าใจกฎหมายเหล่านี้อาจทำให้คุณต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางกฎหมายในภายหลัง เช่น

  • การทำสัญญาที่ไม่ถูกต้อง: หากสัญญาซื้อขายไม่มีความชัดเจนหรือมีข้อผิดพลาด อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้ง
  • การละเมิดกฎหมายภาษี: อาจทำให้คุณต้องเสียค่าปรับหรือเผชิญกับปัญหาทางการเงิน กรณีการขายเองโดยไม่มีที่ปรึกษาเฉพาะทางอาจต้องเสียภาษีสูงถึง 35% แทนที่จะได้กำไร อาจเป็นหนี้แทน
  • การจัดการพนักงานหลังธุรกิจถูกขายไปแล้ว: หากคุณไม่ทราบถึงกฎหมายแรงงาน การโอนย้ายพนักงานอาจกลายเป็นปัญหาคาราคาซังได้

ที่ปรึกษาการขายกิจการ/ขายธุรกิจ: Max Solutions บริการ M&A ช่วยให้คุณขายกิจการ/ขายธุรกิจได้ง่ายขึ้น

ติดต่อ Max solutions

ช่องทางการติดต่อที่ปรึกษาขายกิจการในไทย

ขั้นตอนของ Max solutions

ถ้าไม่มั่นใจว่าการขายเองจะสำเร็จราบรื่น แนะนำ Max Solutions เป็นบริษัทที่ปรึกษาการซื้อขายธุรกิจมืออาชีพและเป็นศูนย์กลาง M&A ในประเทศไทย ที่เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition) ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ คุณจะมั่นใจได้ว่าการขายธุรกิจของคุณจะราบรื่นและได้ผลตอบแทนสูงสุด

ทำไมต้องเลือก Max Solutions

  • ไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า: คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จนกว่าจะขายกิจการ/ขายธุรกิจของคุณสำเร็จ
  • เครือข่ายผู้ซื้อกว้างขวาง: มีเครือข่ายผู้ซื้อและพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายกิจการ/ขายธุรกิจของคุณให้สำเร็จได้เร็วขึ้น
  • บริการครบวงจร: ดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินมูลค่าธุรกิจ การหาผู้ซื้อที่เหมาะสม การเจรจาต่อรอง จนถึงการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจึงไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารหรือขั้นตอนทางกฎหมาย
  • เพิ่มมูลค่าธุรกิจได้: มีกลยุทธ์และเทคนิคในการเพิ่มมูลค่า add value ธุรกิจของคุณ เพื่อให้ได้ราคาขายที่ดีที่สุด
  • MAX AI: ระบบจับคู่ MAX AI พัฒนาร่วมกับทีมจากมหาวิทยาลัย Stanford เพิ่มประสิทธิภาพในการ matching กับผู้ซื้อในเครือข่ายเพื่อลดระยะเวลาการจัดการให้เหลือน้อยที่สุด
  • ทีมงานที่มีประสบการณ์: ทีมงานเดิมจากงานกฎหมายและบัญชีตลอด 50 ปีจากสำนักงานถนอมศักดิ์ทนายความและการบัญชี
  • วางแผนภาษี (พิเศษ): ช่วยการวางแผนภาษี ช่วยลดภาระภาษีอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเปรียบเทียบกรณีการขายเองอาจต้องเสียภาษีสูงถึง 35%

พิเศษสำหรับเจ้าของธุรกิจไทย

  • ให้คำปรึกษาฟรี: สามารถปรึกษาเกี่ยวกับการขายธุรกิจได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • โปรโมทธุรกิจฟรี: ช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจของคุณให้กับเครือข่ายนักลงทุนของ Max Solutions
  • สำรวจหาผู้ซื้อให้ก่อน: มีการทำสำรวจหาผู้ซื้อให้คุณก่อนที่คุณจะตัดสินใจใช้บริการของเรา

หลังจากขายกิจการ/ขายธุรกิจสำเร็จ ผู้ขายจ่ายค่าบริการเพียง 3%-10% ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของธุรกรรม

คลิกที่นี่วันนี้ เพื่อเริ่มต้นการขายกิจการ/ขายธุรกิจของคุณ อย่างมืออาชีพ ติดต่อ Max Solutions https://maxsolutions.co.th/

Line ID: @MaxSolutions

พิเศษสำหรับนักลงทุนหรือผู้สนใจลงทุน

มีบริการจัดหาธุรกิจสำหรับท่าน : หากสนใจซื้อหรือควบรวมกิจการในไทย Max Solutions มีบริการคัดสรรธุรกิจที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของท่าน

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button