วันครู ต่างกับ วันไหว้ครู อย่างไร ทำไมต้องไหว้ครู รำลึกพระคุณเรือจ้าง
เป็นคำถามชวนสงสัยทุกปีว่า วันครูต่างกับวันไหว้ครูอย่างไร น้อง ๆ นักเรียนหลายคนต่างก็เอ้ะ วันครู เพิ่งจัดเมื่อเดือนมกราคมต้นปีนี่หน่า ทำไมต้องมาจัดงาน วันไหวครู อีกครั้งในเดือนมิถุนายนกันนะ ในบทความนี้ ทีมงาน ไทยเกอร์ ขอพาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจกับความเป็นมาและความแตกต่างของวันครูกับวันไหว้ครู ว่าในแต่ละวันมีกิจกรรมและความหมายอะไรบ้าง อ่านกันได้ข้างนี้เลย
ตอบแล้ว “วันครู”กับ “วันไหว้ครู” ต่างกันยังไง
วันครูเดิมทีเป็นวันที่ อดีตนายก จอมพล ป. พิบูลสงคราม กำหนดให้เป็นวันที่ประชาชนชาวไทยรำลึกถึงความสามัคคีและความเข้าใจอันดีงามของวิชาชีพครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเกิดการยกระดับและพัฒนาการทำงานของครู เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นของชาติบ้านเมืองต่อไปในอนาคต
ทว่าวันไหว้ครูนั้นจะแตกต่างกัน เพราะวันไหว้ครูคือวันที่แต่ละโรงเรียนเลือกวันใดวันหนึ่งในช่วงเดือนมิถุนายนมาจัดกิจกรรม ไหว้ครู เช่น บางโรงเรียนอาจจะเลือกวันพฤหัสบดีแรกของเดือนก็ได้ โดยในวันนั้นก็จะมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากการไหว้ครู เช่น ประกวดการทำพานไหว้ครู รำนาฏศิลป์ไทย แต่งกลอนสำนึกบุญคุณครูบาอาจารย์ เป็นต้น
สรุปแล้ว วันครู คือ วันแห่งชาติที่มีเพื่อให้ชาวไทยตระหนักรู้คุณครู ซึ่งจะมีกิจกรรมหรือไม่มีกิจกรรมในแต่ละโรงเรียนก็ได้ แต่ในบางสถานที่ราชการหรืออนุสรณ์อาจจะมีการเยี่ยมชมสถานที่ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ต่าง ๆ แต่หากเป็นวันไหว้ครู จะต่างไปที่ วันไหว้จะเป็นวันกิจกรรมของนักเรียน สำหรับแต่ละโรงเรียน นั่นเอง
สัญลักษณ์วันครูและดอกไม้
วันครูเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2488 โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครูแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 ได้เริ่มมีการจัดกิจกรรมอย่างเป็นทางการที่ กรีฑาสถานแห่งชาติ ประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการกำหนด ดอกกล้วยไม้ ให้เป็นสัญลักษณ์ประจำวันครู โดยมีความหมายว่าการเอาใจใส่ และการผลิบานอันแสนงดงาม ที่เปรียบได้ว่าครูบาอาจารย์หมั่นสอนนักเรียนด้วยความมานะ ใส่ใจ จนนักเรียนไปไกลได้ดิบได้ดี ดั่งดอกกล้วยไม้ที่ออกดอกอย่างสวยงาม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘เศรษฐา’ ส่งสารวันครู 67 ต้องเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ปล่อยศักยภาพเด็ก
- สีสันวันครู ‘สุนัขตำรวจ’ มอบพานไหว้ครูฝึก K-9 ชาวเน็ตเอ็นดูหนักมาก
- แจก ‘สคริปต์วันไหว้ครู’ พิธีกรกล่าวนำพิธี คำสรรเสริญ บทบูชาพระรัตนตรัย