เดชา ชี้เคส “แหม่มยกสมบัติให้แม่บ้าน 100 ล้าน” เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำต่อหน้าพยาน 2 คน
ทนายเดชา เผยกรณี แหม่มฝรั่งเศส ยกสมบัติให้ป้าติ๋ม แม่บ้านที่คอยดูแลกว่า 100 ล้าน ตามข้อกฎหมายใช้อมพิมวเตอร์พิมพ์เป็นการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องเซ็นลงชื่อต่อหน้าพยาน 2 คน ถ้าไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เป็นโมฆะ
วันที่ 3 พ.ค.2567 ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ เคลื่อนไหวผ่านเพจทนานคลายทุกข์ โดยเป็นการออกให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายในการทำพินัยกรรม โดยยกตัวอย่างกรณีข่าวดังของแคทเธอรีน หญิงฝรั่งเศส อายุ 59 ปี ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองเนื่องจากป่วยโรคร้าย แล้วต่อมามีการเขียนพินัยกรรมยกมรดกให้ ป้าติ๋ม ณัฐวลัย แม่บ้านที่รับใช้มานาน 17 ปี เป็นจำนวนกว่า 100 ล้านบาท อาทิ รถยนต์และทรัพย์สินอื่น ๆ ในตู้เซฟที่เป็นเครื่องเพชรและแหวนประดับ
ล่าสุด ทนายเดชา ระบุชัดเจนว่าการทำพินัยกรรมของแหม่มสาวแคทเธอรีนยังมีข้อบกพร่องบางอย่าง เนื้อหาจากโพสต์ชี้แจงระบุว่า “แหม่มชาวฝรั่งเศสยกสมบัติให้แม่บ้าน 100 ล้านข่าวดัง ทนายเดชาจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำพินัยกรรม”
“พินัยกรรมที่เป็นข่าวหากมีลักษณะเป็นการพิมพ์ข้อความในคอมพิวเตอร์แล้วเจ้ามรดกลงชื่อในพินัยกรรมพินัยกรรมดังกล่าวเรียกว่า พินัยกรรมแบบธรรมดา” เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ซึ่งกฎหมายได้กำหนดแบบของพินัยกรรมไว้ คือ”
“1. ต้องทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม”
“2. ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกันหมายถึงขณะทำพินัยกรรมจ้างมรดกต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเห็นพร้อมกันทั้งสองคนเห็นคนใดคนหนึ่งไม่ได้นะครับเป็นโมฆะ #อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1978/2537”
“3. พยานทั้งสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้นำผู้ทำวินัยกรรมไว้ในขณะนั้น หมายถึงขนาดทำพินัยกรรมด้วยถ้าไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เป็นโมฆะอีกเช่นกันครับ แต่ถ้าเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตามมาตรา 1657 ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วันเดือนปีและลายมือชื่อของตนเองจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย”
“จะให้คนอื่นมาเขียนแทนก็ไม่ได้นะครับเพราะถ้าให้คนอื่นเขียนแทนหรือใช้พิมพ์ดีดก็ต้องมีพยานรู้เห็นอย่างน้อย 2 คนนะครับ
#อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2102/2551”
ทั้งนี้ นักกฏหมายเจ้าของเพจทนายคลายทุกข์ ยังบอกด้วยว่าส่วนตัวแนะนำให้ทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองที่อำเภอดีที่สุด ตามมาตรา 1658 เพราะจะทำให้ไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมีเจ้าพนักงานในอำเภอและปลัดอำเภอเป็นพยาน
ต่อมาหลังโพสต์เปิดข้อกฎหมายการทำพินัยกรรมดังกล่าวออกไป ชาวเน็ตก็เกิดข้อสงสัยเข้ามาพิมพ์สอบถามเพิ่มเติมจำนวนมาก อาทิ “การพิมใครๆก้อพิมใด้มั้ยคะ” , มีหลักฐานแบบในคลิปที่เชื่อได้ว่าเจ้าของทรัพย์เจตนายกทรัพย์สินให้แบบนี้ยังไม่มีผลทางกฎหมายอีกหรอครับ”
“เงินของเขา เขาจะยกให้ใครก็เรื่องของเขา ตราบใดที่ไม่มีบุตรหลานหรือมายาทถูกต้องตามกฎหมายมาขอแบ่งหรือโต้แย้ง ถึงจะยกให้ด้วยปากเปล่าหรือพิมพ์ก็ถือว่าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์แบบมั้ยอาจารย์ ถึงชาวบ้านอย่างเราไม่รู้กฎหมายแต่น่าจะเป็นแบบนี้ไหมครับ”
“เอาเรื่องการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติก่อนดีกว่า”
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า กรณีนี้ถ้ามีคลิปวิดิโอไว้เป็นหลักฐาน พอจะช่วยให้พินัยกรรมสมบูรณ์ตามที่ผู้ตายต้องการหรือไม่ด้วย
“แล้วอัดเป็นคลิปวีดีโอได้มัยครับอาจารย์”
ขณะที่ สมาชิกบางรายก็โต้แย้งข้อมูลของทนายดชาว่า กรณีที่ต้องมีพยานลงชื่อ 2 คนตามที่ระบุนั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่มีพยานหรือเปล่า ซึ่งเป็นคนละกรณีกับเคสของแหม่มรายนี้.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก ป้าติ๋ม แม่บ้าน ผู้รับมรดก 100 ล้าน 17 ปี คอยรับใช้ไม่ห่าง เปิดใจทำอาชีพนี้ตั้งแต่ยังสาว
- ลุยชนข่าว เปิดจดหมายแหม่ม แคทเธอรีน เจ้านายฝรั่งเศส ยกมรดก 100 ล้าน ให้ป้าติ๋ม
- ยุ่น ภูษณุ ตั้งโต๊ะพร้อม ทนายเดชา แถลงฉีกสัญญา ต้นสังกัดค้างค่าตัว